Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79011
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorอลงกต แก้วรุ่งโรจน์en_US
dc.date.accessioned2023-10-11T10:37:14Z-
dc.date.available2023-10-11T10:37:14Z-
dc.date.issued2566-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79011-
dc.description.abstractThe purpose of this study was to study Study the approaches to solving land problems. Public participation of stakeholders Guidelines for creating cooperation between government sectors and the stakeholders in the area, and the expectations and needs of the people who are interested in land use management methods in the area. This study used a qualitative research method. Key informants were a group of 4 park rangers, 16 village chiefs and village headmen, and group discussions. Residents who occupy the area, 25 people and a group of 30 people who come to do activities in the area. The instrument used for data collection was a semi-structured interview. Data was analyzed by content analysis and inductive inference modeling data analysis. The study found that 1) approaches and procedures for resolving land problems of people in conserved forest areas Doi Suthep-Pui National Park, according to Section 64 of the National Park Act B.E. Each village/community issues announcements and surveys on people's land holdings in conserved forest areas with the people. Organize general meetings and go on field trips to listen to opinions, problems, and needs of the people in small groups and use their opinions to determine solutions to problems. 2) Participation of stakeholders in the area of Doi Suthep-Pui National Park Mueang Chiang Mai District Chiang Mai Province Doi Suthep-Pui National Park Doi Suthep-Pui National Park Protection unit has provided news and information to village headmen, village headmen, citizens, stakeholders through the meeting of the working group at the area level and announcing the period for surveying land ownership of the people. There was a meeting of the land tenure survey working group at the area level. Listen to opinions by forming a community to come together to find solutions to problems. National Park officials have played a role in clarifying solutions by stakeholders joining in providing information, problems, alternatives, with village headmen and village headmen as coordinators talk and mediate. 3) Guidelines for creating cooperation between government agencies and stakeholders Land Use Management in the area of Doi Suthep-Pui National Park, there were talks and negotiations between Doi Suthep-Pui National Park, community leaders and people with stakeholders at the sub-district and village levels to find a common solution. A mediator was set up to negotiate. Find a conclusion that protects the interests of both the state and the people. But no mutual agreement has been made. resulting in a lack of clear solutions together. This leads to the lack of a mutually agreed arrangement to solve problems in each village and sub-district, and there is no joint assessment. 4) Expectations of stakeholders on land use management methods in Doi Suthep-Pui National Park There is a transparent examination of land tenure rights. equality and fairness. The law is strictly enforced against the holders or use the land that violates every law strictly. Use the principles of community integration along with the prevention and suppression work Study and coordinate with the community in boundary marking. and supporting activities in order to live or make a living in the national park and there are relief measures that help reduce conflicts between communities and national parks.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectปัญหาที่ดินen_US
dc.subjectเขตป่าอนุรักษ์en_US
dc.subjectอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยen_US
dc.titleแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยen_US
dc.title.alternativeGuidelines for solving land problems of the people in the protected forest area of Doi Suthep-Pui National Parken_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย -- การมีส่วนร่วมของประชาชน-
thailis.controlvocab.thashการใช้ที่ดิน-
thailis.controlvocab.thashการถือครองที่ดิน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อ ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดิน การมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ และ ความคาดหวังและต้องการของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียต่อวิธีการจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มเจ้าหน้าที่อุทยาน 4 คน กำนันและผู้ใหญ่บ้าน 16 คน และการจัดสนทนากลุ่ม ราษฎรผู้ถือครองพื้นที่ จำนวน 25 คน และกลุ่มผู้เข้ามาทำกิจกรรมในพื้นที่จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า 1) แนวทางและขั้นตอนการแก้ไขปัญหาที่ดินของราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ตามมาตรา 64 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 สำรวจการถือครองที่ดินของราษฎร แต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ออกประกาศ และ สำรวจการถือครองที่ดินราษฎรในเขตป่าอนุรักษ์ร่วมกับราษฎร จัดประชุมใหญ่และลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็น ปัญหา ความต้องการของราษฎรแบบกลุ่มย่อย และ นำความคิดเห็นมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย หน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ได้ให้ข่าวสารข้อมูล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ราษฎรผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการประชุมคณะทำงานระดับพื้นที่ และประกาศกำหนดระยะเวลาการสำรวจการครอบครองที่ดินของราษฎร มีการจัดการประชุมคณะทำงานสำรวจการครอบครองที่ดินระดับพื้นที่ รับฟังความคิดเห็นโดยจัดทำประชาคมเพื่อร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหา เจ้าหน้าที่อุทยานฯได้เข้ามามีบทบาทชี้แจงแนวทางการแก้ไขโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมให้ข้อมูล ปัญหา ทางเลือกโดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ประสานความร่วมมือ พูดคุยไกล่เกลี่ยปัญหา 3) แนวทางสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และผู้มีส่วนได้เสีย จัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีการพูดคุย เจรจา ระหว่าง อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย ผู้นำชุมชน และราษฎรผู้มีส่วนได้เสียในระดับตำบล หมู่บ้าน เพื่อหาทางออกร่วมกัน มีการตั้งผู้ไกล่เกลี่ยมาเจรจา หาข้อสรุปที่รักษาประโยชน์ทั้งของรัฐและประชาชน แต่ยังไม่มีการทำข้อตกลงร่วมกัน ทำให้ขาดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ชัดเจนร่วมกัน นำไปสู่การไม่มีการจัดการตามข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้การแก้ไขปัญหาในแต่ละหมู่บ้าน ตำบล และไม่มีการประเมินร่วมกัน 4) ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่อวิธีการจัดการใช้ประโยชน์ที่ดินอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย มีการตรวจสอบการให้สิทธิการถือครองที่ดินอย่างโปร่งใส เสมอภาคและเป็นธรรม มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับผู้ถือครอง หรือใช้ประโยชน์ที่ดินที่กระทำผิดกฎหมายทุกรายอย่างเคร่งครัด ใช้หลักบูรณาการงานชุมชน ควบคู่ไปกับงานป้องกันและปราบปราม ศึกษาและประสานกับชุมชนในการหมายแนวเขต และกิจกรรมหนุน เพื่อให้อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติได้ และมีมาตรการผ่อนปรนที่ช่วยลดความขัดแย้งระหว่างชุมชนกับอุทยานแห่งชาติได้en_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.