Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78873
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อังสนา อัครพิศาล | - |
dc.contributor.author | ละอองดาว สูงเนิน | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-09-14T12:02:16Z | - |
dc.date.available | 2023-09-14T12:02:16Z | - |
dc.date.issued | 2023-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78873 | - |
dc.description.abstract | Field survey and sample collection were conducted in the production area of tomato, marigold, eggplant, pepper, potato, tobacco, and cucumber from 8 provinces: Chiang Mai, Chiang Rai, Phrae, Nan, Ratchaburi, Chonburi, Ubon Ratchathani, and Nakhon Si Thammarat. These 46 isolates of pathogens were obtained from wilting symptoms. Pathogenicity tests in eggplant (Top Gun F1 hybrid) and pepper (Yok Thep hybrid) seedlings can be separated into three groups; 13 highly virulent isolates, 21 moderately virulent isolates, and 12 less virulent isolates. Moreover, the reaction on tobacco (Nicotiana tabacum L.) leaf was studied by infiltrating suspension of the pathogen into tobacco leaf and the results showed that all of the isolates developed necrosis or hypersensitivity reaction (HR). Phylotype analyses all of 46 isolates were determined by phylotype-specific multiplex PCR (Pmx-PCR) assay revealed that all isolates confirmed that R. solanacearum was classified as Phylotype I, sequevar 12, 13, 14, 15, 17, 34, and 47 which is a strain original from Asia corresponding based on partial endoglucanase (egl) and hypersensitive reaction and pathogenicity (hrpB) genes sequences. Biovar determination confirmed that 42 isolates belonged to biovar 3, while 2 isolates belonged to biovar 4, and 2 isolates were classified as biovar 2. The screening of eggplant for resistance to bacterial wilt selected 3 isolates of PE-N3, EPP26, and MA-CM52 for resistant evaluation in 9 eggplant cultivars under greenhouse conditions, tested in two periods of the season. In the summer season, which was tested in April-June 2021. Results showed that all 9 cultivars were susceptible to R. solanacearum isolates EPP26 and PE-N3, except EW-03925 cultivars, which showed resistance. The result tested in August-October 2021, most eggplant cultivars were susceptible to EPP26 isolate, except EW-03925. While eggplant cultivars, EW-03925, EW-03127, EW-04439, and EW-14403 are resistance to R. solanacearum isolate PE-N3. Moreover, the MA-CM52 isolate revealed that all nine eggplant cultivars showed resistance. In addition, 11 cultivars of pepper have been evaluated for resistance to 7 isolates including; PEP-FLP, PE-N3, PE-UB1-15, EP.NST10, EPP26, MA-CM52, and TOM-FLP. The results showed that only 2 cultivars of pepper; PE-23566 and PE-08041 were resistant to all 7 isolates of R. solanacearum. Then 3 cultivars of pepper; PE-08177, PE- 22128, and PE- 21228 are relatively resistant to bacterial wilt disease. Furthermore, the invasion of R. solanacearum on survival plants of eggplant after inoculation at 21 days in greenhouse conditions was examined. The resistant (EW-03925) and susceptible cultivars (EW-17271) to the isolate EPP26 observed the invasion of R. solanacearum in the stems. The results showed that in the resistant cultivar, the invasion was found only three parts of all nine parts of the stems, and counted the R. solanacearum as 1.0x105–2.5x105 cfu/ml. While the susceptible cultivar, R. solanacearum was found distributed throughout all nine parts of stems and the amount of R. solanacearum counted was 1.1x105–2.1x107 cfu/ml. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การประเมินความต้านทานโรคเหี่ยวเขียวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ในมะเขือยาว | en_US |
dc.title.alternative | Resistance evaluation of eggplant to bacterial wilt disease caused by Ralstonia solanacearum | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | โรคเหี่ยว | - |
thailis.controlvocab.thash | โรคพืช | - |
thailis.controlvocab.thash | แบคทีเรีย | - |
thailis.controlvocab.thash | มะเขือ -- โรคและศัตรูพืช | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ในการสำรวจและเก็บตัวอย่าง มะเขือเทศ ดาวเรือง มะเขือ พริก มันฝรั่ง ยาสูบ และ แตงกวา ที่แสดงอาการโรคเหี่ยวเขียว สามารถแยกเชื้อสาเหตุได้ทั้งหมด 46 ไอโซเลท จากพื้นที่ปลูก 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน ราชบุรี ชลบุรี อุบลราชธานี และนครศรีธรรมราช ได้ทดสอบความสามารถในการเกิดโรค และตรวจสอบความรุนแรงของเชื้อสาเหตุโดยปลูกเชื้อลงในต้นกล้ามะเขือยาวสายพันธุ์ท็อปกัน และต้นกล้าพริกหนุ่มเขียวสายพันธุ์หยกเทพ พบว่าเชื้อแบคทีเรีย ทั้ง 46 ไอโซเลท สามารถทำให้ต้นกล้ามะเขือยาวและพริก ที่นำมาทดสอบมีอาการเหี่ยว โดยแต่ละไอโซเลทมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถจัดกลุ่มไอโซเลทที่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงได้ 13 ไอโซเลท ความรุนแรงระดับปานกลางได้ 21 ไอโซเลท และความรุนแรงต่ำได้ 12 ไอโซเลท การทดสอบปฏิกิริยาตอบสนองแบบเฉียบพลันบนใบยาสูบ (Nicotiana tabacum L.) พบว่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคทำให้ใบยาสูบเกิดแผลไหม้มีสีน้ำตาลภายใน 24 ชั่วโมง บริเวณที่ฉีดเซลล์แขวนลอยเข้าไป การจัดจำแนก phylotype และ sequevar โดยเปรียบเทียบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมจากลำดับนิวคลีโอไทด์ที่จำเพาะกับยีน endoglucanase (egl) และ hypersensitive reaction and pathogenicity (hrpB) ของเชื้อทั้ง 46ไอโซเลท ด้วยเทคนิค phylotpye specific multiplex PCR (Pmx-PCR) พบว่าทุกไอโซเลทคือ R. solanacearum ถูกจัดอยู่ใน phylotype I และ sequevar 12, 13, 14, 15, 17, 34 และ47 ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุที่มีแหล่งกำเนิดจากทวีปเอเชีย จากการจำแนกไบโอวาร์ของเชื้อแบคทีเรีย R. solanacearum ด้วยคุณสมบัติการใช้น้ำตาลพบว่า 42 ไอโซเลท ถูกจัดอยู่ในไบโอวาร์ 3 ส่วนที่เหลือจำนวน 2 ไอโซเลท ถูกจัดจำแนกได้เป็นไบโอวาร์4 และอีกจำนวน 2 ไอโซเลท ถูกจัดจำแนกได้เป็นไบโอวาร์ 2 การประเมินความต้านทานโรคเหี่ยวเขียวในสายพันธุ์ มะเขือยาว จำนวน 9 สายพันธุ์ภายใต้สภาพโรงเรือนโดยเชื้อสาเหตุ 3 ไอโซเลท ได้แก่ PE-N3, EPP26 และ MA-CM52 ซึ่งทำการทดสอบใน 2 ช่วงฤดู พบว่าในช่วงฤดูร้อนทดสอบในเดือน เมษายน-มิถุนายน 2564 มะเขือยาวทั้ง 9 สายพันธุ์แสดงความอ่อนแอต่อเชื้อ R. solanacearum ไอโซเลท EPP26 ส่วนไอโซเลท PE-N3 พบว่ามะเขือยาวสายพันธุ์ EW-03925 แสดงความต้านทาน และเมื่อปลูกเชื้อ R. solanacearum ไอโซเลท MA-CM52 พบว่ามะเขือยาวทั้ง 9 สายพันธุ์ แสดงความต้านทาน เมื่อทดสอบปลูกเชื้อเพื่อการประเมินความต้านทานในช่วงฤดูฝนในเดือน สิงหาคม-ตุลาคม 2564 พบว่าส่วนใหญ่สายพันธุ์มะเขือยาวแสดงความอ่อนแอต่อเชื้อสาเหตุโรคไอโซเลท EPP26 ยกเว้นมะเขือยาวสายพันธุ์ EW-03925 และเมื่อทดสอบกับเชื้อไอโซเลท PE-N3 พบว่ามะเขือยาวสายพันธุ์ EW-03925, EW-03127, EW-04439 และ EW-14403 แสดงความต้านทาน ในขณะที่สายพันธุ์อื่นๆแสดงความอ่อนแอ เมื่อทดสอบกับเชื้อสาเหตุโรค ไอโซเลท MA-CM52 พบว่า สายพันธุ์มะเขือยาวทั้ง 9 สายพันธุ์ แสดงความต้านทานทั้งหมด นอกจากนี้ได้ทดสอบประเมินความต้านทานโรคเหี่ยวเขียวในพริกหนุ่มเขียวจำนวน 11 สายพันธุ์ โดยทดสอบปลูกเชื้อสาเหตุจำนวน 7 ไอโซเลท คือ PEP-FLP, PE-N3, PE-UB1-15, EP.NST10, EPP26, MA-CM52 และTOM-FLP จากผลการทดสอบพบว่ามีพริกหนุ่มเขียวเพียง 2 สายพันธุ์คือ PE-23566 และ PE-08041 แสดงความต้านทานต่อเชื้อ R. solanacearum ทั้ง7ไอโซเลท และพริกหนุ่มเขียวจำนวน 3 สายพันธุ์ คือ PE-08177, PE- 22128 และ PE-21228 ค่อนข้างต้านทานต่อโรคเหี่ยวเขียว หลังจากประเมินผลความต้านทานโรคในสภาพโรงเรือนที่ 21 วัน ต้นรอด (survival plant) ของมะเขือยาว สายพันธุ์ EW-03925 ซึ่งพบว่าแสดงความต้านทานโรค และสายพันธุ์ EW-17271 แสดงความอ่อนแอต่อเชื้อสาเหตุโรคไอโซเลท EPP26 ในสภาพโรงเรือนได้ถูกนำมาตรวจสอบการรุกราน (invasion) ของเชื้อ R. solanacearum ภายในลำต้นของมะเขือยาว พบว่าต้นรอดจากสายพันธุ์ต้านทานพบการรุกรานของเชื้อในลำต้นเพียง 3 ส่วน จากทั้งหมด 9 ส่วน และนับปริมาณของเชื้อ R. solanacearum ได้ 1.0x105–2.5x105 cfu/ml. ในขณะที่สายพันธุ์ที่แสดงความอ่อนแอ พบเชื้อ R. solanacearum กระจายทั่วทั้งลำต้นทั้ง 9 ส่วน และปริมาณของเชื้อ R. solanacearum ที่นับได้คือ 1.1x105–2.1x107 cfu/ml. | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620831022-ละอองดาว สูงเนิน.pdf | การประเมินความต้านทานโรคเหี่ยวเขียวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum ในมะเขือยาว | 6.28 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.