Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78850
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ประทานทิพย์ กระมล | - |
dc.contributor.advisor | นัทธมน ธีระกุล | - |
dc.contributor.advisor | บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล | - |
dc.contributor.author | ภัทราวดี กันตี | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-09-12T00:54:12Z | - |
dc.date.available | 2023-09-12T00:54:12Z | - |
dc.date.issued | 2566-06 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78850 | - |
dc.description.abstract | The purpose of this research was to study the agricultural product management system throughout the value chain of farmers' groups, to analyse the profitability of marketing management, and to assess the change in livelihood assets of members and non-members of a farmers' group in Na Noi District, Nan Province. Data were collected from a focus group of community agribusiness groups that were operational between 2015 and 2019, namely, the organic agriculture community enterprises (Pumpkin), the mango collaborative group and the eggplant group. In-depth interviews were used to collect data from 225 farmers, consisting of 111 farmers who were members of the farmers' group and 114 farmers who were not members of the farmers' group. To evaluate the impact of the changes in livelihood capital from participation in community business groups, the management system of the group under the value chain framework, the group's marketing profitability based on the gross profit margin and farmers' share of benefits, and the achievements of individual farmers were analysed using the Difference in Differences (DID) method. The Propensity Score Matching (PSM) method was used to match groups of member farmers and non-member farmers. Results of the study of the agricultural product management system throughout the value chain of farmers' groups showed that the organic agriculture community enterprise (Pumpkin) has an entrepreneurial structure involving selling seeds, buying produce, and processing, transporting and distributing products to the destination market. The mango collaborative group has group management in educating production, negotiates purchase prices and purchase quantities with the purchase market, and collects and controls the quality of produce as determined by the market. The eggplant group manages the entire value chain; they procure and sow quality seeds and produce seedlings for sale to group members, disseminate manufacturing knowledge, liaise with the market, and collect and transport produce to the destination market. The organic agriculture community enterprise (pumpkin) had the highest gross profit margin from marketing management at 62 percent and had a share of the interests of farmers at 38 percent. The mango collaborative group had a gross profit margin from marketing management of 2 percent and a share of farmers' interests of 98 percent. The eggplant group had a gross profit margin from marketing management of 3 percent and a share of farmers' interests of 97 percent. The results of a survey of farmers who joined the farmers' group and those who did not join the farmers' group were conducted in 2015 and again in 2019 to study the changes in livelihood capital between these two cohorts of farmers. In 2015, it was found that the farmers who were members of the group had lower human capital, natural capital, social capital and physical capital; while in 2019, there was no difference between the two groups of farmers in the five aspects of living capital, except natural capital where the farmers who were members of the group still had lower natural capital. The results of a Difference in Differences analysis of the impact of the change on livelihood assets from being a member of a community agribusiness group confirmed that farmers participating in the group had changed their livelihood capital in all aspects and increased at different rates compared to the non-participating group. These changes included: 1) Human capital development in management, improved production systems and sophisticated marketing and bargaining strategies. However, a lack of knowledge and skills to deal with natural disasters such as floods and droughts, plant diseases and pest outbreaks. 2) Financial capital, especially the capacity to produce alternative marketable agricultural products, allowing sufficient agricultural income for household spending and agricultural investment. 3) Natural capital, where there was a greater knowledge and understanding of the agricultural system, resulting in the rational allocation of natural resources and preservation of the fertility of the agricultural ecosystem. 4) Social capital, with farmers exchanging agricultural knowledge and information, and increased social interaction and community involvement. 5) Physical capital, the opportunity to access support in agricultural infrastructure and technology. The results of the study support the development of production and marketing management among farmers. Support would be valuable to foster rural farmers' potential in a number of ways including developing competencies in bargaining, marketing channels, participating and contributing, and other general community coexistence skills. Encouragement to develop production management and marketing skills of the group would empower farmers to generate further income and develop and access livelihood capital to enable them to be self-reliant and have a better quality of life. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.subject | Difference in Difference | en_US |
dc.subject | Propensity Score Matching | en_US |
dc.subject | Livelihood Assets | en_US |
dc.subject | Farmers Groups | en_US |
dc.subject | Agricultural value chain | en_US |
dc.title | ผลสัมฤทธิ์ของการจัดการการผลิตและการตลาดของกลุ่มเกษตรกร อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน | en_US |
dc.title.alternative | Achievement of production and marketing management of farmers’ groups in Na Noi district, Nan province | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกร -- นาน้อย (น่าน) | - |
thailis.controlvocab.thash | ผลิตผลเกษตร -- นาน้อย (น่าน) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการจัดการผลิตผลเกษตรตลอดโซ่คุณค่าของกลุ่มเกษตรกร วิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรจากการจัดการทางการตลาด และประเมินการเปลี่ยนแปลงทุนดำรงชีพจากการรวมกลุ่มเกษตรกรในอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ในกลุ่มเกษตรกรที่ทำธุรกิจเกษตรชุมชนที่มีการดำเนินการในเชิงธุรกิจต่อเนื่อง ระหว่างปี 2559 จนถึงปี 2562 ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ (ฟักทอง) กลุ่มมะม่วงแปลงใหญ่ และกลุ่มมะเขือพวง และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกจากเกษตรกร จำนวน 225 ราย ประกอบด้วยเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร จำนวน 111 ราย และไม่เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร จำนวน 114 ราย วิเคราะห์ระบบการจัดการของกลุ่มภายใต้กรอบโซ่คุณค่า การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไรทางการตลาดของกลุ่มจากอัตรากำไรขั้นต้น และส่วนแบ่งผลประโยชน์ของเกษตรกร และวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ของเกษตรกรรายบุคคลด้วยวิธีวิเคราะห์ผลต่างสองชั้น (Difference in Difference: DID) ในผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทุนดำรงชีพจากการเข้าร่วมกลุ่มธุรกิจชุมชน โดยใช้วิธีการจับคู่โดยใช้คะแนนความโน้มเอียง (Propensity Score Matching: PSM) เพื่อจับคู่กลุ่มเกษตรกรที่เป็นสมาชิก และเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิก ผลการศึกษาระบบการจัดการผลิตผลเกษตรตลอดโซ่คุณค่าของกลุ่มเกษตรกร พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ (ฟักทอง) มีการจัดการกลุ่มในลักษณะเป็นผู้ประกอบ มีการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ การรับซื้อผลผลิต การแปรรูปผลผลิต การขนส่ง และการจำหน่ายไปยังตลาดปลายทาง กลุ่มมะม่วงแปลงใหญ่ มีการจัดการกลุ่มในการให้ความรู้ในการผลิต ต่อรองราคาและกำหนดปริมาณกับตลาดรับซื้อ รวบรวมผลผลิต และควบคุมการคัดคุณภาพผลผลิตตามที่ตลาดกำหนด และกลุ่มมะเขือพวง มีการจัดการตลอดโซ่คุณค่า ประกอบด้วย การจัดหาเมล็ดพันธุ์คุณภาพมาเพาะต้นกล้าจำหน่ายแก่สมาชิกกลุ่ม ให้ความรู้ในการผลิต ติดต่อตลาดรับซื้อ รวบรวมผลผลิต และขนส่งผลผลิตไปยังตลาดปลายทาง ผลประกอบการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ (ฟักทอง) มีอัตรากำไรขั้นต้นจากการจัดการทางการตลาดสูงที่สุดร้อยละ 62 และมีส่วนแบ่งผลประโยชน์ของเกษตรกรร้อยละ 38 ในขณะที่กลุ่มมะม่วงแปลงใหญ่มีอัตรากำไรขั้นต้นจากการจัดการทางการตลาดร้อยละ 2 เป็นส่วนแบ่งผลประโยชน์ของเกษตรกรร้อยละ 98 และกลุ่มมะเขือพวงมีอัตรากำไรขั้นต้นจากการจัดการทางการตลาดร้อยละ 3 เป็นส่วนแบ่งผลประโยชน์ของเกษตรกรร้อยละ 97 ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทุนดำรงชีพของเกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มเกษตรกรเปรียบเทียบกับเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมกลุ่มเกษตรกร โดยเปรียบเทียบก่อนการเข้าร่วมกลุ่มของเกษตรกร ในปี 2558 และหลังจากเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่ม ในปี 2562 พบว่า ในปี 2558 เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มมีทุนทางมนุษย์ ทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม และทุนทางกายภาพต่ำกว่า ในขณะที่ปี 2562 เกษตรกรทั้ง 2 มีทุนดำรงชีพทั้ง 5 ด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นทุนทางธรรมชาติ ที่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มยังคงมีทุนทางธรรมชาติต่ำกว่า และผลการวิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทุนดำรงชีพจากการเป็นสมาชิกกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชนด้วยวิธีวิเคราะห์ผลต่างสองชั้น (DID) เกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มมีทุนดำรงชีพเปลี่ยนแปลงในทุกด้านเพิ่มขึ้นต่างจากกลุ่มอื่น ประกอบด้วย 1) ทุนทางมนุษย์ โดยเฉพาะด้านการมีความรู้ ความสามารถ และการพัฒนาทักษะในการจัดการระบบการผลิต และการตลาด การจัดสรรใช้ปัจจัยผลิต และมีอำนาจต่อรองทางการตลาด ยกเว้น การมีความรู้และทักษะในการรับมือกับปัญหาจากภัยธรรมชาติ (น้ำท่วมหรือฝนแล้ง) และการระบาดของโรคพืช และแมลงศัตรูพืช 2) ทุนทางการเงิน โดยเฉพาะการมีทางเลือกในการผลิตสินค้าเกษตรที่มีตลาดรองรับ ทำให้มีรายได้ทางการเกษตรเพียงพอต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน และการลงทุนทางการเกษตร 3) ทุนทางธรรมชาติ คือ การมีความรู้ และความเข้าใจในระบบการเกษตรมากขึ้นส่งผลให้เกิดการจัดสรรการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรู้ค่า และรักษาความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศในพื้นที่เกษตร 4) ทุนทางสังคม เกษตรกรมีการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร และการมีส่วนร่วมกับสังคมในชุมชนมากขึ้น และ 5) ทุนทางกายภาพ โอกาสในการเข้าถึงการสนับสนุนในโครงสร้างพื้นฐาน และเทคโนโลยีทางการเกษตร ผลจากการศึกษา สนับสนุนให้พัฒนาการจัดการการผลิตและการตลาดของกลุ่มเกษตรกร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถของเกษตรกร สร้างอำนาจต่อรอง เพิ่มช่องทางการตลาด และการพัฒนาทักษะการมีส่วนร่วมและการอยู่ร่วมกับสังคม เป็นแนวทางให้เกษตรกรเข้าถึงการพัฒนาทุนดำรงชีพ เพิ่มช่องทางการสร้างรายได้ เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
ภัทราวดี กันตี 610831058.pdf | 3.73 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.