Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78936
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | หรรษา เศรษฐบุปผา | - |
dc.contributor.advisor | ภัทราภรณ์ ภทรสกุล | - |
dc.contributor.author | สมศรี บุญเมตตา | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-10-05T18:01:42Z | - |
dc.date.available | 2023-10-05T18:01:42Z | - |
dc.date.issued | 2566-06-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78936 | - |
dc.description.abstract | The ineffective couple’s communication skill is one factor caused by heavy drinking behaviors of patients with Alcohol Use Disorders (AUD). These behaviors tremendously affected patients with AUD, their family, and society. In this quasi-experimental research, two groups were measured before and after an experiment. The objective of this study was to study the effects of the Effective Couple’s Communication Skills Enhancement (ECCE) Program on the alcohol drinking behaviors of patients with AUD. The sample included 24 pairs of patients with AUD and their spouses. By using simple random sampling and drawing lots, they were split into 12 pairs in either an experimental group or a control group. The instruments consisted of 1) the personal information questionnaire, 2) the Alcohol Screening Test, and 3) the Effective Couple’s Communication Skills Enhancement (ECCE) program. Data were analyzed using descriptive statistics, independent t-tests, and dependent t-tests. The study found that: 1. One month after receiving the ECCE program, the experimental group's average score on drinking behaviors of patients with AUD was statistically significantly lower than before receiving the program (p < .01) 2. One month after receiving the ECCE program, the average score on drinking behaviors of patients with AUD in the experimental group was statistically significantly lower than that of the control group (p < .01). According to the results of this study, it appeared that the ECCE program is capable of changing drinking behaviors, and is, therefore, a useful therapy and an alternative treatment for patients with AUD receiving inpatient treatment, in reducing alcohol drinking behaviors. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรสต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุรา | en_US |
dc.title.alternative | Effect of the effective couple’s communication skills enhancement program on alcohol drinking behaviors of patients with alcohol use disorders | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | การสื่อสาร | - |
thailis.controlvocab.thash | คนดื่มสุรา | - |
thailis.controlvocab.thash | คู่สมรสผู้ติดสุรา | - |
thailis.controlvocab.thash | ผู้ติดสุรา -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว | - |
thailis.controlvocab.thash | คู่สมรส | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดื่มสุรา ของผู้ป่วยที่ความผิดปกติจากการใช้สุรา และส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัวและสังคมอย่างมาก การวิจัยกึ่งทดลอง 2 กลุ่มวัดก่อนและหลังทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรสต่อพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุรา กลุ่มตัวอย่าง เป็นผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุรา และคู่สมรส จำนวน 24 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 12 คู่ กลุ่มควบคุม 12 คู่ โดยการสุ่มแบบง่ายโดยวิธีจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุรา และ 3) โปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบค่า ที ชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบค่า ที ชนิดที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษาพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของกลุ่มทดลอง ในระยะ 1 เดือน หลังได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส ต่ำกว่าก่อนได้รับการบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดื่มสุราของกลุ่มทดลอง ในระยะ 1 เดือน หลังได้รับการบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส สามารถลดพฤติกรรมการดื่มสุราได้ ดังนั้นจึงควรนำการบำบัดด้วยโปรแกรมส่งเสริมทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพของคู่สมรส ไปใช้บำบัดผู้ป่วยที่มีความผิดปกติจากการใช้สุราที่เข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ให้สามารถลดพฤติกรรมติดสุราได้ | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631231205-สมศรี บุญเมตตา.pdf | 2.8 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.