Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79006
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเรนัส เสริมบุญสร้าง-
dc.contributor.authorศศิพิชาฒ์ อริวรรณาen_US
dc.date.accessioned2023-10-11T10:26:06Z-
dc.date.available2023-10-11T10:26:06Z-
dc.date.issued2566-05-16-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/79006-
dc.description.abstractThe purpose of this study was to study the service marketing mix affecting outpatient service selection at private hospitals in Chiang Mai Province by collecting data using questionnaire. The population in this study were Thai people who had used outpatient services at nine private hospitals with 100 beds or more in Chiang Mai Province, namely Chiang Mai Medical Center Hospital, Theppanya Hospital, Chiang Mai Klaimor Hospital, Central Chiang Mai Memorial Hospital, Bangkok Hospital Chiang Mai, Chiang Mai Rajavej Hospital, Lanna Hospital, Chiang Mai Ram Hospital, and McCormick Hospital within a period of not more than 6 months with unknown the population. Therefore, in this study, the data were collected at a local level, and a sample size of 450 cases. Samples were collected on 50 cases per hospital by using convenience sampling method by distributing questionnaires at the mentioned hospitals. The data were analyzed with descriptive statistics consisting of frequency, percentage, and mean before using inferential statistics to analyze the difference in the service marketing mix affecting outpatient service selection at private hospitals in Chiang Mai Province. These samples were classified by respondent groups in the aspects of age, income, using One-Way ANOVA reference statistics to test the hypothesis and to test the differences in sub-factor levels individually by Scheffe's method, for the payment method, using the reference t-test to test the hypothesis. The results of the study revealed that most of the respondents were female, aged 21-30 years old and 31-40 years old, single status, working as employees of private companies, graduated with a bachelor's degree with a monthly family income of 30,001-50,000 baht. Most of them used medical welfare benefits through health insurance and they were responsible for most of the medical expenses (self-paying). Consumer behavior in Chiang Mai in choosing private hospital outpatient services demonstrated that most of the respondents used outpatient services in private hospitals once a year during the days when they were to receive services with no specific day. The most time to receive services was according to the doctor's appointment/check-up schedule. The reason for choosing the service was when the body started to have abnormalities such as fever, pain in various areas, cough, runny nose, etc. The respondents paid cash and deducted expenses from medical welfare benefits by paying only the excessive amount and the person or source of information that influenced the choice of service was family member. In this study, private hospital outpatient services were used to treat common diseases and the private hospital in Chiang Mai that most of the respondents visited was Lanna Hospital. The main reason for choosing the service was the short distance from their residences. After using the service, the level of satisfaction was high. The service marketing mix affecting the selection of outpatient services in private hospitals in Chiang Mai Province found that all factors affected the selection of services at a high level. The first 3 factors with the highest mean were location and service channels, process, and personnel, respectively. In terms of product and service factors, the top 3 sub-factors with the highest mean were specialized medical examination services, followed by comprehensive treatment services, and modern and standard equipment, respectively. In an aspect of price, the top 3 sub-factors with the highest mean were the price in insurance coverage/welfare, followed by the cost of providing services appropriate to the quality of service, and ability to pay for medical expenses by credit card or bank transfer, respectively. The top 3 sub-factors with the highest mean for place and service channel factors were service locations located in areas convenient for traveling, followed by 24-hour service, and convenience in contacting information, respectively. For marketing promotion factor, the top 3 sub-factors with the highest mean were reception staff giving advice and answering questions in using the service, followed by the hospital's website or online media channels that could view information about providing services and others, and documents about knowledge and practice in various fields for consultation and advice, respectively. The top 3 sub-factors regarding the process with the highest mean were the accuracy of treatment, e.g. appropriate medication for the disease, following by the process of providing services that were not complicated, and provided information about side effects or complications that might arise from treatment, respectively. Personnel factor showed that the top 3 sub-factors with the highest mean were expertise in treatment and diagnosis, following by doctors and nurses giving advice and explaining the treatment process in detail and clear, and experienced and famous doctors, respectively. The top 3 sub-factors regarding the physical evidence with the highest mean were adequate facilities and utilities such as toilets, the place to sit, and the elevator, following by cleanliness such as the bathroom, treatment room, waiting area to see a doctor, etc., and a place to feel safe when receiving services during the COVID situation, respectively. The results of the hypothesis test revealed that respondents with different ages, different income, and different types of payment have given importance to different service marketing mix factors in every aspect.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectส่วนประสมการตลาดen_US
dc.subjectการเลือกใช้บริการผู้ป่วยนอกen_US
dc.subjectโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.titleส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeService marketing mix affecting outpatient services selection of private hospitals in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลเอกชน -- การตลาด-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาลเอกชน -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashโรงพยาบาล -- บริการผู้ป่วยนอก-
thailis.controlvocab.thashการบริบาลผู้ป่วยนอก-
thailis.controlvocab.thashการดูแลรักษาในโรงพยาบาล-
thailis.controlvocab.thashพฤติกรรมผู้บริโภค -- เชียงใหม่-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชาวไทยผู้ที่เคยใช้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชน ที่มีขนาด 100 เตียงขึ้นไปในจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมีจำนวน 9 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเชียงใหม่เมดิคอลเซ็นเตอร์ โรงพยาบาลเทพปัญญา โรงพยาบาลเชียงใหม่ใกล้หมอ โรงพยาบาลเซ็นทรัลเชียงใหม่เมโมเรียล โรงพยาบาลกรุงเทพเชียงใหม่ โรงพยาบาลราชเวชเชียงใหม่ โรงพยาบาลลานนา โรงพยาบาลเชียงใหม่ราม และโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน ซึ่งไม่ทราบจำนวนประชากร ดังนั้นในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการเก็บข้อมูลระดับท้องถิ่น จึงกำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 450 ราย โดยเก็บตัวอย่างจากโรงพยาบาลแต่ละแห่งจำนวน 50 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างตามสะดวก (Convenience Sampling) โดยการแจกแบบสอบถาม ณ โรงพยาบาลดังกล่าว นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์ความแตกต่างของส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ จำแนกตามกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ อายุ และรายได้ โดยใช้สถิติอ้างอิง One-Way ANOVA เพื่อทดสอบสมมติฐาน และทดสอบความแตกต่างของระดับปัจจัยย่อยเป็นรายคู่ ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe) ส่วนประเภทการชำระเงินทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติอ้างอิง t-test ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 21-30 ปี และ 31-40 ปีสถานภาพโสด ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน จบการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยมีรายได้ของครอบครัวต่อเดือนอยู่ที่ 30,001-50,000 บาท ใช้สวัสดิการค่ารักษาพยาบาลผ่านประกันสุขภาพ และผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการรักษาพยาบาล คือ ตนเอง (ชำระเงินเอง) พฤติกรรมผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่ในการเลือกใช้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีการใช้บริการผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเอกชนปีละ 1 ครั้ง โดยวันที่เข้ารับบริการ ไม่แน่นอน เวลาที่ใช้บริการส่วนใหญ่ คือ ตามนัดหมาย/ ตารางออกตรวจของแพทย์ เหตุผลในการเลือกใช้บริการ คือ เมื่อร่างกายเริ่มมีความผิดปกติ เช่น มีไข้ ปวดบริเวณต่าง ๆ ไอ น้ำมูกไหล เป็นต้น โดยใช้การชำระเงินแบบเงินสด และหักค่าใช้จ่ายจากสวัสดิการและชำระเฉพาะส่วนเกิน บุคคลหรือแหล่งข้อมูลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการ คือ สมาชิกในครอบครัว มีการใช้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนเพื่อรักษาโรคทั่วไป โดยโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ที่ส่วนใหญ่เคยใช้บริการ คือโรงพยาบาลลานนา เหตุผลหลักในการเลือกใช้บริการ คือ ใกล้บ้าน และหลังจากการใช้บริการแล้วมีความพึงพอใจในระดับมาก ส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลเอกชนในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่า มีผลต่อการเลือกใช้บริการในระดับมากทุกปัจจัย โดยปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 ปัจจัยแรก คือ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ และด้านบุคลากร ตามลำดับ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มีการให้บริการตรวจรักษาโรคเฉพาะทาง รองลงมา คือ มีการให้บริการด้านการรักษาที่ครบวงจร และมีอุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน ตามลำดับ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ราคาอยู่ในความคุ้มครองของประกัน/ สวัสดิการ รองลงมา คือ มีค่าใช้จ่ายในการให้บริการที่เหมาะสมกับคุณภาพการบริการ และสามารถชำระค่ารักษาพยาบาลด้วยบัตรเครดิตหรือการโอนเงินผ่านบัญชีธนาคารได้ ตามลำดับ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สถานที่ให้บริการตั้งอยู่ในบริเวณที่สะดวกในการเดินทาง รองลงมา คือ เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง และมีความสะดวกในการติดต่อสอบถามข้อมูล ตามลำดับ ปัจจัยด้านส่งเสริมการตลาด ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มีพนักงานต้อนรับให้คำแนะนำ และตอบข้อซักถามในการใช้บริการ รองลงมา คือ มีเว็บไซต์หรือช่องทางสื่อออนไลน์ของโรงพยาบาลที่สามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการ และอื่น ๆ ได้ครอบคลุม และมีเอกสารเกี่ยวกับความรู้ การปฏิบัติตัวด้านต่าง ๆ ประกอบการให้คำปรึกษาและแนะนำ ตามลำดับ ปัจจัยด้านกระบวนการ ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความถูกต้องในการรักษา เช่น ให้ยาเหมาะสมกับโรค เป็นต้น รองลงมา คือ ขั้นตอนในการให้บริการไม่ยุ่งยากซับซ้อน และการให้ข้อมูลผลข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษา ตามลำดับ ปัจจัยด้านบุคลากร ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความเชี่ยวชาญในการรักษาและวินิจฉัยโรค รองลงมา คือ แพทย์และพยาบาลให้คำแนะนำและอธิบายขั้นตอนการรักษาละเอียด ชัดเจน และแพทย์มีประสบการณ์ และมีชื่อเสียง ตามลำดับ ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ ปัจจัยย่อยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคเพียงพอ เช่น ห้องน้ำ สถานที่นั่งรอ ลิฟต์ เป็นต้น รองลงมา คือ สถานที่มีความสะอาด เช่น ห้องน้ำ ห้องตรวจรักษา จุดรอพบแพทย์ เป็นต้น และมีการจัดสถานที่ให้รู้สึกปลอดภัยเมื่อเข้ารับบริการในช่วงสถานการณ์โควิด ตามลำดับ ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุแตกต่างกัน รายได้แตกต่างกัน และประเภทการชำระเงินแตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการแตกต่างกันทุกด้านen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631532087-ศศิพิชาฒ์ อริวรรณา.pdf1.88 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.