Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79124
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชาคริต โชติอมรศักดิ์ | - |
dc.contributor.author | เกวลิน อินลวง | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-10-31T01:08:03Z | - |
dc.date.available | 2023-10-31T01:08:03Z | - |
dc.date.issued | 2563-11-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79124 | - |
dc.description.abstract | The objectives of this study were to investigate the impact of the number of hotspots on the transboundary haze problem, and the proportion of transboundary haze in northern Thailand by analyzing from the WRF-Chem simulated PM2.5 during January to May 2019. According to the analysis results, the PM2.5 concentrations from the model simulated using the biomass burning emission calculated from all hotspots within the model domain (called a normal case) were correlated with measurement data in medium to high-level criteria. This showed that the WRF-Chem model is not only reliable but also effective to simulate the PM2.5 haze situation in the study area. The relationship of PM2.5 concentrations from the transboundary haze simulation case (No burning in the 9 northern provinces) had a slightly lower correlation compared to the normal case and tend to be close to the observed one in the majority of the stations. This finding meant that the transboundary haze is from the surrounding areas and has influenced the amount of haze in the northern areas, thus contributing to a higher health hazard. The model results also show that transboundary haze began entering the northern region in January from the south, which gradually increased in February from the north. In March, the haze concentration in the northern areas was the highest and the transboundary haze ratio was the highest. In April, PM2.5 concentrations remained high and the proportion of haze crossed the border from all directions. In May, the concentration and proportion of transboundary haze decreased, with haze crossing in some parts of the northern region. It can be seen that the density of the surrounding hotspots contributes to the transboundary haze situation in the northern regions. According to the analysis of the number of days that transboundary haze affects air quality at unhealthy to sensitive groups to unhealthy levels, it was found that all stations received at least 50% of the transboundary haze. The stations with a high percentage of transboundary haze are located near the border of the northern region and affect air quality at very unhealthy to hazardous levels. Therefore, it can be noted that the transboundary haze from the surrounding region's origin contributes to the haze in the northern regions, thus worsening the air quality, especially in the areas adjacent to the border. To effectively resolve the haze, which is a health and environmental problem in the northern regions, it is necessary to treat the sources of haze both inside and outside the northern areas. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | - | en_US |
dc.title | การประเมินหมอกควันข้ามแดนจากการเผาชีวมวล ในภาคเหนือ ของประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมและผลลัพธ์จากแบบจำลอง WRF-Chem | en_US |
dc.title.alternative | Assessment of the transboundary biomass burning haze in Northern Thailand using satellite data and WRF-Chem Model Output | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | หมอกควัน -- การควบคุม -- ไทย (ภาคเหนือ) | - |
thailis.controlvocab.thash | หมอกควัน -- ไทย (ภาคเหนือ) | - |
thailis.controlvocab.thash | ความร้อน -- การวิเคราะห์ | - |
thailis.controlvocab.thash | ภูมิสารสนเทศ -- ไทย (ภาคเหนือ) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของจำนวนจุดความร้อนต่อปัญหาหมอกควันข้ามแดนและวิเคราะห์สัดส่วนหมอกควันข้ามแดนในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยช่วงเดือนมกราคมถึงพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2562 โดยใช้ข้อมูลการจำลอง PM2.5 จากแบบจำลอง WRF-Chem จากผลการวิเคราะห์พบว่าค่าความเข้มข้นของ PM2.5 จากแบบจำลองที่ประมวลผล โดยใช้อัตราการปลดปล่อยจากการเผาซึ่งคำนวณจากจุดความร้อนทั้งหมดภายในโดเมนของแบบจำลอง (เรียกว่า กรณีปกติ) มีค่าความสัมพันธ์กับข้อมูลตรวจวัดอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลางไปถึงสูง แสดงให้เห็นว่าแบบจำลอง WRF-Chem มีประสิทธิภาพในการจำลองสถานการณ์ฝุ่นควัน PM2.5 ในพื้นที่ศึกษาได้ดีและเชื่อถือได้ ส่วนความสัมพันธ์ของความเข้มข้น PM2.5 จากการจำลองในกรณีหมอกควันข้ามแดน (ไม่มีการเผาในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ พบว่าสถานีส่วนใหญ่มีค่าความสัมพันธ์ลดลงจากกรณีปกติเล็กน้อยและมีแนวโน้มใกล้เคียงกับค่าตรวจวัด ซึ่งหมายความว่าหมอกควันข้ามแดนจากพื้นที่ โดยรอบมีอิทธิพลต่อปริมาณหมอกควันภายในพื้นที่ภาคเหนือและมีส่วนที่ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพสูงมากยิ่งขึ้น ผลลัพธ์จากแบบจำลองยังแสดงให้เห็นว่าหมอกควันข้ามแดนเริ่มเข้ามายังพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่เดือนมกราคมจากทางทิศใต้และเพิ่มสัดส่วนมากขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์จากทางทิศเหนือ เดือนมีนาคมปริมาณหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือมีความเข้มข้นและสัดส่วนหมอกควันข้ามแดนสูงที่สุด ในเดือนเมยายนความเข้มขึ้นของ PM2.5 ยังมีค่าสูงและสัดส่วนหมอกควันข้ามแดนเข้ามาจากรอบทิศทาง ในเดือนพฤษภาคมความเข้มข้นและสัดส่วนหมอกควันข้ามแดนลดลงโดยพบหมอกควันข้ามแดนเข้ามาในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าความหนาแน่นของปริมาณจุดความร้อนบริเวณพื้นที่โดยรอบมีส่วนสำคัญต่อสถานการณ์หมอกควันข้ามแดนในพื้นที่ภาคเหนือ จากผลการวิเคราะห์จำนวนวันที่หมอกควันข้ามแดนส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศในระดับเป็นอันตรายต่อกลุ่มเสี่ยงไปถึงกรณีคุณภาพอากาศเป็นอันตรายต่อสุขภาพพบว่าทุกสถานีได้รับสัดส่วนหมอกควันข้ามแดนอย่างน้อยร้อยละ 50 ส่วนในกรณีที่คุณภาพอากาศเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมากถึงระดับที่เป็นภัยพบสัดส่วนหมอกควันข้ามแดนในบางสถานี โดยสถานีที่พบหมอกควันข้ามแดนในสัดส่วนสูงเป็นสถานีที่ตั้งอยู่ใกล้บริเวณชายแดนพื้นที่ภาคเหนือและระดับความเข้มข้นอยู่ระดับมีผลต่อสุขภาพถึงอันตรายดังนั้นสามารถกล่าวได้ว่าหมอกควันข้ามแดนจากแหล่งกำเนิดของพื้นที่ โดยรอบมีส่วนทำให้เกิดหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ และส่งผลให้คุณภาพอากาศเลวร้ายมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบริเวณพื้นที่ที่อยู่ติดกับชายแดน ด้วยเหตุนี้การแก้ไขปัญหาหมอกควันซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคเหนือให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดจำเป็นต้องมีการปฏิบัติกับแหล่งกำเนิดหมอกควันทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ภาคเหนือด้วย | en_US |
Appears in Collections: | SOC: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
610431018 เกวลิน อินลวง.pdf | 9.48 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.