Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79082
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินดารัตน์ ชัยอาจ-
dc.contributor.authorจิราภรณ์ พรมจักร์แก้วen_US
dc.date.accessioned2023-10-19T01:14:08Z-
dc.date.available2023-10-19T01:14:08Z-
dc.date.issued2564-04-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79082-
dc.description.abstractObstructive sleep apnea (OSA) is a condition in which breathing stops or is shallow during sleep. Patients who have had heart failure have a high chance of having OSA because of water congestion and vessel distension in the throat. This descriptive research study aimed to study awareness, knowledge and risk of obstructive sleep apnea in 354 patients who have had heart failure receiving services at an outpatient, heart clinic at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, McCormick Hospital and Lamphun Hospital, from December 2019 to May 2020. The instruments included a Demographic Data Recording Form, the Awareness and Knowledge of Obstructive Sleep Apnea questionnaire, and the Berlin Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subject-en_US
dc.titleความตระหนัก ความรู้และความเสี่ยงต่อภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ จากการอุดกั้นในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวen_US
dc.title.alternativeAwareness, Knowledge, and Risk for Obstructive Sleep Apnea Among Patients with Heart Failureen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ-
thailis.controlvocab.thashการนอนหลับผิดปกติ-
thailis.controlvocab.thashหัวใจวาย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับเป็นภาวะที่มีการหยุดหายใจเป็นระยะ ๆ หรือมีการหายใจแผ่วในระหว่างที่นอนหลับ ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวมีโอกาสเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นสูงเนื่องจากการคั่งของน้ำและการขยายตัวของหลอดเลือดบริเวณคอ การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความตระหนัก ความรู้และความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ที่มารับการตรวจที่คลินิกโรคหัวใจ แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลแมคคอร์มิค และโรงพยาบาลลำพูน ตั้งแต่เดือนธันวาคมพ.ศ. 2562 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 จำนวน 354 ราย โดยการใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น และแบบสอบถามเบอร์ลินในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นนำมาวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยสถิดิเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 21.50 มีความตระหนักต่อภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น 2. กลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 22.60 มีความรู้เกี่ยวกับความหมายของภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น มีเพียงร้อยละ 20.10 ที่มีความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง อาการแสดง ผลกระทบทางสุขภาพ และการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น ในกลุ่มที่มีความรู้เกี่ยวกับความหมาย ร้อยละ 90.00 ระบุว่าเป็นอาการกรน ร้อยละ 88.70 ระบุว่าความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยง ร้อยละ 94.40 ระบุว่าการสำลักหรือหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นอาการแสดง ร้อยละ 83.10 ระบุว่า การเพิ่มอัตราการเสียชีวิตและเกิดความผิดปกติในระบบหัวใจและหลอดเลือด เป็นผลกระทบหรือภาวะเสี่ยงทางสุขภาพ และร้อยละ 88.70 ระบุว่าการลดน้ำหนัก เป็นการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ 3. จำนวนน้อยกว่าครึ่งของผู้ปวยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ร้อยละ 43.50 มีความเสี่ยงสูง และร้อยละ 56.50 มีความเสี่ยงต่ำต่อภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวยังมีความตระหนักและความรู้เกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นในระดับที่ต่ำ และมีจำนวนมากที่มีความเสี่ยงในระดับสูงต่อการมีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้ปวยกลุ่มนี้ควรได้รับการคัดกรองความเสี่ยง และบุคลากรทางสุขภาพควรมีการสร้างความตระหนักและให้ความรู้เกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้นเพื่อให้สู้ป่วยสามารถสังเกตอาการและ ได้รับการรักษาที่เหมาะสมต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
591231030 จิราภรณ์ พรมจักร์แก้ว.pdf8.89 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.