Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78886
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฬาลักษณ์ เขมาชีวะกุล-
dc.contributor.authorกนกอร นาคหลงen_US
dc.date.accessioned2023-09-17T05:38:01Z-
dc.date.available2023-09-17T05:38:01Z-
dc.date.issued2023-09-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78886-
dc.description.abstractBifidobacterium breve (B. breve) is a beneficial bacterium that plays a pivotal role in maintaining intestinal equilibrium by binding to pathogenic microorganisms and fortifying the body's immune response. However, its viability diminishes with age due to a low survival rate in the gastrointestinal tract. Encapsulation technology offers a solution by safeguarding microorganisms from adverse environmental conditions and thus enhancing their survival rates. B. breve can be applied to various health-promoting probiotic products, notably fermented milk and yogurt. The latter has gained popularity among health-conscious consumers. In response to the growing demand, alternative yogurt options have emerged, crafted from grains such as soybeans, almond, and coconut. Notably, even green soybeans or edamame prove to be excellent raw materials for yogurt production. The objective of this study is to encapsulate B. breve TISTR 2130 cells by extrusion technique using sodium alginate solutions at concentrations of 1.5%, 2.0%, and 2.5% (w/v), coupled with calcium lactate solutions at 1.0% and 2.0% (w/v) concentrations, serving as encapsulating agents. The primary objective is to identify the optimal conditions for B. breve TISTR 2130 survival in green soybean yogurt. The results show that employing a 2% sodium alginate solution (w/v) along with a 2% calcium lactate solution (w/v) yielded an impressive encapsulation efficiency of 99.8±0.07%, with a concentration of 5.25±0.01 log CFU/mL. In simulated gastrointestinal tract conditions, encapsulated B. breve TISTR 2130 exhibited a survival of 5.59±0.03 log CFU/mL, surpassing the free cells, which displayed no survival after a mere 1 hour in simulated gastric juice. Over a span of 5 hours in the simulated gastrointestinal tract system, the encapsulated B. breve TISTR 2130 retained a survival rate of 64.0±0.39%, exhibiting a residual count greater than 5 log CFU/mL. Turning to the storage analysis of green soybean milk yogurt, both the control and the sample enriched with encapsulated B. breve TISTR 2130 revealed similar trends. Over a 20-day period at 4°C, a decrease in attributes like L*, b*, syneresis, lactic acid content, and total probiotic content was observed, while a*, pH, viscosity, phenol content, flavonoids, and antioxidant activity (DPPH and FRAP) exhibited an increasing tendency. Sensory evaluations were conducted with 81 panelists, revealing that both sets of green soybean milk yogurt achieved non-statistically significant scores (p>0.05), ranging from neutral to slightly favorable. In conclusion, the encapsulated B. breve TISTR 2130 within alginate beads displayed an exceptional ability to safeguard microbial levels of over 6 log CFU/mL during a 10-day refrigerated storage period at 4°C, aligning with the International Dairy Federation (IDF) guidelines. This study conclusively demonstrates the viability of encapsulating B. breve TISTR 2130 with alginate as an innovative approach for survival within simulated gastrointestinal conditions and throughout storage within green soybean milk yogurt. This technology not only holds promise for other probiotics or products but also for integration into health-enhancing food items aimed at harmonizing intestinal microorganisms and promoting overall well-being.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleเอนแคปซูเลชันของ Bifidobacterium breve เพื่อส่งเสริมการรอดชีวิตของจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตถั่วแระญี่ปุ่นen_US
dc.title.alternativeEncapsulation of Bifidobacterium breve to enhance microbial cell viability in green soybean yogurten_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashแบคทีเรีย-
thailis.controlvocab.thashจุลินทรีย์-
thailis.controlvocab.thashโพรไบโอติก-
thailis.controlvocab.thashโยเกิร์ต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractBifidobacterium breve (B. breve) เป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกายโดย การช่วยปรับสมดุลการทำงานของลำไส้โดยเข้าไปจับกับจุลินทรีย์ก่อโรคและกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายซึ่งจุลินทรีย์สายพันธุ์ดังกล่าวพบมากในเด็กทารกแต่จะลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น เนื่องจาก B. breve มีอัตราการรอดชีวิตในระบบทางเดินอาหารต่ำ จึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเอนแคปซูเลชันเพื่อห่อหุ้มและปกป้องจุลินทรีย์จากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมซึ่งส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิต ทั้งนี้ B. breve ถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์เพื่อสุขภาพหลายชนิด เช่น นมเปรี้ยวและโยเกิร์ต เป็นต้น โดยโยเกิร์ตเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคที่รักสุขภาพ จึงทำให้ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตทางเลือกที่ทำจากธัญพืชชนิดต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง อัลมอนด์ และมะพร้าว เป็นต้น สำหรับผู้บริโภคที่แพ้น้ำตาลแลคโตสหรือผู้ที่เป็นมังสวิรัติ ถั่วแระญี่ปุ่นจึงเป็นอีกหนึ่งวัตถุดิบที่เหมาะสำหรับนำมาผลิตโยเกิร์ต ซึ่งปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเอนแคปซูเลชัน B. breve TISTR 2130 ด้วยเทคนิคเอ็กทรูชัน โดยใช้สารละลายโซเดียมอัลจิเนตความเข้มข้นร้อยละ 1.5 2.0 และ 2.5 (โดยน้ำหนัก/ปริมาตร) ร่วมกับสารละลายแคลเซียมแลคเตตความเข้มข้นร้อยละ 1.0 และ 2.0 (โดยน้ำหนัก/ปริมาตร) เป็นวัสดุห่อหุ้ม เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการรอดชีวิตของ B. breve TISTR 2130 ในโยเกิร์ตถั่วแระญี่ปุ่น จากการศึกษาพบว่าการใช้ความเข้มข้นละลายโซเดียม อัลจิเนตร้อยละ 2 (โดยน้ำหนัก/ปริมาตร) ร่วมกับสารละลายแคลเซียมแลคเตตร้อยละ 2 (โดยน้ำหนัก/ปริมาตร) มีค่าประสิทธิภาพการห่อหุ้มสูงที่สุดเท่ากับ ร้อยละ 99.8±0.07 และมีปริมาณเท่ากับ 5.25±0.01 log CFU/มิลลิลิตร เมื่อนำ B. breve TISTR 2130 ที่ถูกห่อหุ้มด้วยระดับความเข้มข้นดังกล่าวมาทดสอบในระบบทางเดินอาหารจำลองพบว่า B. breve TISTR 2130 ที่ถูกห่อหุ้มมีปริมาณการรอดชีวิตเท่ากับ 5.59±0.03 log CFU/มิลลิลิตร ซึ่งสูงกว่ารูปแบบอิสระที่พบว่าไม่เหลือการรอดชีวิตหลังจากทดสอบในระบบกระเพาะอาหารจำลอง 1 ชั่วโมง โดยที่ปริมาณของ B. breve TISTR 2130 ที่ถูกห่อหุ้มคงเหลือมากกว่า 5 log CFU/มิลลิลิตร ซึ่งมีอัตราการรอดชีวิต เท่ากับ ร้อยละ 64.0±0.39 เมื่อทดสอบในระบบทางเดินอาหารครบ 5 ชั่วโมง เมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของโยเกิร์ตถั่วแระญี่ปุ่น 2 ชุดทดลอง ได้แก่ โยเกิร์ตถั่วแระญี่ปุ่นชุดควบคุม และโยเกิร์ตถั่วแระญี่ปุ่นเสริมเม็ดบีดส์ B. breve TISTR 2130 ในระหว่างการเก็บรักษาแบบแช่เย็น (4°C) เป็นระยะเวลา 20 วัน พบว่า โยเกิร์ตทั้ง 2 ชุด มีแนวโน้มของค่าสี L* b* การแยกชั้น ปริมาณกรดแลคติกและปริมาณโพรไบโอติกส์ทั้งหมดลดลง ในขณะที่ค่าสี a* ค่า pHความหนืด ปริมาณสารประกอบฟีนอล ฟลาโวนอยด์และกิจกรรมการต้านออกซิเดชัน (DPPH และ FRAP) มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผลการประเมินทางประสาทสัมผัสของโยเกิร์ตถั่วแระญี่ปุ่นทั้ง 2 ชุดทดลอง ซึ่งมีผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัสจำนวน 81 คน แบ่งเป็นผู้ชาย 28 คน และผู้หญิง 53 คน พบว่าโยเกิร์ตถั่วแระญี่ปุ่นทั้ง 2 ชุด มีคะแนนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยมีคะแนนความชอบโดยรวมอยู่ในช่วงเฉยๆ ถึงชอบเล็กน้อย เนื่องจากในถั่วแระญี่ปุ่นมีสารให้กลิ่นเฉพาะตัว (beany flavor) ทั้งนี้เม็ดบีดส์อัลจิเนตที่ห่อหุ้ม B. breve TISTR 2130 ในโยเกิร์ตถั่วแระญี่ปุ่นยังสามารถปกป้องและรักษาปริมาณจุลินทรีย์คงเหลือได้มากกว่า 6 log CFU/มิลลิลิตร ในระหว่าง การเก็บรักษาแบบแช่เย็น (4°C) เป็นระยะเวลา 10 วัน ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมผลิตภัณฑ์นมนานาชาติ (IDF) การศึกษาวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการห่อหุ้ม B. breve TISTR 2130 ด้วยอัลจิเนตเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการรักษาการรอดชีวิตในระบบทางเดินอาหารจำลองและระหว่างการเก็บรักษาในโยเกิร์ตถั่วแระญี่ปุ่น นอกจากนี้การเอนแคปซูเลชันสามารถนำไปใช้ห่อหุ้มโพรไบโอติกส์ในผลิตภัณฑ์อื่นๆ เพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ช่วยสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารและนำไปสู่การมีสุขภาพที่ดีต่อไปen_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631331003_กนกอร นาคหลง.pdfเอนแคปซูเลชันของ Bifidobacterium breve เพื่อส่งเสริมการรอดชีวิตของจุลินทรีย์ในโยเกิร์ตถั่วแระญี่ปุ่น4.62 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.