Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79087
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิชญลักษณ์ พิชญกุล | - |
dc.contributor.author | ธีรเดช คงเกตุ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-10-19T10:29:01Z | - |
dc.date.available | 2023-10-19T10:29:01Z | - |
dc.date.issued | 2023-06-19 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79087 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this study was to study the behavior of consumers in Mueang Chiang Mai District towards the use of shopping center services using the service marketing mix concept (7Ps): product, price, place, promotion, people, process, and physical evidence. Data were collected from 400 consumers in Mueang Chiang Mai District, who used the services of shopping centers from May to November 2022, by using a questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean, and rating scale. Inferential Statistics was used for the Analysis of Variance (ANOVA) between the differences of occupational and income factors, cost of service per time period, and the service marketing mix in all seven aspects to compare the mean level of the importance of the service marketing mix of the consumers’ behavior in Mueang Chiang Mai district towards the use of shopping center services. Least Significant Difference (LSD) was also used to explore the mean that was significantly different at the 0.05 level. The results of the study showed that most respondents chose to use service at Central Festival Chiang Mai shopping center. The reason for choosing the shopping center was because it was close to their home and work place. The products or services that were most likely to be purchased were food and beverages. The frequency of using the shopping center was 1-2 times a month. Service using dates were Fridays or public holidays around 7 p.m. until the closing time of the shopping center. They often went to the shopping center alone and decided to use shopping center services by themselves. Each time, they spent around 1,000 – 5,000 baht at the shopping center. The findings of the level of importance for the service marketing mix in seven aspects affecting the consumers’ behavior in Mueang Chiang Mai District towards the use of shopping center services showed that the overall importance of all seven aspects was at a high level. The results were arranged in descending order of average as follows: The process factor had an average of 4.15, followed by physical evidence 4.14, people 4.07, place 4.01, product 3.87, price 3.81 and promotion 3.76, respectively. When comparing the mean level of importance for the service marketing mix of the consumers’ behavior in Muang Chiang Mai District towards the use of shopping center services by using ANOVA of the mean differences classified by occupation groups, incomes, expense and the seven aspects of the marketing mix, it was found that there were no significant differences in occupation groups at the 0.05 level. The service marketing mix factors having significant differences at the 0.05 level classified by income were promotion and people. Cost of service per time period group was not statistically different at 0.05 level. Regarding the results of a study on consumers’ behavior in Mueang Chiang Mai District on the use of shopping center services, those interested may use them to design a service marketing mix strategy to suit the target group. However, during the study, there was an impact from the COVID-19 epidemic; the study was designed according to the situation. Therefore, interested parties should study all the information before using the data. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | พฤติกรรมของผู้บริโภคอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการใช้บริการศูนย์การค้า | en_US |
dc.title.alternative | Behavior of consumers in Mueang Chiang Mai District towards using shopping center services | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | พฤติกรรมผู้บริโภค -- เมือง (เชียงใหม่) | - |
thailis.controlvocab.thash | การเลือกของผู้บริโภค -- เมือง (เชียงใหม่) | - |
thailis.controlvocab.thash | ศูนย์การค้า -- เมือง (เชียงใหม่) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษานี้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการใช้บริการศูนย์การค้า โดยใช้แนวคิดส่วนประสมทางการตลาดบริการ (7Ps) ประกอบด้วย ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยทางด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยด้านกระบวนการบริการ และปัจจัยทางด้านการสร้างและการนำเสนอทางกายภาพ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่ที่เคยใช้บริการศูนย์การค้าในช่วงเดือน พฤษภาคม ถึง พฤศจิกายน 2565 จำนวน 400 ราย วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้ด้วยสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) มาตรวัดประมาณค่า (Rating Scale) และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) ระหว่าง ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มของปัจจัยอาชีพ รายได้และค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้งกับส่วนประสมทางการตลาดบริการทั้ง 7 ด้าน เพื่อใช้เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดบริการของพฤติกรรมของผู้บริโภคอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการใช้บริการศูนย์การค้า และ ใช้วิธีการทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD) เพื่อดูค่าเฉลี่ยที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เลือกใช้บริการศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ เหตุผลในการเลือกใช้บริการเพราะใกล้ที่พัก ใกล้ที่ทำงาน สินค้าหรือบริการที่มักจะซื้อคืออาหารและเครื่องดื่ม มีความถี่เข้าใช้บริการศูนย์การค้า 1-2 ครั้งต่อเดือน วันที่เข้าใช้บริการคือวันศุกร์หรือวันหยุดนักขัตฤกษ์ ช่วงเวลาประมาณ 19:01 จนถึงปิดศูนย์การค้า มักไปใช้บริการศูนย์การค้าคนเดียว เลือกตัดสินใจใช้บริการศูนย์การค้าด้วยตนเอง และมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการเข้าใช้บริการ 1,000 – 5,000 บาท ผลการศึกษา ระดับความสำคัญส่วนประสมทางการตลาดบริการ 7 ด้าน ที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคของอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการใช้บริการศูนย์การค้า พบว่า มีค่าเฉลี่ยความสำคัญในภาพรวมระดับมาก ทั้ง 7 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ปัจจัยด้านกระบวนการ ค่าเฉลี่ย 4.15 รองลงมา ด้านการสร้างและการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ 4.14 ด้านบุคลากร ค่าเฉลี่ย 4.07 ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ค่าเฉลี่ย 4.01 ด้านผลิตภัณฑ์ ค่าเฉลี่ย 3.87 ด้านราคา 3.81 ด้านส่งเสริมการตลาด ค่าเฉลี่ย 3.76 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดบริการของพฤติกรรมของผู้บริโภคอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการใช้บริการศูนย์การค้า โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance : ANOVA) ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยจำแนกตามกลุ่ม อาชีพ รายได้และค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้ง กับส่วนประสมทางการตลาดทั้ง 7 ด้าน พบว่า กลุ่มอาชีพไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จำแนกตาม รายได้ มี 3 ด้านได้แก่ ด้านช่องทางการจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร กลุ่มค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้งไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคอำเภอเมืองเชียงใหม่ต่อการใช้บริการศูนย์การค้า ผู้สนใจอาจนำไปใช้ในออกแบบกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดบริการให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ทั้งนี้ในช่วงทำการศึกษามีผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 ผู้ศึกษาจึงออกแบบการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ดังนั้นการนำข้อมูลไปใช้ผู้สนใจควรศึกษาข้อมูลทั้งหมดก่อนนำไปใช้ | en_US |
Appears in Collections: | BA: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
621532102-ธีรเดช คงเกตุ.pdf | 24.78 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.