Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78956
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorภาณุพันธุ์ ประภาติกุล-
dc.contributor.advisorณฐิตากานต์ พยัคฆา-
dc.contributor.advisorทศพล มูลมณี-
dc.contributor.authorเฉลิมพงษ์ เชื้อสะอาดen_US
dc.date.accessioned2023-10-07T04:13:12Z-
dc.date.available2023-10-07T04:13:12Z-
dc.date.issued2023-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78956-
dc.description.abstractThe objectives of this research were to 1) to study the production conditions of meat goats and problems in the production of meat goats by farmers 2) to analyze data on the production conditions of meat goats and problems in the production of meat goats by farmers and 3) to provide recommendations obtained from the analysis for a plan to promote the transfer of knowledge on meat goat production to farmers in Chiang Mai Province, Lamphun Province and Lampang Province. The population is farmers who raise meat goats. A total of 220 people participated in the Lanna Goat and Sheep Project, Phase 1. The sample size was determined using Taro Yamane's formula at an acceptable error level of .05. The sample size was 142 people. Data were collected. Using an interview form with a confidence value according to Cronbach's formula of 0.883, data were analyzed using statistics including percentage, average, maximum, minimum, and standard deviation. And test the hypotheses using stepwise multiple regression analysis. The results of the research found that most farmers were male, with an average age of 53.6 years and had graduated from high school or a vocational certificate. The average experience in raising meat goats is 3.6 years. The farmer has the objective of raising meat goats to sell as fattening goats. The average number of meat goats raised on the farm is 33.9 and the average area for meat goat production is 4.5 rai. The breed of meat goats that most farmers like to raise is a hybrid between the boer and the native breed. There is a mixed farming style (locked in pens and released). Moreover, most farmers use coarse feed to raise meat goats. And have their fodder grass plot, averaging 3.4 rai, and have a water source that is sufficient for raising meat goats. Most farmers have vaccinated their meat goats to prevent disease and have supplemented them with mineral supplements for the meat goats on their farms. In 2021, it was found that farmers had income from average meat goat sales are 32,697. 18 baht/year and most farmers still have outstanding debts, most farmers have contact with livestock officials or related agencies. But did not receive training in raising meat goats from livestock officials or related agencies. In the past period farmers have an average of 1.99 channels to receive news about meat goat production. An overview of farmers' needs for extension meat goat production. It was found that farmers have needs. Extension of meat goat production is at a high level (1) Treat and prevent disease in meat goats (X ̅ = 2.93), (2) Management of meat goats at different stages (X ̅ = 2.86), (3) Meat goat breeds (X ̅ = 2.76), (4) Feed and feeding quantity (X ̅ = 2.66) and (5) Good farm management (X ̅ = 2.62), respectively. In terms of methods for extending knowledge on various issues, classified according to the methods of agricultural extended that farmers want most, they are (1) Individual form, farmers prefer the method of extended through visits to the farm ( 23.80 percent) (2) Group form: Farmers want extension methods through organizing demonstrations (47.90 percent), providing knowledge and training (31.33 percent) and (3) Mass type: Farmers want extension methods through publications or documents (10.20 percent) and the internet (7.00 percent). Regarding the need for support from government organizations of farmers, it was found that farmers have a high level of need for government agencies to extend meat goat production in 6 topics, including disease prevention vaccination services from government agencies and disease examination services from government agencies (X ̅ = 2.89), equal. Next was received support for medicine to eliminate internal/external parasites (X ̅ = 2.82), received mineral support (X ̅ = 2.75) and received the same support in tools/equipment/technology and animal feed seeds from government agencies (X ̅ = 2.56), respectively. Testing the hypothesis, it was found that the factors were related to the need to extends meat goat extension among farmers in Chiang Mai Province, Lamphun Province, and Lampang Province. There is a multiple coefficient of determination (R2) equal to 0.654, meaning that there are all independent variables that can explain 65.40 percent of the variation in the dependent variable. It was found that among all the independent variables. There are 2 independent variables: education level and the number of meat goats being raised, which has a positive relationship with the dependent variable with statistical significance at the 0.01 level. And has 1 independent variable, which is the number of channels for farmers to receive news about meat goat production, which has a negative relationship with the dependent variable with statistical significance at the 0.05 level. Problems affecting the production of meat goats by farmers. It was found that farmers faced problems with selling prices being suppressed by middlemen (40.10 percent). Problems with no livestock officers to advise on raising meat goats (35.20 percent). Problems with meat goats suffering from various diseases especially influenza (31.70 percent) and external/internal parasitic diseases (29.60 percent). Farmers gave suggestions about meat goat production, for example, most farmers wanted officials to go into the area to help take care of and give advice. In raising meat goats (54.20 percent) want training to provide knowledge on various matters related to meat goat production at least 1 time/a year (52.10 percent) want the government or agencies related to marketing promotion (48.60 percent), etc. Suggestions from this research farmers should diligently study and acquire additional new knowledge about raising meat goats from various media channels, especially social media, regularly to bring new knowledge or techniques to use in developing your meat goat raising to have better production efficiency. Meanwhile, community enterprise groups that raise meat goats in the area should have clear goals for meat goat production within the group. Can be practiced in terms of production marketing, group member management and budget management. To strengthen the enterprise group as well relevant officials or agencies in the area should have creating or developing livestock personnel in the area (livestock volunteers) to have expertise in raising meat goats to support the needs of farmers in various areas, especially in the treatment of various diseases in meat goats. Training should also be organized to provide knowledge on the issue. Various things related to raising meat goats so that farmers can apply the knowledge gained to their farms appropriately. Along with having relevant officials or agencies visit the area regularly. To provide continuous advice to farmers who raise meat goats in the area.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectความต้องการการส่งเสริมการผลิตแพะเนื้อของเกษตรกรen_US
dc.titleความต้องการการส่งเสริมการผลิตแพะเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปางen_US
dc.title.alternativeFarmers' extension needs of meat goat production in Chiang Mai, Lamphun and Lampang provincesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร-
thailis.controlvocab.thashเนื้อแพะ-
thailis.controlvocab.thashแพะ -- การเลี้ยง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการผลิตแพะเนื้อ และปัญหาในการผลิตแพะเนื้อของเกษตรกร 2) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการผลิตแพะเนื้อ และปัญหาในการผลิตแพะเนื้อของเกษตรกร และ 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิเคราะห์เพื่อแผนส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้การผลิตแพะเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง ประชากร คือ เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อที่เข้าร่วมโครงการแพะแกะล้านนา ระยะที่ 1 จำนวน 220 ราย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ .05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 142 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่าความเชื่อมั่นตามสูตรของ Cronbach เท่ากับ 0.883 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่ำต่ำสุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 53.6 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือปวช. มีประสบการณ์ในการเลี้ยงแพะเนื้อเฉลี่ย 3.6 ปี เกษตรกรมีวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อจำหน่ายเป็นแพะขุน โดยมีจำนวนแพะเนื้อที่เลี้ยงในฟาร์ม เฉลี่ย 33.9 ตัว และมีพื้นที่ถือครองสำหรับการผลิตแพะเนื้อเฉลี่ย 4.5 ไร่ ทั้งนี้ สายพันธุ์แพะเนื้อที่เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงคือ พันธุ์ลูกผสมระหว่างพันธุ์บอร์กับพันธุ์พื้นเมือง โดยมีรูปแบบการเลี้ยงแบบผสมผสาน (ขังคอกและปล่อย) อีกทั้งเกษตรกรส่วนใหญ่จะใช้อาหารหยาบในการเลี้ยงแพะเนื้อ และมีแปลงหญ้าอาหารสัตว์เป็นของตนเองเฉลี่ย 3.4 ไร่ และมีแหล่งน้ำใช้ซึ่งเพียงพอต่อการเลี้ยงแพะเนื้อ เกษตรกรส่วนใหญ่มีการทำวัคซีนป้องกันโรคในแพะเนื้อ และมีการเสริมแร่ธาตุให้กับแพะเนื้อในฟาร์ม ในปี พ.ศ. 2564 พบว่า เกษตรกรมีรายได้จาก การจำหน่ายแพะเนื้อเฉลี่ย 32,697.18 บาท และเกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีภาระหนี้สินคงค้าง ทั้งนี้เกษตรกรส่วนใหญ่มีการติดต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่กลับไม่ได้รับการฝึกอบรมการเลี้ยงแพะเนื้อจากเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรมีจำนวนช่องทางการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตแพะเนื้อเฉลี่ย 1.99 ช่องทาง ภาพรวมความต้องการการส่งเสริมการผลิตแพะเนื้อของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรมีความต้องการการส่งเสริมการผลิตแพะเนื้ออยู่ในระดับมาก (X ̅ = 2.77) เมื่อพิจารณาในประเด็นย่อยโดยเรียงตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย พบว่า เกษตรกรมีความต้องการอยู่ในระดับมาก จำนวน 5 ประเด็นย่อย ได้แก่ (1) ด้านการรักษาและป้องกันโรคในแพะเนื้อ (X ̅ = 2.93) (2) ด้านการจัดการแพะเนื้อระยะต่าง ๆ (X ̅ = 2.86) (3) ด้านสายพันธุ์แพะเนื้อ (X ̅ = 2.76) (4) ด้านอาหารและปริมาณการให้อาหาร (X ̅ = 2.66) และ (5) ด้านการจัดการฟาร์มที่ดี (X ̅ = 2.62) ตามลำดับ ด้านวิธีการส่งเสริมความรู้ในประเด็นต่าง ๆ แยกจำแนกตามวิธีการส่งเสริมการเกษตรที่เกษตรกรต้องการมากที่สุด ได้แก่ (1) แบบรายบุคคล เกษตรกรต้องการวิธีการส่งเสริมผ่านทางการเยี่ยมเยือนที่ฟาร์ม (ร้อยละ 23.80) (2) แบบกลุ่ม เกษตรกรต้องการวิธีการส่งเสริมผ่านทางการจัดสาธิตให้ความรู้ (ร้อยละ 47.90) และการฝึกอบรม (ร้อยละ 31.33) และ (3) แบบมวลชน เกษตรกรต้องการวิธีการส่งเสริมผ่านทางสิ่งพิมพ์หรือเอกสาร (ร้อยละ 10.20) และอินเทอร์เน็ต (ร้อยละ 7.00) ด้านความต้องการด้านการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรกรมีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาส่งเสริมการผลิตแพะเนื้อในระดับมากจำนวน 6 หัวข้อ ได้แก่ การบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคจากหน่วยงานภาครัฐ และการบริการตรวจโรคจากหน่วยงานภาครัฐ (X ̅ = 2.89) เท่ากัน รองลงมา คือ การได้รับสนับสนุนยากำจัดพยาธิภายใน/ภายนอก (X ̅ = 2.82) การได้รับสนับสนุนแร่ธาตุก้อน (X ̅ = 2.75) และได้รับการสนับสนุนด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์/เทคโนโลยี และได้รับเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์จากหน่วยงานภาครัฐ (X ̅ = 2.56) เท่ากัน ตามลำดับ การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการส่งเสริมการผลิตแพะเนื้อของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง มีค่าสัมประสิทธิ์แห่งการตัดสินใจเชิงพหุ (Multiple coefficient of determination: R2) เท่ากับ 0.654 หมายความว่า มีตัวแปรอิสระทั้งหมดที่สามารถอธิบายความผันแปรของตัวแปรตามได้ร้อยละ 65.40 พบว่า ในบรรดาตัวแปรอิสระทั้งหมด มีตัวแปรอิสระจำนวน 2 ตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษา และจำนวนแพะเนื้อที่เลี้ยงอยู่ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับตัวแปรตาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และมีตัวแปรอิสระจำนวน 1 ตัวแปร ได้แก่ จำนวนช่องทางการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตแพะเนื้อของเกษตรกร ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงลบกับตัวแปรตาม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัญหาที่มีต่อการผลิตแพะเนื้อของเกษตรกร พบว่า เกษตรกรประสบปัญหาถูกกดราคาขายจากพ่อค้าคนกลาง (ร้อยละ 40.10) ปัญหาไม่มีเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาให้คำปรึกษาในการเลี้ยงแพะเนื้อ (ร้อยละ 35.20) ปัญหาแพะเนื้อเป็นโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคไข้หวัด (ร้อยละ 31.70) และโรคพยาธิภายนอก/ภายใน (ร้อยละ 29.60) โดยเกษตรกรได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการผลิตแพะเนื้อ เช่น เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการให้มีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ช่วยดูแลและ ให้คำปรึกษาในการเลี้ยงแพะเนื้อ (ร้อยละ 54.20) ต้องการให้มีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตแพะเนื้ออย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี (ร้อยละ 52.10) ต้องการให้ภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมการตลาด (ร้อยละ 48.60) เป็นต้น ข้อเสนอแนะจากการวิจัยในครั้งนี้ ตัวเกษตรกรควรขยันศึกษาหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงแพะเนื้อจากช่องทางสื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์เป็นประจำ ทั้งนี้ เพื่อนำความรู้หรือเทคนิควิธีการใหม่ ๆ มาใช้พัฒนาการเลี้ยงแพะเนื้อของตนเองให้มีประสิทธิภาพการผลิตที่ดีขึ้น ในขณะที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่ ควรมีการวางเป้าหมายการผลิตแพะเนื้อภายในกลุ่มที่ชัดเจน สามารถปฏิบัติได้จริง ทั้งทางด้านการผลิต การตลาด การบริหารสมาชิกในกลุ่ม และการจัดการงบประมาณ เพื่อสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจ ตลอดจนเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ควรมีการสร้างหรือพัฒนาบุคลากรด้านปศุสัตว์ในพื้นที่ (อาสาปศุสัตว์) ให้มีความชำนาญด้านการเลี้ยงแพะเนื้อ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่ด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการรักษาโรคต่าง ๆ ในแพะเนื้อ ตลอดจนควรมีการจัดฝึกอบรมให้ความรู้ในประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเลี้ยง แพะเนื้อ เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในฟาร์มของตัวเกษตรกรเองได้อย่างเหมาะสม ควบคู่กับการมีเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่เป็นประจำหรืออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้คำปรึกษาหรือคำแนะนำแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อในพื้นที่อย่างต่อเนื่องen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
630831053-Charermpong Chuesaard.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.