Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79045
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปรีดา พิชยาพันธ์-
dc.contributor.authorกษิดิศ จันทร์มาen_US
dc.date.accessioned2023-10-15T04:22:05Z-
dc.date.available2023-10-15T04:22:05Z-
dc.date.issued2566-05-22-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79045-
dc.description.abstractการเดินทางโดยอากาศยานมีแนวโน้มสูงขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากมีความสะดวกสบาย รวดเร็ว และเข้าถึงง่าย เมื่อปริมาณการเดินทางเพิ่มขึ้นย่อมส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งสิ่งที่ส่งผลตามมาจากปริมาณผู้โดยสารที่มากขึ้นก็คือปริมาณจราจรที่เข้ามารับส่งผู้โดยสารที่มากขึ้นตามกัน ท่าอากาศยานเชียงใหม่ เป็นท่าอากาศยานหนึ่งในประเทศไทยที่มีจำนวนเที่ยวบินเข้าออกสูงในปัจจุบัน เนื่องจากไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และยังมีพื้นที่จำกัด ทำให้บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ประสบปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากปริมาณการเดินทางที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่รับส่งผู้โดยสาร ด้วยเหตุนี้การขยายพื้นที่ในการรับส่งผู้โดยสารจึงเป็นไปได้ยาก ดังนั้นหากในอนาคตมีปริมาณจราจรในท่าอากาศยานเชียงใหม่เพิ่มขึ้น สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ง่ายที่สุดคือการจัดการการรับส่งผู้โดยสารให้เหมาะสมต่อปริมาณความต้องการในการรับส่งที่จะเกิดขึ้น แต่การที่จะหารูปแบบที่เหมาะสมนั้นไม่สามารถกระทำในพื้นที่จริงได้ ดังนั้นวิธีที่จะสามารถทดสอบให้ได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่สุดคือการทดสอบด้วยการจำลองสถานการณ์การจอดรับส่งผู้โดยสารในท่าอากาศยาน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองการจราจรระดับจุลภาค สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการรับส่งผู้โดยสารบริเวณหน้าอาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ เพื่อนำไปวิเคราะห์ในการหารูปแบบการจอดรับส่งผู้โดยสารที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ โดยในการพัฒนาแบบจำลองได้ทำการแบ่งการรับส่งผู้โดยสารเป็นทั้งหมด 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนของรูปแบบปัจจุบัน 1 รูปแบบ และส่วนของแบบจำลองเพื่อทดสอบความเป็นไปได้ในการนำมาปรับใช้อีก 5 รูปแบบ ได้แก่ 1) แบบจำลองการจอดแบบเข้าก่อนออกก่อน 2) แบบจำลองการจอดแบบแบ่งช่วงพื้นที่ช่องจราจรในการจอดรับส่ง 3) แบบจำลองการจอดแบบกำหนดพื้นที่รับส่งเฉพาะประเภทยานพาหนะ 4) แบบจำลองกรณีมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารชั้น 2 และ 5) แบบจำลองกรณีมีพื้นที่จอดรับผู้โดยสารเพิ่มเติมจากหน้าอาคารผู้โดยสาร จากการทดสอบและศึกษาผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการทำแบบจำลองพบว่า รูปแบบการจัดการสำหรับการจอดรับส่งผู้โดยสารของท่าอากาศยานเชียงใหม่ ปัจจุบันสามารถรองรับปริมาณจราจรได้มากที่สุดอยู่ที่ 2,112 คันต่อชั่วโมง โดยการรับส่งผู้โดยสารใช้เวลาในการเดินทางทั้งหมด 3.39 นาที จากทางเข้าท่าอากาศยานถึงทางออกท่าอากาศยาน และจะมีความล่าช้าเกิดขึ้นบริเวณหน้าอาคารผู้โดยสาร 2.57 นาที โดยเมื่อทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพแล้ว แบบจำลองกรณีกำหนดพื้นที่รับส่งเฉพาะประเภทยานพาหนะ ( Zoning) มีประสิทธิภาพดีที่สุดสำหรับท่าอากาศยานเชียงใหม่ในการรองรับปริมาณจราจรโดยปรับปรุงเพียงรูปแบบการจอดรับส่งผู้โดยสาร ซึ่งรองรับได้ 2,952 คันต่อชั่วโมง (เพิ่มขึ้น 40%) โดยใช้เวลาในการเดินทาง 2.05 นาทีต่อคัน (ลดลง 39%) และมีความล่าช้าที่เกิดขึ้น 1.16 นาทีต่อคัน (ลดลง 55%) ในกรณีของการปรับปรุงการจอดรับส่งผู้โดยสารแบบทำการปรับปรุงด้านกายภาพของท่าอากาศยานเชียงใหม่ แบบจำลองกรณีมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารชั้น2 (2 Floors) มีประสิทธิภาพดีที่สุด โดยสามารถรับปริมาณจราจรได้ 2,257 คันต่อชั่วโมง ขณะที่ใช้เวลาในการเดินทาง 1.85 นาที และจะเกิดความล่าช้า 0.13 นาที แบบจำลองกรณีที่มีการแบ่งช่วงพื้นที่ช่องจราจรที่ใช้ในการรับส่ง (Sectioned) มีประสิทธิภาพน้อยที่สุดเมื่อนำปริมาณจราจรที่รับได้ เวลาที่ใช้ในการเดินทาง และความล่าช้าที่เกิดขึ้น มาเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ณ ความสามารถสูงสุดของแบบจำลองที่สามารถรับได้ โดยปริมาณจราจรที่รับได้มีค่าลดลงและน้อยกว่าปัจจุบัน 48% เวลาที่ใช้ในการเดินทางเพิ่มขึ้น 41% และมีความล่าช้าเพิ่มขึ้น 49% จากการทดสอดแบบจำลองทั้งหมดพบว่าการจัดรูปแบบการจอดรับส่งโดยกำหนดพื้นที่เฉพาะยานพาหนะอย่างชัดเจนควบคู่ไปกับการปรับปรุงด้านกายภาพ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพด้านความคล่องตัวของจราจรและลดโอกาศการเกิดจราจรติดขัดen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการประเมินประสิทธิภาพพื้นที่รับส่งผู้โดยสาร ในท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePerformance evaluation of passenger loading zones at Chiang Mai International Airporten_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashท่าอากาศยาน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashสนามบิน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashผู้โดยสาร-
thailis.controlvocab.thashจราจร-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractThe air travel industry has experienced a significant increase in recent decades due to its convenience, speed, and accessibility. Consequently, the rise in passenger volume has resulted in increased traffic congestion, particularly in airport terminals. Chiang Mai International Airport, as one of Thailand's busiest airports, currently faces challenges in coping with the rapid growth in passenger numbers due to limited infrastructure and space. This situation has led to congestion issues, especially in the passenger terminal area. This research aims to develop a microscopic traffic simulation model to assess the efficiency of passenger terminal operations at Chiang Mai International Airport. The objective is to identify suitable and efficient passenger handling strategies for future scenarios of increased air traffic. The model development process includes two main parts: the current operational model and five alternative models. The alternative models are designed to evaluate various passenger terminal management strategies, including: 1) the first-in-first-out model (FIFO), 2) the sectioned zoning model for passenger queuing (Sectioned), 3) the specific vehicle type zoning model (Zoning), 4) the elevated and separated loading area model (2Floors), and 5) the additional passenger drop-off/pick-up area in front of the terminal (Extras). Based on the simulation results and analysis, the current operational model at Chiang Mai International Airport can accommodate a maximum traffic volume of 2,112 vehicles per hour, with an average total travel time of 3.39 minutes from the airport entrance to the exit. However, there is a delay of 2.57 minutes in the passenger terminal area. Among the alternative models tested, the specific vehicle type zoning model demonstrates the best performance, with an increased capacity of 2,952 vehicles per hour (a 40% increase). This model also reduces the average travel time to 2.05 minutes per vehicle (a 39% decrease) and decreases the delay to 1.16 minutes per vehicle (a 55% decrease). In terms of physical modifications to improve the passenger terminal, the elevated and separated loading area model exhibits the highest efficiency, with a capacity of 2,257 vehicles per hour, an average travel time of 1.85 minutes, and a delay of 0.13 minutes. Finally, the sectioned zoning model shows the least efficiency compared to the current operational model. It leads to a decrease in capacity, an increase in average travel time, and delays. The results suggest that implementing specific vehicle type zoning and physical modifications, such as an elevated and separated terminal, can significantly improve traffic flow and reduce congestion.en_US
Appears in Collections:ENG: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620631006_กษิดิศ จันทร์มา.pdf7.01 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.