Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79148
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรังสิยา นารินทร์-
dc.contributor.advisorวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์-
dc.contributor.authorปรีดา สุทธิประภาen_US
dc.date.accessioned2023-11-07T09:32:58Z-
dc.date.available2023-11-07T09:32:58Z-
dc.date.issued2566-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79148-
dc.description.abstractThis quasi-experimental study, with a two-group, pretest-posttest design, aimed to study the effect of an empowerment enhancing program for village health volunteers on drug delivery service practices to persons with chronic non-communicable diseases in communities. The participants included 50 village health volunteers who worked in a health promoting hospital in Saraphi district, Chiang Mai province and who were assigned to two groups with 25 participants each by simple random sampling. The research was conducted from April to June 2023. The research instruments consisted of 1) an 8-week empowerment enhancing program, developed by the researcher based on Gibson’s empowerment theory (1995); 2) a handbook and media on drug delivery service practices to persons with chronic non-communicable diseases; and 3) an assessment form on drug delivery service practices to persons with chronic non-communicable diseases which was validated by six experts demonstrating a content validity index of 0.96 and a Cohen’s kappa coefficient of 0.85. The data were analyzed with descriptive statistics, Wilcoxon signed-rank test, and Mann-Whitney U. The results showed that the experimental group had higher mean scores for drug delivery service practices to persons with chronic non-communicable diseases in the community than before receiving the empowerment enhancing program and higher than those of the control group with statistical significance (p<0.001). The results of this research can be used as guidelines for community nurse practitioners and health care teams to promote and enhance the potential of village health volunteers, with knowledge, confidence, and skills, to provide drug delivery services to people with chronic non-communicable diseases in the community, effectively, accurately, and efficiently. It will be a guideline for promoting village health volunteers’ competence in taking care of persons with chronic non-communicable diseases in communities.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการปฏิบัติการบริการส่งมอบยาให้กับผู้ที่มีภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนen_US
dc.title.alternativeEffect of the empowerment enhancing program for village health volunteers on drug delivery service practices to persons with chronic non-communicable diseases in communitiesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashอาสาสมัครสาธารณสุข-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาล--ระบบการจ่ายยา-
thailis.controlvocab.thashการบริบาลทางเภสัชกรรม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) แบบ 2 กลุ่ม วัดก่อนและหลังการทดลอง (two group pretest-posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการปฏิบัติการบริการส่งมอบยาให้กับผู้ที่มีภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ที่ปฏิบัติงานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ได้จำนวน 50 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาจากแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของกิ๊บสัน (Gibson, 1995) 2) สื่อและคู่มือการปฏิบัติการบริการส่งมอบยาให้กับผู้ที่มีภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน และ 3) แบบประเมินการปฏิบัติการบริการส่งมอบยาให้กับผู้ที่มีภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน มีดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่น โดยการหาค่าความสอดคล้องค่าสัมประสิทธิ์โคเฮนแคปปาได้เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบวิลคอกซันและสถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ยู ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนการปฏิบัติการบริการส่งมอบยาให้กับผู้ที่มีภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจ และสูงกว่ากลุ่มควบคุม ที่ได้รับการให้บริการตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและทีมสุขภาพเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีความรู้ ความมั่นใจและทักษะในการปฏิบัติการบริการส่งมอบยาให้กับผู้ที่มีภาวะโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้องและมีประสิทธิผล และเป็นแนวทางในการส่งเสริมศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุนชนen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
641231004 ปรีดา สุทธิประภา-FullThesis.pdf6.78 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.