Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78865
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเจิมขวัญ สังข์สุวรรณ-
dc.contributor.authorนภัสนันท์ ไชยเลิศen_US
dc.date.accessioned2023-09-14T01:09:44Z-
dc.date.available2023-09-14T01:09:44Z-
dc.date.issued2566-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78865-
dc.description.abstractThis research aims to study the effect of chitosan coating incorporated with vanillin and cinnamon oil on inhibiting Colletotrichum spp. and Fusarium spp. and quality changes of bananas in terms of biochemical, physical, and sensory during storage. This research composes of 4 parts, including Part 1: The study of the efficiency of vanillin and cinnamon oil (VC) and cinnamon oil (C) in inhibiting Colletotrichum spp. and Fusarium spp. by poisoned food bioassay technique and vapor phase diffusion technique. In poisoned food bioassay technique, plant extracts at concentrations of 20, 100, 200, and 1000 µL/L were tested and the results showed that VC and C at 100 µL/L could completely inhibit Colletotrichum spp. At 20 µL/L, C and VC inhibited Colletotrichum spp. by 38.98% and 42.33%, respectively. Therefore, vanillin enhances the inhibition effect of cinnamon in inhibiting Colletotrichum spp. In vapor phase diffusion technique, VC and C at a concentration of 100 µL were dropped on a filter paper with 9 cm diameter and placed on the Petri dish lid. This concentration could completely inhibit Colletotrichum spp. At 20 µL vapor, C and VC inhibited Colletotrichum spp. by 30.34% and 54.73%, respectively. This experiment demonstrates that vapor of VC at 20 µL is more effective in inhibiting Colletotrichum spp. compared with cinnamon vapor alone. In addition, 100 µL of VC and C completely inhibited Fusarium spp. At 20 µL/L, C and VC inhibited Fusarium spp. by 48.98% and 6.65%, respectively. This reveals that C at 20 µL/L is more effective than VC. In vapor phase diffusion technique, the use of 100 µL VC dropped on a filter paper could completely inhibit Fusarium spp. While 20 µL C and VC vapor inhibited Fusarium spp. 8.60% and 50.68% respectively. The results indicate that VC vapor had greater efficacy in inhibiting Fusarium spp. From GC-MS analysis, the main constituents of cinnamon oil consist of 3-allyl-2-methoxy phenol, benzoyl benzoate, caryophyllene, acetyl eugenol, trans-cinnamyl acetate, β-linalool, cinnamaldehyde, and safrole. While the principal components of vanillin mixed with cinnamon oil contained benzaldehyde and 3-hydroxy-4-methoxy, which were the compositions of vanillin. Both constituents exhibited inhibitory effect against Colletotrichum spp. and Fusarium spp. Therefore, chitosan film mixed with vanillin and cinnamon oil had more effectiveness in inhibiting Colletotrichum spp. and Fusarium spp. Part 2: Properties of chitosan coating incorporated with VC and C. The results showed that VC significantly increased viscosity of chitosan and pH values of chitosan coating solutions were in the range of 6-6.5. The chitosan coating combined with VC exhibited a higher binding ability percentage on banana peel when compared to both chitosan coating and chitosan coating combined with C. Part 3: Properties of chitosan coating film. The chitosan coating was formed into film sheets including chitosan film (CH), chitosan film incorporated with vanillin and cinnamon oil (CHCV), and chitosan film incorporated with cinnamon oil (CHC). All films were tested in term of thickness, color, microscopic structure, vapor permeability, gas permeability, and chemical structure. It was found that adding vanillin and cinnamon oil into the chitosan coating increased the thickness of the film and affected the film color. Films containing plant extracts tended to turn yellow. The surfaces of the banana peel coated with all film formulations were smoother than the uncoated peel. The chitosan film and the chitosan film incorporated with vanillin and cinnamon oil had a rougher surface compared with chitosan film incorporated cinnamon oil. The water vapor permeability values among all three film formulas were comparable. The chitosan film exhibited the highest vapor permeability at 0.62±0.03 g mm/m2 h kPa, and its permeability slightly decreased when vanillin and cinnamon oil were added. The CHCV had the lowest vapor permeability at 0.29±0.05 g mm/m2 h kPa. This might be due to the molecular interaction of vanillin in chitosan matrix and the aldehyde group (CHO) of vanillin interacting with the amino group (NH2) of chitosan, resulting in the formation of an amino acid (NC) and a hydroxymethyl group (CH2OH) of chitosan. The gas permeability test revealed that CHCV had the lowest permeability at 0.65±0.13 cm3/m2x 24 hrs, followed by the CHC (0.72±0.02 cm3/m2x 24 hrs), and the chitosan film (0.87±0.08 cm3/m2x 24 hrs). The reduction of gas permeability value of CHCV might be attributed to the interactions of vanillin and cinnamon oil in chitosan matrix. When analyzing the chemical composition of CH, CHC, and CHCV using FTIR technique, the FT-IR spectra of CH, CHC, CHCV exhibited characteristic peaks for CH stretching vibrations at 3046.98 cm-1 (CH), 3027.69 cm-1 (CHC) and 3026.73 cm-1 (CHVC) Adsorption bands were in the range of 3000-3600 cm-1 due to the stretching vibration of N-H and OH functional groups of chitosan. Adding cinnamon oil into chitosan film showed the changes of the band at 3046.98 cm-1 (CH) to 3027.69 cm-1 (CHC) (-OH and -NH2 stretching), and observed a new peak at 1746.23 cm-1, which indicated the presence of carbonyl group C=O. This suggests the interaction of cinnamon oil components. When vanillin was added to a chitosan film, the new peak at 1215.9 cm-1 appeared which indicated the formation of the hydroxyl group of vanillin. Part 4: Evaluation of physicochemical and sensorial qualities of ripe bananas. The coating had done in 2 ways; whole fruit coating and calyx coating and stored at 25 ºC. Quality parameters were measured including; weight loss, decay, total soluble solids, respiration rate, peel color, malic acid content, and ethylene production. Calyx coating with chitosan incorporated with vanillin and cinnamon oil at 20 µL/L resulted in lower weight loss compared with control treatment over 14 days. No fungal growth was observed on the bananas treated with CHCV Calyx coated bananas with chitosan incorporated with vanillin and cinnamon oil started ripening on days 12-14, whereas the control treatment began ripening on day 6. Chitosan coated banana had significantly lower amounts of water soluble solid than control. Chitosan coating enhanced the respiration rate of bananas. Calyx coated bananas with chitosan incorporated with vanillin and cinnamon oil gradually increased in titratable acidity compared to untreated bananas. This indicates that calyx coating with chitosan incorporated with vanillin and cinnamon oil can extend the shelf life of bananas. However, in whole fruit coating with chitosan incorporated with vanillin and cinnamon showed the delay in ripening and then decay. Calyx coated bananas with chitosan incorporated with vanillin and cinnamon oil also showed the gradually increase in ethylene content, with the ethylene peak occurring on day 12, compared to the control bananas which reached the peak on day 6. In sensory test, the preference scores of appearance, aroma, and taste were consistent in the same direction. Banana coated at the calyx with CHVC had yellow peel with acceptable brown spots. Whole fruit coating exhibited burnt brown peel with bruising marks after 1 day storage, resulting in unacceptable appearance scores. Calyx coated bananas with CHVC at 20 µL per 20 ml of the coating solution can extend the shelf life for 14 days at 25 ºC with acceptable sensory characteristics.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectไคโตซาน วานิลลิน น้ำมันอบเชย กล้วยหอม การเคลือบen_US
dc.titleผลของการเคลือบกล้วยด้วยไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยต่อการยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. และ Fusarium spp. และการเปลี่ยนแปลงคุณภาพของกล้วยen_US
dc.title.alternativeEffect of chitosan coating incorporated with vanillin and cinnamon oil on inhibiting colletotrichum spp. and fusarium spp. and quality changes of bananaen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashกล้วย-
thailis.controlvocab.thashไคโตแซน-
thailis.controlvocab.thashวานิลลิน-
thailis.controlvocab.thashอบเชย-
thailis.controlvocab.thashสารสกัดจากพืช-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ไคโตซานผสมสารสกัดจากพืช ได้แก่วานิลลินผสมน้ำมันอบเชยและน้ำมันอบเชยเพียงอย่างเดียวต่อการยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. และ Fusarium spp. และการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางเคมี กายภาพ และคุณภาพทางประสาทสัมผัสของกล้วยในระหว่างเก็บรักษาโดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การศึกษาประสิทธิภาพของวานิลินและ น้ำมันอบเชยต่อการยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. และ เชื้อ Fusarium spp. โดยผสมในอาหารเลี้ยงเชื้อโดยตรงและการใช้ในรูปแบบไอระเหย ที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตร 100 ไมโครลิตร 200 ไมโครลิตร 1000 ไมโครลิตร พบว่า ในวันที่ 8 ของการทดลอง วานิลลินผสมน้ำมันอบเชยและน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 100 ไมโครลิตรในอาหารเลี้ยงเชื้อ 1 ลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. ได้อย่างสมบูรณ์หรือ 100 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตร/ลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. 38.98 เปอร์เซ็นต์ และวานิลลินผสมน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตร/ลิตรสามารถยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. 42.33 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่า การใช้วานิลลินผสมในน้ำมันอบเชย 20 ไมโครลิตร/ลิตร ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. ส่วนการทดสอบโดยวิธีใช้ไอระเหย ในวันที่ 8 ของการทดลองพบว่า วานิลลินผสมน้ำมันอบเชยและน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 100 ไมโครลิตรหยดลงบนกระดาษกรองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เซนติเมตร และนำไปติดบนฝาจานเพาะเชื้อ สามารถยับยั้ง เชื้อ Colletotrichum spp. ได้อย่างสมบูรณ์หรือ 100 เปอร์เซ็นต์ไอน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตรสามารถยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. 30.34 เปอร์เซ็นต์ และ ไอวานิลลินผสมน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. 54.73 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่า ไอวานิลลินผสมน้ำมันอบเชย 20 ไมโครลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. สูงกว่าไอน้ำมันอบเชย 20 ไมโครลิตร เพียงอย่างเดียว ส่วนการทดสอบการยับยั้งเชื้อ Fusarium spp. โดยวิธีผสมสารสกัดจากพืชในอาหารเลี้ยงเชื้อโดยตรงพบว่า ในวันที่ 8 การใช้ วานิลลินผสมน้ำมันอบเชยและน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 100 ไมโครลิตรผสมในอาหารเลี้ยงเชื้อ 1 ลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Fusarium spp. ได้อย่างสมบูรณ์ หรือ 100 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตร/ลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Fusarium spp. 48.98 เปอร์เซ็นต์ และวานิลลินผสมน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตร/ลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Fusarium spp. 6.65 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่า น้ำมันอบเชย 20 ไมโครลิตร/ลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Fusarium spp. สูงกว่าวานิลลินผสมน้ำมันอบเชย 20 ไมโครลิตร/ลิตร ส่วนการทดสอบโดยวิธีใช้ไอระเหยในวันที่ 8 ของการทดลองพบว่าการใช้วานิลลินผสมน้ำมันอบเชยและน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 100 ไมโครลิตรหยดลงบนกระดาษกรองขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 9 เซนติเมตร และนำมาติดบนฝาจานเพาะเชื้อสามารถยับยั้งเชื้อ Fusarium spp. ได้อย่างสมบูรณ์หรือ 100 เปอร์เซ็นต์ ไอน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Fusarium spp. 8.60 เปอร์เซ็นต์ และไอวานิลลินผสมน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตร สามารถยับยั้งเชื้อ Fusarium spp. 50.68 เปอร์เซ็นต์ แสดงให้เห็นว่า ไอวานิลลินผสมน้ำมันอบเชย 20 ไมโครลิตร มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อ Fusarium spp. สูงกว่าไอน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตรโดยองค์ประกอบหลักของ น้ำมันอบเชยประกอบด้วย 3-allyl-2-methoxy phenol ,Benzoyl benzoate, Caryophyllene, Acetyl eugenol, Trans-cinnamyl acetate, β-linalool, Cinnamaldehyde, Safrole ในขณะที่องค์ประกอบหลักของวานิลลินผสมน้ำมันอบเชยต่างจากน้ำมันอบเชย คือ สาร Benzaldehyde ,3-hydroxy-4-methoxy ซึ่งเป็นสารที่พบในวานิลลิน และสารทั้งสองยังพบองค์ประกอบทางเคมีที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อ Colletotrichum spp. และเชื้อ Fusarium spp. เมื่อนำสารสกัดจากพืชทั้ง 2 ชนิดมาผสมกับไคโตซานและขึ้นรูปเป็นฟิล์มและทดสอบประสิทธิภาพของฟิล์มไคโตซานในการยับยั้ง Colletotrichum spp. และเชื้อ Fusarium spp. พบว่า ฟิล์มไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยสามารถยับยั้งเชื้อColletotrichum spp. และเชื้อ Fusarium spp. ได้ดีที่สุด ส่วนที่ 2 เป็นการศึกษาสมบัติสารเคลือบไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยจากผลการวิจัยพบว่าสารเคลือบที่มีการเติมวานิลลินผสมน้ำมันอบเชยจะมีความหนืดเพิ่มมากขึ้นและมีค่าความกรดด่างอยู่ในช่วง 6-6.5 สารเคลือบไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยมีแนวโน้มลอกจากผิวกล้วยได้ง่ายที่สุดเมื่อเทียบกับ สารเคลือบไคโตซานและสารเคลือบไคโตซานผสมน้ำมันอบเชย ส่วนที่ 3 เป็นการทดสอบสมบัติของสารเคลือบโดยขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์ม ได้แก่ ฟิล์มไคโตซาน ฟิล์มไคโตซานผสมวานิลินและอบเชยและฟิล์มไคโตซานผสมอบเชย โดยทำการทดสอบความหนา ค่าสีของฟิล์ม โครงสร้างทางจุลภาคของฟิล์มเคลือบผิว การซึมผ่านของไอน้ำ การซึมผ่านของก๊าซและโครงสร้างทางเคมี พบว่าการเติมวานิลลินผสมน้ำมันอบเชยและน้ำมันอบเชยจะทำให้ฟิล์มหนาขึ้น และส่งผลต่อสีของฟิล์ม ฟิล์มที่มีการเติมสารสกัดจากพืชจะมีสีในโทนสีเหลือง ลักษณะพื้นผิวของเปลือกกล้วยที่ผ่านการเคลือบจะมีผิวที่เรียบกว่าไม่เคลือบ โดยฟิล์มไคโตซานกับฟิล์มที่มีการเติมวานิลลินผสมน้ำมันอบเชยมีลักษณะขุรขระมากกว่า การทดสอบการซึมผ่านของไอน้ำของฟิล์มทั้ง 3 สูตรมีค่าใกล้เคียงกันพบว่า ฟิล์มไคโตซานมีค่าการซึมผ่านไอน้ำมากที่สุดคือ 0.62±0.03 g mm/m2 h kPa ค่าการซึมผ่านไอน้ำลดลง เมื่อมีการเติมวานิลลินและน้ำมันอบเชย ฟิล์มไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยค่าการซึมผ่านของไอน้ำที่ต่ำที่สุดคือ 0.29±0.05 g mm/m2 h kPa อาจเนื่องมาจากโมเลกุลของวานิลลินเข้าไปในไคโตซานเมทริกซ์ และหมู่อัลดีไฮด์ (CHO) ของ วานิลลินสร้างปฏิสัมพันธ์กับหมู่อะมิโนของไคโตซาน (NH2) เกิดเป็นกรดอะมิโน (NC) และ ไฮดรอกซีเมทิล (CH2OH) ของ ไคโตซาน การทดสอบค่าการซึมผ่านของก๊าซพบว่า ฟิล์มไคโตซานผสมวานิลินและน้ำมันอบเชย 0.65±0.13 cm3/m2x 24 hrs มีการซึมผ่านของก๊าซต่ำที่สุดรองลงมาคือฟิล์มไคโตซานผสมน้ำมันอบเชย (0.72±0.02 cm3/m2x 24 hrs) และฟิล์มไคโตซาน (0.87±0.08 cm3/m2x 24 hrs) ค่าการซึมผ่านของก๊าซของฟิล์มไคโตซานผสมวานิลินและน้ำมันอบเชยมีค่าลดลง อาจเนื่องมาจากวานิลลินและน้ำมันอบเชยเข้าไปแทรกและแพร่กระจายอยู่ระหว่างโครงสร้างตาข่ายของฟิล์มไคโตซานจึงเกิดปฏิสัมพันธ์กับเมทริกซ์ของฟิล์มไคโตซาน เมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของฟิล์มไคโตซาน (CH) ฟิล์มไคโตซานผสมน้ำมันอบเชย (CHC) ฟิล์มไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชย (CHCV) พบว่า ฟิล์มทั้งสามชนิดพบตำแหน่ง wavenumber ของ CH อยู่ที่ 3046.98 cm-1 CHC ที่ 3027.69 cm-1 และ CHCV ที่ 3026.73 cm-1 อยู่ในช่วง 3000-3600 cm-1 แสดงถึงการสั่นของหมู่ฟังก์ชัน N-H และ OH stretching ของ ในโครงสร้างของไคโตซาน เมื่อเติมน้ำมันอบเชยลงเป็นในฟิล์มจะเห็นได้ว่ากราฟ CHC พบการเลื่อนของพีค 3 ตำแหน่ง ได้แก่ที่ 3046.98 cm-1 (CH) ไปที่ 3027.69 cm-1 (CHC) คือตำแหน่งของหมู่ฟังก์ชัน N-H และ OH stretching และเกิดพีคใหม่ที่ตำแหน่ง 1746.23 cm-1 ซึ่งเป็นตำแหน่งของกลุ่มคาร์บอนิล C=O แสดงให้เห็นว่าถึงองค์ประกอบของน้ำมันอบเชย เมื่อเติมวานิลลินและน้ำมันอบเชยจะเห็นได้ว่ากราฟ CHCV พบโครงสร้างของไคโตซานและน้ำมันอบเชยในกราฟพบ พีคใหม่ที่ตำแหน่ง 1215.9 cm-1 ซึ่งแสดงถึงกลุ่มไฮดรอกซิลฟีนอลิกของวานิลลิน ส่วนที่ 4 เป็นการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพทางกายภาพ เคมี และคุณภาพทางประสาทสัมผัสของกล้วยหอมที่ผ่านการเคลือบผิวและเคลือบขั้วในระหว่างการเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ในด้านการสูญเสียน้ำหนัก การเข้าทำลายเชื้อรา ปริมาณของแข็งทั้งหมดที่ละลายในน้ำ อัตราการหายใจ สีเปลือกกล้วยหอม ปริมาณกรดเทียบกับกรดมาลิก ปริมาณเอทิลีน คุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า การเคลือบที่ขั้วโดยไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตรต่อสารเคลือบ 20 มิลลิลิตร มีค่าการสูญเสียน้ำหนักน้อยกว่าและช้ากว่าชุดการทดลองในระยะเวลา 14 วันไม่พบการขึ้นของเชื้อบนกล้วยหอม กล้วยหอมเคลือบที่ขั้วโดยไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชย เริ่มสุกในวันที่ 12-14 ในขณะที่ชุดควบคุมเริ่มสุกในวันที่ 6 การเคลือบไคโตซานมีค่าปริมาณของแข็งที่ละลายในน้ำน้อยกว่ากล้วยหอมควบคุมและมีค่าแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ การเคลือบด้วยไคโตซานระหว่างการเก็บรักษาช่วยเพิ่มอัตราการหายใจของกล้วยหอม การเคลือบบริเวณขั้วโดยไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยมีค่ากรดมาลิกเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ เมื่อเทียบกับกล้วยหอมที่ไม่ถูกเคลือบ ซึ่งบ่งชี้ว่าการเคลือบกล้วยหอมบริเวณขั้วโดยไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยสามารถยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมได้ ในขณะที่กล้วยหอมเคลือบผิวโดยไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยไม่เกิดการสุกแต่เกิดการเน่าเสียแทน การเคลือบ กล้วยหอมบริเวณขั้วโดยไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยมีอัตราการเพิ่มขึ้นของเอทิลีนที่ช้าที่สุดซึ่งเกิดพีคเอทิลีนสูงสุดในวันที่ 12 เมื่อเทียบกับกล้วยชุดควบคุมซึ่งมีอัตราการเพิ่มขึ้นของเอทิลีนที่รวดเร็วและเกิดพีคเอทิลีนสูงสุดในวันที่ 6 ส่วนการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส พบว่า คะแนนความชอบ ด้านลักษณะปรากฎ กลิ่น และรส ให้ผลในทิศทางเดียวกัน กล้วยหอมเคลือบบริเวณขั้วด้วยไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยมีลักษณะผิวกล้วยเป็นสีเหลืองและมีจุดสีน้ำตาลอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ส่วนกล้วยหอมที่เคลือบบริเวณผลทุกการทดลองเกิดสีน้ำตาลไหม้และรอยช้ำที่ผิวหลังผ่านการเคลือบเพียง 1 วันจึงทำให้มีคะแนนด้านลักษณะปรากฏต่ำกว่าเกณฑ์ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเคลือบที่ขั้วโดยไคโตซานผสมวานิลลินและน้ำมันอบเชยที่ความเข้มข้น 20 ไมโครลิตรต่อสารเคลือบ 20 มิลลิลิตรสามารถยืดอายุการเก็บรักษากล้วยหอมได้ 14 วันที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส และได้รับการยอมรับของผู้บริโภคมากที่สุดen_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611331010 นภัสนันท์ ไชยเลิศ.pdf3.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.