Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78890
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมยุลี สำราญญาติ-
dc.contributor.advisorจิราภรณ์ เตชะอุดมเดช-
dc.contributor.authorณัฐวดี กระแสร์en_US
dc.date.accessioned2023-09-20T11:52:35Z-
dc.date.available2023-09-20T11:52:35Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78890-
dc.description.abstractIntensive care unit survivors are patients who have recovered from critical illness and are receiving continuous care in a general ward before being discharged to home. Complications after a critical illness can affect survivors, resulting in an inability to live on their own and a dependence on their caregivers. Caregivers are important persons who care for survivors during rehabilitation and help them with all activities. The purpose of this descriptive research was to study the factors involved in caregivers’ readiness to care. Participants were 85 caregivers of patients who had survived a critical illness before being discharged from general medical or general surgery wards at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital and who were selected by purposive sampling. The research instruments consisted of 1) a personal record form, for caregivers and intensive care unit survivors; 2) the Readiness to Care Questionnaire, for caregivers; 3) the Social Support Questionnaire from the healthcare provider, for caregivers; and 4) the Anxiety Assessment, for caregivers. Data were analyzed using descriptive statistics and Pearson's correlation statistics. The results showed that: 1.The majority of caregivers of intensive care unit survivors before discharge (41.20%) were at a high level of readiness to care ("X" ̅ = 85.32, S.D. = 26.42). 2.The majority of caregivers of intensive care unit survivors (48.20%) received social support from healthcare providers at a moderate level ("X" ̅ = 74.70, S.D. = 19.92) 3.Most caregivers of intensive care unit survivors (67.10%) had anxiety at a moderate level ("X" ̅ = 46.77, S.D. = 9.60). 4.Social support from healthcare providers was positively correlated with the readiness to care of caregivers of intensive care unit survivors before hospital discharge (r = .53, p < 0.01). 5.Caregivers’ anxiety was negatively correlated with their readiness to care for intensive care unit survivors before hospital discharge (r = - .52, p < 0.01). The study showed information regarding the readiness to care of caregivers of intensive care unit survivors, the positive correlation between social support and readiness to care, and the negative correlation of caregivers’ anxiety and readiness to care. The findings of this study could be used as basic information for nurses to prepare caregivers to be ready for patient care. Furthermore, the results could be used for planning knowledge and for practicing the caring skills of caregivers. In addition, the results of this study can be used to improve the quality of nursing serviceen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการดูแลของผู้ดูแลผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลen_US
dc.title.alternativeFactors related to readiness to care of caregivers of intensive care unit survivors before hospital dischargeen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความวิตกกังวล-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วยหนัก-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วยระยะสุดท้าย-
thailis.controlvocab.thashการพยาบาลผู้สูงอายุ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤต เป็นผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นจากภาวะเจ็บป่วย และได้รับการดูแลต่อเนื่องในหอผู้ป่วยสามัญก่อนจะถูกจำหน่ายไปดูแลต่อที่บ้าน ภาวะแทรกซ้อนหลังจากการเจ็บป่วยวิกฤตส่งผลต่อผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตัวเอง และพึ่งพาผู้ดูแล ผู้ดูแลจึงเป็นบุคคลสำคัญในการช่วยเหลือผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตฟื้นฟูสภาพร่างกาย และช่วยเหลือในการทำกิจกรรม การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความพร้อมในการดูแลของผู้ดูแลผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ดูแลผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยก่อนจำหน่ายออกจากหอผู้ป่วยสามัญอายุรกรรม และหอผู้ป่วยสามัญศัลยกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 85 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ดูแลและผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤต 2) แบบสอบถามความพร้อมในการดูแลของผู้ดูแล 3) แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรทางสุขภาพ และ4) แบบประเมินความวิตกกังวลของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1.ผู้ดูแลผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตส่วนใหญ่ร้อยละ 41.20 มีความพร้อมในการดูแล ผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตก่อนจำหน่ายออกโรงพยาบาลอยู่ในระดับมาก ("X" ̅ = 85.32, S.D.=26.42) 2.ผู้ดูแลผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตส่วนใหญ่ร้อยละ 48.20 ได้รับการสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรทางสุขภาพ อยู่ในระดับปานกลาง ("X" ̅ = 74.70, S.D. = 19.92) 3.ผู้ดูแลผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตส่วนใหญ่ร้อยละ 67.10 มีความวิตกกังวลอยู่ ในระดับปานกลาง ("X" ̅ = 46.77, S.D.= 9.60) 4.การสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรทางสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อม ในการดูแลของผู้ดูแลผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (r = .53, p < 0.01) 5.ความวิตกกังวลของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์ทางลบกับความพร้อมในการดูแลของผู้ดูแล ผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤตก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล (r = - .52, p < 0.01) จากการศึกษาทำให้ทราบระดับความพร้อมในการดูแลของผู้ดูแลผู้ที่รอดชีวิตจากการเจ็บป่วยวิกฤต ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคมจากบุคลากรทางสุขภาพส่งผลด้านบวก และปัจจัยด้านความวิตกกังวลของผู้ดูแลส่งผลด้านลบกับความพร้อมในการดูแลของผู้ดูแล ผลการศึกษาครั้งนี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานการพยาบาลในการเตรียมความพร้อมของผู้ดูแล การวางแผนให้ความรู้และฝึกทักษะการดูแลผู้ที่รอดชีวิตแก่ผู้ดูแล โดยพิจารณาปัจจัยทั้งสองด้านที่ส่งผลต่อผู้ดูแล อีกทั้งนำไปพัฒนาคุณภาพของการบริการทางการพยาบาลต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
601231005 ณัฐวดี กระแสร์.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.