Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78871
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พีรพงศ์ จิตเสงี่ยม | - |
dc.contributor.author | โชติชนิต เทียนไชย | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-09-14T11:50:31Z | - |
dc.date.available | 2023-09-14T11:50:31Z | - |
dc.date.issued | 2023-05-22 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78871 | - |
dc.description.abstract | The growing issue of plastic waste is a problem faced by many countries worldwide, including Thailand. The Material Flow Analysis (MFA) Study of Plastic Wastes in Thailand in 2021 found that landfills in Thailand are one of the peroblem with approximately 1.5 million tons of plastic waste each year, most of which are disposable plastic products. These plastics can be categorized into four main types based on their polymer structure: polyethylene (PE), polystyrene (PS), polypropylene (PP), and polyethylene terephthalate (PET). As thermoplastics, these materials melt and become liquid when exposed to heat and solidify again when cooled, similar to the properties of asphalt cement. This makes it possible to incorporate plastic waste into hot mixed asphalt concrete using a dry mixing method with substitution. Plastic waste can act as a binding material in the asphalt cement. This article aims to provide a guideline for designing hot mix asphalt with plastic waste and to assess the performance of asphalt concrete containing plastic waste compared to conventional asphalt concrete. The study found that the appropriate amount of plastic waste can be determined in term of the plastic to binder ratio (PBR%) by weight. Additionally, the use of plastic waste in asphalt concrete reduced the amount of asphalt cement used compared to conventional asphalt concrete by 7%. The performance tests of asphalt concrete containing plastic waste mixture compared to the conventional type showed improved indirect tensile strength ratio 24.69%, resilient modulus 49.37%, dynamic creep resistance 59.88%, and indirect tensile fatigue test 27.73%. However, the skid resistance test using the British Pendulum Tester (BPT) method gave similar results to those of conventional asphalt concrete. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | - | en_US |
dc.title | การปรับปรุงการออกแบบส่วนผสมแบบมาร์แชลล์สำหรับแอสฟัลต์ชนิดผสมร้อนที่ถูกผสมด้วยขยะพลาสติกโดยวิธีการผสมแบบแห้ง | en_US |
dc.title.alternative | Modification of marshall mix design for hot mix asphalt mixed with plastic waste by dry mixing method | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ขยะพลาสติก | - |
thailis.controlvocab.thash | แอสฟัลต์ | - |
thailis.controlvocab.thash | วิศวกรรมโยธา | - |
thailis.controlvocab.thash | ผิวทางแอสฟัลต์คอนกรีต | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ปัจจุบันปัญหาขยะพลาสติกกำลังสร้างปัญหาให้กับหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย จากผลสำรวจของโครงการ Material Flow Analysis (MFA) Study of Plastic Wastes in Thailand ปี 2021 พบว่าขยะประเภทฝังกลบ (Land fills) ของประเทศไทยเป็นปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ คิดเป็นน้ำหนักปีละประมาณ 1.5 ล้านตัน ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วทิ้ง สามารถจำแนกตามโครงสร้างทางโพลีเมอร์ (Polymer) เป็นพลาสติกหลักๆ ได้ 4 ประเภท ได้แก่ โพลิเอทิลีน (Polyethylene, PE), โพลีสไตรีน (Polystyrene, PS), โพลีโพรพิลีน (Polypropylene, PP) และโพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terepthalate, PET) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) เมื่อเจอความร้อนจะหลอมเหลวอ่อนตัวลงมีสถานะเป็นของเหลว แต่เมื่ออุณหภูมิเย็นลงจะมีสถานะเป็นของแข็ง เช่นเดียวกับคุณสมบัติแอสฟัลต์ซีเมนต์ จึงทำให้สามารถนำขยะพลาสติกมาใช้งานร่วมกับการผลิตแอสฟัลต์คอนกรีตชนิดผสมร้อนด้วยวิธีการผสมแห้ง (Dry Mixing) ด้วยเทคนิคการแทนที่ (Replacement) ขยะพลาสติกในแอสฟัลต์ซีเมนต์ที่ทำหน้าที่เป็นวัสดุเชื่อมประสานได้ บทความนี้จึงเป็นการพัฒนาแนวทางการออกแบบแอสฟัลต์ชนิดผสมร้อนที่มีส่วนผสมของขยะพลาสติก และประเมินประสิทธิภาพของแอสฟัลต์คอนกรีตชนิดที่มีส่วนผสมของขยะพลาสติกเปรียบเทียบกับแอสฟัลต์คอนกรีตชนิดธรรมดา จากการศึกษาพบว่าสมการร้อยละอัตราส่วนขยะพลาสติกต่อแอสฟัลต์ซีเมนต์ (Plastic to Binder Ratio, PBR%)โดยน้ำหนัก สามารถใช้หาปริมาณขยะพลาสติกที่เหมาะสมสำหรับใช้ออกแบบแอสฟัลต์คอนกรีตชนิดที่มีส่วนผสมขยะพลาสติกได้ และยังทำให้การใช้ปริมาณแอสฟัลต์ซีเมนต์น้อยกว่าแอสฟัลต์คอนกรีตชนิดธรรมดาเท่ากับ 7% และ ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพของแอสฟัลต์คอนกรีตชนิดที่มีส่วนผสมขยะพลาสติกให้ค่าอัตราส่วนความเค้นดึงทางอ้อม (Indirect tensile strength ratio) มากกว่าชนิดธรรมดา เท่ากับ 24.69% , ค่าโมดูลัสการคืนตัว (Resilient Modulus) มากกว่าชนิดธรรมดา เท่ากับ 49.37%, ค่าความต้านทานต่อการเปลี่ยนรูปอย่างถาวร (Dynamic creep) มากกว่าชนิดธรรมดา เท่ากับ 59.88% และค่าความล้า (Indirect tensile fatigue test) มากกว่าชนิดธรรมดา เท่ากับ 27.73% แต่ค่าการทดสอบต้านทานการลื่นไถล (Skid Resistance) ทดสอบโดยวิธี British Pendulum Tester (BPT) ให้ค่าที่ไม่แตกต่างกันกับแอสฟัลต์คอนกรีตชนิดธรรมดา | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620631008 นายโชติชนิต เทียนไชย.pdf | 10.3 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.