Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79060
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอังสนา อัครพิศาล-
dc.contributor.advisorเยาวลักษณ์ จันทร์บาง-
dc.contributor.authorอรณภา เชียงแขกen_US
dc.date.accessioned2023-10-15T07:49:12Z-
dc.date.available2023-10-15T07:49:12Z-
dc.date.issued2566-06-27-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79060-
dc.description.abstractThe objectives of this study were to study and identify the causal agent of sweet corn disease found in the field, the efficacy of Bacillus spp. in controlling the causal agent under in vitro and in vivo conditions and detected antibiotic synthesis-related genes from Bacillus spp. to inhibitory mechanisms of plant pathogens. The bacterial disease symptoms of sweet corn disease were observed at the Agricultural Resource System Research Station (ARS) of Chiang Mai University, Chiang Mai and the farmer’s field at Phan, Chiang Rai. A total of forty-four bacterial isolates were isolated from sweet corn disease. Twenty-seven bacterial isolates were isolated from the vegetative stage of sweet corn and seventeen bacterial isolates were isolated from the reproduction stage of sweet corn. All bacterial isolates from sweet corn were tested on potato, carrot and Chinese radish slices, the results showed that four isolates including MHSL01, MHSL05, MHSL06 and MHSL07 were positive for enzymes related to maceration and soft rot on potato, carrot and Chinese radish. Four positive isolates for hypersensitive reaction showed necrotic tissue appeared in tobacco leaves 48 hours after infiltration. The pathogenicity assays were performed on three types of corn namely sweet corn, waxy corn and maize. The result showed that isolate MHSL06 was the most severe pathogen, after inoculation with injection and drop of the bacterial suspension. The causal bacterium was identified as Burkholderia gladioli based on the comparison of physiological, biochemical, and 16S rRNA gene sequence. Moreover, B. gladioli isolate MHSL06 produced toxoflavin and caused similar diseases in other plants including rice, onion, gladiolus and soybean. A total of 16 isolates of Bacillus spp. were prescreened with the dual culture method, and the result showed Bacillus sp. isolate BB35 had the best biocontrol efficiency against Burkholderia gladioli causal agent of leaf stripe and stem rot disease of sweet corn. Based on 16S rRNA, gyrA and rpoB gene sequence, the Bacillus sp. isolate BB35 was identified as Bacillus velezensis. Moreover, the Bacillus velezensis isolate BB35 performed as a hydrolytic enzyme (amylase and protease) and plant growth-promoting rhizobacteria (PGPR) by inorganic phosphate solubilization, potassium desolvation and producing siderophore. Antibiotic synthesis related genes were also investigated for the isolate BB35, the results indicated that surfactin, fengycin, bacillomycin D and itulin A biosynthesis genes were investigated. On 14-day-old sweet corn, the B. velezensis isolate BB35's in vivo effectiveness was evaluated. Spraying B. velezensis isolate BB35 one day prior to inoculating B. gladioli, the cause of leaf stripe and stem rot disease in sweet corn, had the highest efficacy of all the treatments at 17.91%. B. velezensis isolate BB35 spraying and B. gladioli inoculation came next, with a controlled efficacy of 14.93%. A controlled efficacy of 13.43% was obtained from the inoculation of B. gladioli into sweet corn seed that was 14 days old and soaked in suspensions of B. velezensis isolate BB35 before growing. Additionally, the least effective control was achieved with 7.46% when B. gladioli was inoculated 1 day later with B. velezensis isolate BB35.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectข้าวโพดหวานen_US
dc.subjectแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชen_US
dc.subjectการควบคุมโรคพืชโดยชีววิธีen_US
dc.subjectโรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียen_US
dc.subjectโรคพืชen_US
dc.titleประสิทธิภาพของแบคทีเรีย Bacillus spp. ในการควบคุมเชื้อ Burkholderia gladioli สาเหตุโรคใบขีดและลำต้นเน่าของข้าวโพดหวานen_US
dc.title.alternativeEfficiency of Bacillus spp. in controlling Burkholderia gladioli causing Leaf Stripe and Stem Rot disease of sweet cornen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะเกษตรศาสตร์-
thailis.controlvocab.thashข้าวโพดหวาน -- โรคและศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashโรคพืช-
thailis.controlvocab.thashแบคทีเรียโรคพืช-
thailis.controlvocab.thashโรคเกิดจากแบคทีเรียในพืช-
thailis.controlvocab.thashบาซิลลัส-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจัดจำแนกเชื้อสาเหตุโรคของข้าวโพดหวานที่พบในแปลงปลูก และทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรีย Bacillus spp. ในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคของข้าวโพดหวานในสภาพห้องปฏิบัติการและโรงเรือน พร้อมทั้งตรวจสอบยีนที่กำหนดการสร้างสารต้านจุลินทรีย์ของ Bacillus spp. ที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อสาเหตุโรคของข้าวโพด แยกเชื้อแบคทีเรียจากอาการที่พบในแปลงปลูกข้าวโพดหวานของศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร และแปลงทดลองคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และแปลงเกษตรกร อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สามารถแยกเชื้อแบคทีเรียได้ทั้งหมด 44 ไอโซเลท โดยแบ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่แสดงอาการในระยะต้นกล้าได้ 27 ไอโซเลท และระยะติดฝักได้ 17 ไอโซเลท เมื่อนำเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้มาทดสอบความสามารถในการย่อยเนื้อเยื่อพืช 3 ชนิด ได้แก่ มันฝรั่ง แครอท และหัวไชเท้า พบว่า มีเชื้อแบคทีเรียเพียง 4 ไอโซเลท ที่สามารถย่อยเนื้อเยื่อพืชทั้ง 3 ชนิดได้ และเชื้อแบคทีเรียทั้ง 4 ไอโซเลท สามารถเกิดปฏิกิริยาการตอบสนองแบบเฉียบพลันบนใบยาสูบได้ จึงนำมาทดสอบความสามารถในการเกิดโรคต่อต้นข้าวโพด 3 ชนิด ได้แก่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ด้วยกรรมวิธีการฉีดและหยดเซลล์แขวนลอยของเชื้อแบคทีเรีย พบว่า เชื้อแบคทีเรียไอโซเลท MHSL06 สามารถก่อให้เกิดโรคได้รุนแรงที่สุดและเมื่อนำมาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยา ลักษณะทางชีวเคมีเบื้องต้น และการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างยีน 16S rRNA พบว่า เชื้อแบคทีเรียไอโซเลท MHSL06 คือ Burkholderia gladioli นอกจากนี้ยังสามารถสร้างสาร toxoflavin ได้ และสามารถก่อให้เกิดโรคในพืชอาศัยอื่น ๆ เช่น ข้าว หอมบั่ว แกลดิโอลัส และถั่วเหลืองได้ จากการคัดเลือกแบคทีเรีย Bacillus spp. จำนวน 16 ไอโซเลท ด้วยวิธี dual culture พบว่า Bacillus sp. ไอโซเลท BB35 มีประสิทธิภาพในการควบคุมเชื้อ Burkholderia gladioli สาเหตุโรคใบขีดและลำต้นเน่าของข้าวโพดหวานได้ดีไม่ต่างจากไอโซเลทอื่น ๆ เมื่อนำ Bacillus sp. ไอโซเลท BB35 มาตรวจสอบความสัมพันธ์ระดับยีนจำนวน 3 ยีน ได้แก่ 16S rRNA, gyrA และ rpoB พบว่า แบคทีเรียไอโซเลท BB35 คือ Bacillus velezensis นอกจากนี้ยังพบว่า แบคทีเรียยังสามารถสร้างเอนไซม์ในการย่อยแป้งและโปรตีนได้ และสามารถสร้างสารส่งเสริม การเจริญเติบโตของพืชได้ เช่น การสร้างสารละลายฟอสเฟต สารละลายโพแทสเซียม และสร้าง siderophore ได้ อีกทั้งเมื่อตรวจสอบหายีนที่กำหนดการสร้างสารปฏิชีวนะ พบว่า B. velezensis ไอโซเลท BB35 สามารถตรวจพบยีนจำนวน 4 ยีน ได้แก่ srfAA, fenD, bamA และ ituA ซึ่งกำหนดการสร้างสาร surfactin, fengycin D, bacillomycin A และ iturin A ตามลำดับ การทดสอบประสิทธิภาพของ B. velezensis ไอโซเลท BB35 ในสภาพโรงเรือนทดลองโดยใช้ต้นข้าวโพดหวานที่มีอายุ 14 วัน พบว่า การพ่นด้วยเซลล์แขวนลอยของ B. velezensis ไอโซเลท BB35 ก่อนปลูกเชื้อ B. gladioli สาเหตุโรคใบขีดและลำต้นเน่าของข้าวโพดหวาน เป็นเวลา 1 วัน มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคสูงที่สุด โดยมีค่าเท่ากับร้อยละ 17.91 รองลงมาคือกรรมวิธีที่พ่นด้วยเซลล์แขวนลอยของ B. velezensis ไอโซเลท BB35 พร้อมกับปลูกเชื้อ B. gladioli มีค่าประสิทธิภาพในการควบคุมโรคเท่ากับร้อยละ 14.93 ในขณะที่การแช่เมล็ดข้าวโพดหวานด้วยเซลล์แขวนลอยของ B. velezensis ไอโซเลท BB35 ก่อนการปลูก และปลูกเชื้อที่ต้นข้าวโพดอายุ 14 วัน มีประสิทธิภาพการควบคุมโรคเท่ากับร้อยละ 13.43 ส่วนกรรมวิธีที่พ่นด้วยเซลล์แขวนลอยของ B. velezensis ไอโซเลท BB35 หลังจากปลูกเชื้อ B. gladioli เป็นเวลา 1 วัน มีประสิทธิภาพการควบคุมโรคต่ำที่สุด โดยมีค่าเท่ากับร้อยละ 7.46en_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
640931009_อรณภา เชียงแขก.pdf11.29 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.