Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79166
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรพิณ สันติธีรากุล | - |
dc.contributor.author | อรกัญญา ดวงเบี้ย | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-11-10T01:25:19Z | - |
dc.date.available | 2023-11-10T01:25:19Z | - |
dc.date.issued | 2566-09-08 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79166 | - |
dc.description.abstract | This independent study aims to study the impact on the operations and adaptation of dental clinic operators in Lampang District. By analyzing the external environment that affects the business. Analyzed the Strengths, Weaknesses, Opportunities, and Threats of dental clinics. Analyzed the internal environment of a dental clinic using the concept of Business Management and Administration, concept of Critical Success Factors, concept of adaptation in entrepreneurship and analyzed the consistency of all 7 factors, including government and related agencies helping projects during the COVID-19 outbreak. This study collected primary data through in-depth interviews with 10 dental clinic operators in Mueang Lampang District, which were small and medium-sized enterprises and was able to survived during the COVID-19 outbreak and used the data to analyzed and present this study result. The study found that the entrepreneurs had vary business experiences, some had run the business for 2-10 years or more, most of the business sizes were small enterprises. All entrepreneurs had 3 types of registration: limited partnership, limited company and private business. In preparing the business structure there was a clear work plan. Some entrepreneurs had strategies in place depending on the situation. Some didn’t have a clear strategy in place because the limitations in business development. Funds for investing in purchasing materials and managing expenses were limited. Created and applied the program to use within the business system. Most entrepreneurs developed employees' skills by training methods, re-located employees according to workload and allocate customer appointment schedules in accordance with the number of employees each day. Including holding a meeting to talk with employees at the end of every month to build awareness of their duties and responsibilities, to understand the arising problems and how to resolve them. Before the outbreak of COVID-19, there were no factors that greatly affected the business, compared to the period of the COVID-19 outbreak. The external environmental factors that had the greatest impact on dental clinics was the weather. Because the outside temperature was high, it affected the temperature inside the clinic. Therefore, the air conditioner must be turned on at all time, resulting in an increased burden of electricity cost. The internal factors that had the greatest impact on dental clinics were financial and accounting factors. Entrepreneurs had Risk Management in place such as working capital reserve. To prevent the risk of lacking the liquidity in the future or emergency, there was a management for unnecessary purchase expenses. The clinic's Strengths include entrepreneurs and employees had experience and specialized. For the clinic's weaknesses, some entrepreneurs had limited labor and space. As for Opportunities that support clinic operations, such as customers giving word of mouth recommendations. Including helping to publicize through various social media channels. Threats in operating the clinic was competition among dental clinics giving customers too many choices. Important factors that make the clinic successful from the entrepreneur's point of view were the entrepreneur and employees, for example, taking a good care of customers. Including dentists who were skilled and careful in performing dental procedures. During the period after the outbreak of COVID-19, it had affected the impact on Domestic economy in the country, resulting in product shortage. This resulted in expensive products such as face masks. Moreover, customers were strict in terms of spending, if it was not necessary, most would cancel or delay their treatment. Therefore, entrepreneurs had to adapt, namely to prevent the spread of COVID-19, such as checking employees' Antigen Test Kit before work and those who came to receive services regularly. Displayed guidelines for disease prevention in clinic. Emphasize the importance when receiving services regarding the COVID-19 outbreak. Borrowing money to use as a reserve fund for business development to avoid financial liquidity. Making appointments online or by calling instead of coming in to the clinic in person. The entrepreneurs hold a meeting with employees to create an understanding of the impacts during the COVID outbreak in order for the clinic to continue operating. In addition, entrepreneurs needed the government and related agencies to help with the situation. There was comprehensive support the increasing operating costs of businesses, such as increasing of the minimum wage and electricity bill. Extend the period, reduce and exemption taxes. After the outbreak of COVID-19 and the severity had decreased. The business was still in the process of adjustment and maintained the business just to survive. To create projects to help small and medium-sized businesses and municipalities in the area of responsibility should come in to solve problems, improve and develop public utility systems. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | ผลกระทบและการปรับตัวจากการระบาดของโควิด 19 | en_US |
dc.subject | คลินิกทันตกรรมในอำเภอเมืองลำปาง | en_US |
dc.title | ผลกระทบและการปรับตัวจากการระบาดของโควิด 19 ของคลินิกทันตกรรมในอำเภอเมืองลำปาง | en_US |
dc.title.alternative | Impact of and responses to the COVID-19 Pandemic of dental clinics in Mueang Lampang District | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | คลินิกทันตกรรม -- ลำปาง | - |
thailis.controlvocab.thash | โควิด-19 (โรค) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การค้นคว้าแบบอิสระฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อการดำเนินงานและการปรับตัวของผู้ประกอบการคลินิกทันตกรรมในอำเมืองลำปาง โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคของคลินิกทันตกรรม วิเคราะห์ภายในคลินิกทันตกรรมโดยใช้แนวคิดหน้าที่ของบริหารธุรกิจ แนวคิดปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จ แนวคิดในการปรับตัวของผู้ประกอบการ และวิเคราะห์ความสอดคล้องของปัจจัยทั้ง 7 ประการ รวมถึงมาตรการความช่วยเหลือของภาครัฐและหน่วยงานที่ได้เกี่ยวข้องช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการคลินิกทันตกรรมในอำเภอเมืองลำปางจำนวน 10 ราย ซึ่งมีลักษณะเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถที่จะดำเนินธุรกิจให้อยู่รอดในช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด19 เพื่อใช้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการศึกษา จากการผลการศึกษา ผู้ประกอบการที่ให้สัมภาษณ์มีประสบการณ์ในการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกัน โดยมีระยะเวลาตั้งแต่ 2-10 ปี ขึ้นไป ส่วนใหญ่ขนาดธุรกิจเป็นวิสาหกิจขนาดย่อมผู้ประกอบการมีการจดทะเบียนทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด และธุรกิจส่วนตัว ซึ่งในการจัดทำโครงสร้างธุรกิจ มีการวางแผนการทำงานอย่างชัดเจน บางสถานประกอบการมีการวางกลยุทธ์ตามสถานการณ์ ส่วนบางสถานประกอบการไม่มีการวางกลยุทธ์อย่างชัดเจน เนื่องจากผู้ประกอบการมีข้อจำกัดในการพัฒนาธุรกิจ ด้านเงินทุนในการลงทุนซื้อวัสดุและการบริหารใช้จ่ายอย่างจำกัด ระบบการทำงานภายในธุรกิจ แต่มีการนำโปรแกรมมาประยุกต์ใช้ โดยจัดทำระบบด้วยตนเอง นอกจากนี้ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีการพัฒนาทักษะพนักงานทั้งวิธีการฝึกอบรม จัดสรรพนักงานให้มีความเหมาะสมกับปริมาณงาน และจัดสรรตารางการนัดหมายลูกค้าให้สอดคล้องกับจำนวนพนักงานในแต่ละวัน รวมทั้งมีการจัดประชุมพูดคุยกับพนักงานทุกสิ้นเดือน เพื่อให้พนักงานรับรู้หน้าที่ความรับผิดชอบ เข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและช่วยกันแก้ไข ก่อนการแพร่ระบาดของโควิด 19 ไม่มีปัจจัยที่เข้าส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากนัก เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่มีการแพร่ระบาดโควิด 19 ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อคลินิกทันตกรรมมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เพราะสภาพอากาศภายนอกที่มีอุณหภูมิสูงส่งผลกระทบอุณหภูมิภายในคลินิก จึงต้องเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลา ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ปัจจัยภายในที่ส่งผลกระทบต่อคลินิกทันตกรรมมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการเงินและบัญชี ผู้ประกอบการมีการบริหารความเสี่ยงของคลินิกทันตกรรมเช่น มีการสำรองเงินทุนหมุนเวียน เพื่อป้องกันความเสี่ยงการขาดสภาพคล่องภายในอนาคต หรือภาวะฉุกเฉิน มีการบริหารรายจ่ายซื้อของที่ไม่จำเป็น จุดแข็งของคลินิก เช่น ผู้ประกอบการและพนักงานมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ สำหรับจุดอ่อนของคลินิก เช่น ผู้ประกอบการบางรายมีแรงงานและพื้นที่จำกัด ส่วนโอกาสที่สนับสนุนการดำเนินการคลินิก เช่น ลูกค้าให้คำแนะนำกันปากต่อปาก รวมถึงการช่วยประชาสัมพันธ์ผ่านทางช่องทางโซเซียลมีเดียต่าง ๆ อุปสรรคในการดำเนินการคลินิก การแข่งขันกันของคลินิกทันตกรรม ทำให้ลูกค้ามีทางเลือกในการเข้ารับบริการ ปัจจัยสำคัญที่สำคัญที่ทำให้คลินิกประสบความสำเร็จในมุมมองของผู้ประกอบการ คือ ผู้ประกอบการและพนักงาน เช่น ดูแลเอาใจใส่ผู้รับบริการ รวมถึงทันตแพทย์มีความเชี่ยวชาญและระมัดระวังในการทำหัตถการ ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโควิด 19 ส่งผลต่อผลกระทบในเรื่อง เศรษฐกิจภายในประเทศสินค้าขาดแคลน ส่งผลให้สินค้ามีราคาแพง เช่น หน้ากากอนามัย อีกทั้งเรื่องลูกค้ามีความเข้มงวดในด้านการใช้จ่าย หากไม่มีความจำเป็นมากพอส่วนมากจะขอยกเลิกหรือชะลอการเข้ารับการรักษาไว้ก่อน ซึ่งผู้ประกอบการมีวิธีการปรับตัว คือ การป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 เช่น ตรวจ Antigen Test Kit พนักงานก่อนการทำงาน และผู้เข้ารับบริการเป็นประจำ ติดตั้งข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันโรคในสถานประกอบการ ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยในการเข้ารับบริการ เกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำการกู้ยืมเงินเพื่อมาใช้เป็นทุนสำรองในการพัฒนาธุรกิจ ไม่ให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน จัดทำการนัดหมายผู้รับบริการผ่านทางออนไลน์ หรือโทรแจ้ง แทนการเข้ามาติดต่อทางคลินิกโดยตรง ผู้ประกอบการได้ทำการประชุมพูดคุยกับพนักงานเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการแพร่ระบาดของโควิด เพื่อให้คลินิกดำเนินงานต่อไปได้ นอกจากนี้ผู้ประกอบการมีความต้องการให้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยในเรื่อง มีมาตรการรองรับอย่างทั่วถึงเกี่ยวกับต้นทุนการดำเนินงานของธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น เช่น อัตราการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ การปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ขยายระยะเวลาการปรับลดและยกเว้นการชำระภาษี ซึ่งหลังจากการแพร่ระบาดของโควิด 19 มีความรุนแรงลดลง ธุรกิจยังคงอยู่ในช่วงปรับตัว และประคับประคองธุรกิจให้อยู่รอด จัดทำโครงการช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ เทศบาลในเขตรับผิดชอบควรเข้ามาแก้ไขปัญหา ปรับปรุง และพัฒนาระบบสาธารณูปโภค | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
อรกัญญา ดวงเบี้ย-631532098.pdf | 1.69 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.