Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78905
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorไพโรจน์ คงทวีศักดิ์-
dc.contributor.authorวีรภัทร จันทร์เริกen_US
dc.date.accessioned2023-10-02T10:17:00Z-
dc.date.available2023-10-02T10:17:00Z-
dc.date.issued2023-04-25-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78905-
dc.description.abstractThis thesis aimed to investigate a major religious transformation of the Ulak Lawoi ethnic group after the 2004 tsunami disaster. This natural tragedy influenced some of the Ulak Lawoi members to change their faith from ancestral spirits to Christianity. Objectives of this research are 1) to define Ulak Lawoi identity under the change of religion after the Tsunami. 2) inspect conflicts that develop in the religious conversion on social and cultural issues as well as the current Ulak Lawoi ethnicity. Ethnographic methods and participatory observations were applied for the data collections. The study found that the arrival of Christianity in Lanta Island, Krabi had caused impacts and changes on the ethnicity, dimension of religions and cultural and social practices. The approaching of Christianity took place under conditions for the Ulak Lawoi community to receive urgent assistance after the tsunami attack. Becoming Christians was hence beneficial to the recovery and restoration of the livelihood. For such reason, the Sang Kha Ou community began to define “Ethnic identity” into two sub-groups, which are “primitive Ulak Lawoi” and “Christian Ulak Lawoi”. The separation situated ethic distances, which resulted in “us and them” later. Under such ethical split of Ulak Lawoi shaped social exclusion from looking at ethnic boundaries in terms of different religions. While most Ulak Lawoi still valued and respected the spirits of their ancestors, Ulak Lawoi Christians had abandon “ancestral spirits” and turned to worship “God”. The dissimilarities in religious ideologies had led to conflicts in the community, especially the early stage of becoming Christians. Nevertheless, as time went by the ethnic borders had been integrated into a new Urak Laowi. The primitive and Christian Ulak Lawoi reunited under spaces of cultural and social activities, which reflected the implication of the existence of Ulak Lawoi. Even the tsunami wave had damaged and created changes particularly momentary apertures in their ethnic borders, the strong cultural bond, and sense of kinship in the Sang Kha Ou community reconnected them through crossed social and cultural beliefs. Between them, there was an emergence of consciousness of “We are Ulak Lawois Sang Kha Ou” or “Lu Moh Lawoi”  en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectอูรักลาโว้ย ชุมชนสังกาอู้ ความเชื่อทางศาสนา อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์en_US
dc.titleการเปลี่ยนความเชื่อทางศาสนาของชาวอูรักลาโว้ย: กรณีศึกษาชุมชนสังกาอู้ เกาะลันตา จังหวัดกระบี่en_US
dc.title.alternativeThe Conversion of religious beliefs of the Ulak Lawoi: a case Study of Sang Kha Ou Community, Lanta Island, Krabi Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashศรัทธา -- กระบี่-
thailis.controlvocab.thashความเชื่อ -- กระบี่-
thailis.controlvocab.thashศาสนา -- กระบี่-
thailis.controlvocab.thashอัตลักษณ์ชาติพันธุ์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ต้องการชี้ให้เห็น การเปลี่ยนความเชื่อทางศาสนาครั้งใหญ่ภายในกลุ่มชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย หลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ ปี 2547 ที่ได้เกิดการเปลี่ยนความเชื่อทางศาสนาจากการนับถือผีบรรพบุรุษมาสู่คริสต์ศาสนาของชาวอูรักลาโว้ยจำนวนหนึ่ง โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาการนิยามอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวอูรักลาโว้ยที่เกิดขึ้นภายใต้การเปลี่ยนแปลงความเชื่อทางศาสนา ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ 2) เพื่อศึกษาความขัดแย้งที่ปรากฏขึ้นภายใต้การปรับเปลี่ยนความเชื่อทางศาสนาที่มีผลกระทบมาถึงวิถีชีวิตทางสังคมและวัฒนธรรม ตลอดจนเนื้อหาของความเป็นชาติพันธ์อูรักลาโว้ยในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงชาติพันธุ์วรรรณนาในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า การเข้ามาของคริสต์ศาสนาในชุมชนชาวอูรักลาโว้ย เกาะลันตา ทำให้เกิดผลกระทบต่อความเป็นชาติพันธุ์อูรักลาโว้ยในมิติความเชื่อทางศาสนา และข้อปฏิบัติที่เริ่มแตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตามการเข้ามานับถือศาสนาคริสต์ของชาวอูรักลาโว้ย เกิดขึ้นภายใต้สภาวะจำยอมเพื่อให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนภายหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ การเข้ามาเป็นคริสตเตียนจึงเป็นผลดีต่อการฟื้นฟูวิถีชีวิตของพวกเขา ด้วยเหตุนี้ในชุมชนสังกาอู้จึงได้เกิดการนิยาม “อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์” ออกมาเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ “อูรักลาโว้ยดั้งเดิม” และ “อูรักลาโว้ยคริสเตียน” ที่ได้สร้างระยะห่างทางชาติพันธุ์ อันก่อให้เกิดการแบ่งแยก “พวกเขา พวกเรา” ในเวลาต่อมา ภายใต้การปริแตกในเนื้อหาความเป็นชาติพันธุ์อูรักลาโว้ย ทำให้เกิดการกีดกันทางสังคมจากการมองพรมแดนทางชาติพันธุ์ในมิติความเชื่อทางศาสนาที่ไม่เหมือนกัน ในขณะที่ชาวอูรักลาโว้ยส่วนใหญ่ยังคงให้ความสำคัญและเคารพในผีบรรพบุรุษ แต่ชาวอูรักลาโว้ยคริสเตียนกลับต้องละทิ้ง “ผีบรรพบุรุษ” และหันมานับถือ “พระเจ้า” ความแตกต่างในอุดมการณ์ความเชื่อนี้ได้นำมาสู่ความขัดแย้งภายในชุมชน โดยเฉพาะในช่วงแรกของการกลายเป็นคริสเตียน แต่เมื่อเวลาผ่านไป พบว่าได้เกิดการผนวกรวมพรมแดนทางชาติพันธุ์ขึ้นมาใหม่ ทำให้ชาวอูรักลาโว้ยคริสเตียน และ ชาวอูรักลาโว้ยดั้งเดิมกลับมารวมตัวกันอย่างมีพลวัตภายใต้พื้นที่กิจกรรมทางวัฒนธรรม อันสะท้อนให้เห็นถึงนัยการดำรงอยู่ของความเป็นอูรักลาโว้ย แม้คลื่นยักษ์สึนามิจะถาโถมเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงในชุมชนสังกาอู้ที่รุนแรงเพียงใด จนทำให้เกิดรอยแยกชั่วขณะขึ้นมาในพรมแดนทางชาติพันธุ์ของพวกเขา แต่ด้วยความมีจุดร่วมทางวัฒนธรรมเดียวกัน ประกอบกับการมีสำนึกความเป็นเครือญาติที่เหนียวแน่น ปัจจุบัน ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรมแบบข้ามความเชื่อใน ระหว่างพวกเขาก็ได้ปรากฏตัวขึ้นมาในรูปแบบของความรู้สึกสำนึกที่ว่า “พวกเราชาวอูรักลาโว้ยแห่งสังกาอู้” หรือ “ลูเมาะลาโว้ยอิซักกาอู้”en_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610431022-วีรภัทร จันทร์เริก.pdf12.45 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.