Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78940
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรพิณ สันติธีรากุล-
dc.contributor.authorศศิมล เกอร์เลย์en_US
dc.date.accessioned2023-10-05T18:12:32Z-
dc.date.available2023-10-05T18:12:32Z-
dc.date.issued2565-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78940-
dc.description.abstractThis independent study aimed to study the level of happiness at work, to compare happiness at work, and to study the factors affecting happiness at work of generation X and generation Y operating employees in private service businesses in Chiang Mai province. Questionnaire was distributed to gather information from 200 respondents who were operating employees in private service businesses, 100 respondents were generation X who were born between 1965 - 1977 and 100 respondents were generation Y who were born between 1978 - 1998. Descriptive statistics (frequency, percentage and mean) and Inferential Statistics (Independent Sample t-Test and Multiple Regression Analysis) were used to analyze the data. The findings revealed that the overall happiness levels of generation X and generation Y operating employees were at the high level (x̅ =3.68 and 3.76 respectively). For the 11 domains of the happiness at work of generation X, 9 domains were ranked at the high level, namely achievement (x̅ = 3.87), the work itself (x̅ = 3.76), responsibility (x̅ =3.76), salary(x̅ =3.70), recognition (x̅ =3.69),job security (X=3.68), company policy and administration (x̅ =3.67), working conditions (x̅ =3.66), and interpersonal relationship with superiors (x̅ =3.65) while 2 domains were ranked at the moderate level, namely interpersonal relationship with subordinates (x̅ =3.41) and possibility for growth (x̅ =2.90). For the 11 domains of happiness at work of Generation Y, 9 domains were ranked at the high level, namely recognition (x̅ =3.90), working conditions (x̅ =3.90), responsibility (x̅ =3.89), interpersonal relationship with superiors (x̅ =3.89), job security(x̅ =3.80), achievement (x̅ =3.78), interpersonal relationship with subordinates (x̅ =3.73), the work itself (x̅ =3.59) and company policy and administration (x̅ =3.54) while 2 domains were ranked at the moderate level, namely salary (x̅ =3.49) and possibility for growth (x̅ =2.74). The results revealed that there was no significant difference between the overall happiness of generation X and generation Y (Sig.= 0.483). The results from Multiple Regression Analysis revealed that for generation X, job security (Beta = 0.343) explained 18.9% of total variance of happiness at work. As for generation Y, responsibility (Beta = 0.300), job security Beta = 0.283), company policy and administration (Beta = 0.267), the work itself (Beta = 0.265), working conditions (Beta = -0.169) and interpersonal relationship with superiors (Beta = 0.162) all together explained 76.3% of total variance of happiness at work.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความสุขในการทำงานของพนักงานเอกชนระดับปฏิบัติการในธุรกิจบริการเจเนอเรชันเอ็กซ์และเจเนอเรชันวายในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeHappiness at work of generation X and generation Y operating employees in private service businesses in Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashความสุข-
thailis.controlvocab.thashคุณภาพชีวิตการทำงาน-
thailis.controlvocab.thashความพอใจในการทำงาน-
thailis.controlvocab.thashเจนเนอเรชันเอ็กซ์-
thailis.controlvocab.thashเจนเนอเรชันวาย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขในการทำงาน ศึกษาปัจจัยที่ ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน และเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของพนักงานเอกชนระดับ ปฏิบัติการในธุรกิจบริการเจเนอเรชันเอ็กซ์และเจเนอเรชันวายในจังหวัดเชียงใหม่ โดยเก็บข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างคือพนักงานเอกชนระดับปฏิบัติการในธุรกิจบริการจำนวน 200 ราย แบ่งเป็นเจ เนอเรชันเอ็กซ์หรือผู้ที่เกิดระหว่าง พ.ศ. 2508 - 2520 จำนวน 100 ราย และเจเนอเรชันวายหรือผู้ที่ เกิดระหว่าง พ.ศ. 2521 - 2541 จำนวน 100 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม (Questionnaire) และ ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ประกอบด้วย ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) และค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนสถิติอนุมาน (Inferential Statistics) ประกอบด้วย Independent Sample t-Test และการวิเคราะห์สมการถคถอย พหุคุณ (Multiple Regression Analysis) ผลการศึกษาพบว่า ความสุขในการทำงาน โดยรวมของเจเนอเรชันเอ็กซ์และเจเนอเรชันวาย อยู่ในระดับมาก (x̅ =3.68 และ 3.76 ตามลำดับ) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยระดับความความคิดเห็นต่อ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสุขในการทำงานของเจเนอเรชันเอ็กซ์ทั้ง 11 ด้าน อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 9 ปัจจัย ได้แก่ ด้านความสำเร็จในงาน (x̅ =3.87) ด้านลักษณะ ของงานที่ปฏิบัติ (x̅ =3.76) ด้านความ รับผิดชอบ (x̅ =3.76) ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล (x̅ =3.70) ด้านการได้รับการยอมรับ นับถือ (x̅ =3.69) ค้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน (x̅ =3.68) ค้านนโยบายและการบริหาร (x̅ =3.67) ด้านสภาพการทำงาน (3.66) และด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา (x̅ =3.65) และอยู่ ในระดับเห็นด้วยปานกลาง 2 ปัจจัย ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (x̅ =3.41) และ ด้าน ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน (x̅ =2.90) ส่วนค่าเฉลี่ยระดับความความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ ก่อให้เกิดความสุขในการทำงานของเจเนอเรชันวาย อยู่ในระดับเห็นด้วยมาก 9 ปัจจัย ได้แก่ ด้าน การได้รับการยอมรับนับถือ (x̅ =3.90) ด้านสภาพการทำงาน (x̅ =3.90) ด้านความรับผิดชอบ (x̅ = 3.89) ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา (X =3.89) ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน (x̅ =3.80) ด้านความสำเร็จในงาน (x̅ =3.78) ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (X =3.73) ด้าน ลักษณะของงานที่ปฏิบัติ (x̅ =3.59) และค้านนโยบายและการบริหาร (x̅ =3.54) และอยู่ในระดับ เห็นด้วยปานกลาง 2 ปัจจัย ได้แก่ ด้านเงินเดือนและผลประโยชน์เกื้อกูล (x̅ =3.49) และด้าน ความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน (x̅ =2.74) จากการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความสุขในการทำงานโดยรวมของเจ เนอเรชันเอ็กซ์และเจนอเรชันวาย ความสุขในการทำงานโดยรวมของพนักงานระดับปฏิบัติการใน ธุรกิจบริการเจเนอเรชันเอ็กซ์และเจเนอเรชันวายไม่แตกต่างกัน (Sig. = 0.483) จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานของเจเนอเรชันเอ็กซ์และเจเนอเร ชันวาย โดยใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ของเจเนอเรชันเอ็กซ์มีเพียง 1 ด้าน คือ ด้านความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน (Beta =0.343) โดย สามารถพยากรณ์ความสุขในการทำงานของเจเนอเรชันเอ็กซ์ได้ร้อยละ 18.9 ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อ ความสุขในการทำงานของเจเนอเรชันวายมี 6 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านความรับผิดชอบ (Beta = 0.300) ความมั่นคงปลอดภัยในการทำงาน (Beta = 0.283) นโยบายและการบริหาร (Beta = 0.267) ลักษณะ ของงาน (Beta = 0.265) สภาพการทำงาน (Beta = -0.169) และความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน (Beta = 0.162) โดยสามารถพยากรณ์ความสุขในการทำงานของเจเนอเรชันวายได้ร้อยละ 76.3en_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.