Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78861
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorSupawadee Putthinoi-
dc.contributor.advisorSuchitporn Lersilp-
dc.contributor.advisorHsiu-Yun Hsu-
dc.contributor.authorAutchariya Punyakaewen_US
dc.date.accessioned2023-09-13T01:26:27Z-
dc.date.available2023-09-13T01:26:27Z-
dc.date.issued2023-06-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78861-
dc.description.abstractThailand has become a completely ageing society as the global population trends. The increasing proportion of older Thai population in Thailand has had an impact on Thai society, economy, and public health. The increasing age of older people causes an increase in their degeneration, resulting in increased demand for health care. Therefore, all sectors that provide services for the elderly should be prepared to support the transition to a super-aged society. Nowadays, technology and innovation are used more frequently to promote the health of older people. While this is ongoing, Occupational therapy services play an important role in promoting and supporting the elderly to have a good quality of life, well-being, and the potential to perform their activities of daily living independently. Utilizing the advantages of technology can improve the efficiency of occupational therapy services. Technology can be utilized to facilitate both assessment and processing of recommendations for active ageing that precisely and accurately reflect the concept of occupational therapy. This study was on a research and development design. The objectives were as follows: 1) to develop a measurement of active ageing for older people; 2) to develop a decision support system (DSS) to enhance active ageing for older people; and 3) to test the inter-rater reliability of a web-based active ageing measurement and the usability testing of the DSS. The study was divided into three phases. Phase I was to develop a measurement of active ageing for older people. There were two steps in this phase: 1) review of the methods for measuring an active ageing index under the concept of the World Health Organization at national and international levels from 2013 to 2020; and 2) psychometric property testing in terms of content validity and reliability. Content validity was investigated by five experts, consisting of two occupational therapists, one doctor, one nurse, and one social worker. The results showed an index of item objective congruence of between 0.90 and 1.00. Internal consistency and test-retest reliability were tested for reliability by thirty elderly people at the service center of Nongpakrang municipality, Mueang district, Chiang Mai province. The results showed that Cronbach’s alpha coefficient was 0.77 and Pearson’s correlation coefficient was 0.89. Then, the active ageing measurement was investigated the active ageing level in two hundred older people who lived in three communities: 1) Mueang municipality, Mueang district; 2) Sannameng municipality, Sansai district; and 3) Kewlaeluang village, Yuwa sub-district, Sanpatong district, Chiang Mai province. The finding revealed that thirty-two older people had a high active ageing level (Active Ageing Index: AAI = 0.82), one hundred older people had a moderate level (AAI = 0.77) and none of the older people had a low level. Phase II was the development of a DSS consisting of two steps: the development of sets of recommendations and the development of a web-based DSS. To develop sets of recommendations, a qualitative method was utilized to interview seventeen experts, including occupational therapists and older people in Chiang Mai province. The Data were analyzed using thematic analysis. Then, the analyzed data were integrated with the conceptual framework of occupational therapy, which was the Person-Environment-Occupation (PEO) model to obtain 12 sets of recommendations (300 items). The step of designing and developing the web-based DSS. The system requirement was explored using the interview method with eight occupational therapists. This system requirement consisted of seven parts, as follows: 1) login page; 2) main page; 3) register page; 4) active ageing measurement; 5) decision-making for older people; 6) the OT recommendation system; and 7) export information. Then a decision support system was developed by the software engineering team. After the development of the web-based DSS was completed, it was then brought to occupational therapists for trial with older people. The web-based DSS was improved by following user feedback to satisfy their demands for better completeness. The system performs analysis to generate recommendations for encouraging active ageing for each individual older person. Phase III was the testing of the inter-rater reliability of the web-based active ageing measurement and usability testing of the web-based DSS. The inter-rater reliability was examined by five occupational therapists using the web-based active ageing measurement to calculate intraclass correlation coefficient (ICC). The ICC value was 0.97, indicating very high reliability. The usability of the web-based DSS was tested by thirty occupational therapists in Chiang Mai, each of whom tried it out for five cases within five weeks. The effectiveness of the web-based DSS was investigated using the System Usability Scale (SUS). The result was found that the SUS score was 80.41, indicating that the web-based DSS had excellent usability in terms of effectiveness, efficiency, and satisfaction. The web-based DSS was developed as a result of this study. It is an innovative development to support occupational therapy services for promoting and supporting the active ageing of older people. This innovation can encourage older people to have the potential to perform daily life activities from an occupational therapy perspective. The system utilizes processing to provide recommendations specific to each older person. In summary, the web-based DSS is an innovation that occupational therapists can use efficiently in providing occupational therapy services in terms of promotion and prevention.en_US
dc.language.isoenen_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectactive ageingen_US
dc.subjectolder peopleen_US
dc.subjectdecision support systemen_US
dc.subjectoccupational therapyen_US
dc.titleThe Development of decision support system to promote active ageing for older peopleen_US
dc.title.alternativeการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อส่งเสริมพฤฒพลังในผู้สูงอายุen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.lcshOlder people-
thailis.controlvocab.lcshOld age-
thailis.controlvocab.thashOccupational therapy-
thesis.degreedoctoralen_US
thesis.description.thaiAbstractประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์เช่นเดียวกับสถานการณ์ของประชากรโลก สัดส่วนจำนวนประชากรผู้สูงอายุไทยที่เพิ่มมากขึ้นย่อมส่งผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งด้านสาธารณสุข อายุที่เพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุส่งผลต่อความเสื่อมถอยของร่างกายทำให้ในวัยสูงอายุจึงมีความต้องการดูแลสุขภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนั้นทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการให้บริการผู้สูงอายุควรเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุมากขึ้น ในขณะเดียวกันงานบริการทางกิจกรรมบำบัดมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุเป็นผู้สูงวัยที่มีคุณภาพชีวิตดีและมีภาวะสุขสมบูรณ์ รวมทั้งมีศักยภาพสามารถพึ่งพาตนเองในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ การนำประโยชน์ของเทคโนโลยีมาใช้ในงานกิจกรรมบำบัดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานบริการได้ดีขึ้น เทคโนโลยีสามารถนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งประเมินและประมวลผลในการให้คำแนะนำส่งเสริมการสูงวัยอย่างมีพลังได้อย่างแม่นยำและถูกต้องตามแนวคิดของกิจกรรมบำบัด การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยดังนี้ 1) พัฒนาแบบวัดการสูงวัยอย่างมีพลังสำหรับผู้สูงอายุ และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด 2) พัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อส่งเสริมการสูงวัยอย่างมีพลัง 3) ทดสอบความเชื่อมั่นระหว่างผู้ใช้ของแบบวัดฯ ที่อยู่ในรูปแบบเว็บเบส และทดสอบความสามารถในการใช้งานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ฯ การศึกษาในครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาแบบวัดการสูงวัยอย่างมีพลังสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งในระยะนี้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การทบทวนการวัดระดับพฤฒพลังภายใต้กรอบแนวคิดขององค์การอนามัยโลกในระดับชาติและนานาชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 ถึง 2563 และ 2) การตรวจสอบคุณภาพของแบบวัด ฯ ในด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่น หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน ประกอบด้วย นักกิจกรรมบำบัดจำนวน 2 คน แพทย์จำนวน 1 คน นักสังคมสงเคราะห์จำนวน 1 คน และพยาบาลจำนวน 1 คน พบว่าค่าความเที่ยงตรงของแบบวัด ฯ อยู่ในระหว่าง 0.90-1.00 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบวัด ฯ ได้แก่ การวัดความสอดคล้องภายในและการทดสอบซ้ำในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน ในศูนย์บริการผู้สูงอายุหนองป่าครั่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคมีค่าเท่ากับ 0.77 และการทดสอบซ้ำโดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันมีค่าเท่ากับ 0.89 หลังจากนั้นได้นำแบบวัด ฯ ไปใช้ในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุจำนวน 200 คน ใน 3 พื้นที่ได้แก่ 1) เทศบาลเมือง อำเภอเมือง 2) เทศบาลตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย และ 3) บ้านกิ่วแลหลวง ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พบว่าผู้สูงอายุที่มีระดับพฤฒพลังสูง จำนวน 32 คน (ค่าดัชนีพฤฒพลังเฉลี่ย เท่ากับ 0.82) ผู้สูงอายุที่มีระดับพฤฒพลังปานกลาง จำนวน 168 คน (ค่าดัชนีพฤฒพลังเฉลี่ย เท่ากับ 0.77) และไม่มีผู้สูงอายุที่มีระดับพฤฒพลังต่ำ ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ฯ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนได้แก่ การพัฒนาชุดคำแนะนำและการพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ฯ ในรูปแบบเว็บเบส ในขั้นตอนการพัฒนาชุดคำแนะนำใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ซึ่งประกอบไปด้วย นักกิจกรรมบำบัดและผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ จากนั้นนำข้อมูลมาบูรณาการร่วมกับกรอบแนวคิดทางกิจกรรรมบำบัด บุคคล-สิ่งแวดล้อม-กิจกรรมการดำเนินชีวิต ได้ชุดคำแนะนำ ทั้งสิ้น 12 ชุด จำนวน 300 ข้อ ในขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจฯ ให้อยู่ในรูปแบบเว็บเบส ผู้วิจัยศึกษาความต้องการการใช้งานระบบด้วยวิธีการสัมภาษณ์นักกิจกรรมบำบัดจำนวน 8 คน พบความต้องการใช้ระบบประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หน้าเข้าสู่ระบบ 2) หน้าหลัก 3) หน้าลงทะเบียน 4) แบบวัดพฤฒพลังของผู้สูงอายุ 5) การตัดสินใจสำหรับผู้สูงอายุ 6) ระบบให้คำแนะนำสำหรับนักกิจกรรมบำบัด และ 7) หน้าส่งออกข้อมูล จากนั้นจึงนำมาพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ฯ ในรูปแบบเว็บเบสโดยทีมวิศวกรซอฟต์แวร์ เมื่อพัฒนาระบบเสร็จสิ้นแล้วจึงนำมาให้นักกิจกรรมบำบัดทดลองใช้กับผู้สูงอายุ จากนั้นนำข้อเสนอแนะที่ได้จากการใช้งานมาปรับปรุงเพื่อให้ได้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ฯ ตามความต้องการของผู้ใช้ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โดยโปรแกรมทำการประมวลผลเพื่อให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมการสูงวัยอย่างมีพลังให้แก่ผู้สูงอายุในแต่ละรายอย่างเฉพาะเจาะจง ระยะที่ 3 เป็นการทดสอบความเชื่อมั่นระหว่างผู้ประเมินของแบบวัด ฯ ที่อยู่ในรูปแบบเว็บเบสและทดสอบความสามารถในการใช้งานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ฯ ในขั้นตอนการทดสอบความน่าเชื่อถือระหว่างผู้ใช้โดยให้นักกิจกรรมบำบัดจำนวน 5 คนใช้แบบวัด ฯ ในรูปแบบเว็บเบสและคำนวนหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นได้ค่า 0.97 บ่งชี้ว่ามีความเชื่อถือระดับดี สำหรับขั้นตอนทดสอบความสามารถในการใช้งานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจฯ โดยให้นักกิจกรรมบำบัดในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คนแต่ละคนนำไปใช้งานกับผู้สูงอายุจำนวน 5 คน ภายในระยะเวลา 5 สัปดาห์ จากนั้นจึงทำการประเมินความสามารถในการใช้งานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจฯ พบว่า มีค่าคะแนนของ System Usability Scale เท่ากับ 80.41 ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าระบบสนับสนุนการตัดสินใจฯ สามารถใช้งานได้ง่ายในระดับดีเยี่ยม ทั้งในแง่ของประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจในการใช้งานระบบ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ฯ ได้พัฒนาขึ้นจากงานวิจัยในครั้งนี้ ซึ่งเป็นการพัฒนานวัตกรรมในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดสำหรับส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุสูงวัยอย่างมีคุณภาพ นวัตกรรมนี้ช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวันตามมุมมองของกิจกรรมบำบัด โปรแกรมทำการประมวลผลและให้คำแนะนำผู้สูงอายุได้เฉพาะเจาะจงกับผู้สูงอายุแต่ละคน กล่าวคือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ฯ เป็นนวัตกรรมสำหรับนักกิจกรรมบำบัดเพื่อนำมาใช้ในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดได้อย่างมีประสิทธิภาพในมุมมองการส่งเสริมและป้องกันen_US
Appears in Collections:AMS: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621115901-AUTCHARIYA PUNYAKAEW.pdf8.3 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.