Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78823
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุกิจ กันจินะ-
dc.contributor.advisorรุจ ศิริสัญลักษณ์-
dc.contributor.advisorพิมพ์ใจ สีหะนาม-
dc.contributor.authorดำรงฤทธิ์ ศิริข่วงen_US
dc.date.accessioned2023-09-09T07:55:11Z-
dc.date.available2023-09-09T07:55:11Z-
dc.date.issued2023-07-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78823-
dc.description.abstractThe main objective of this research was to analyze factors influencing farmers' adoption of the Participatory Guarantee System (PGS) in Chiang Mai province. A structured interview was used to collect data from 232 farmers of Land Development Department's PGS Promotion Group. Data were analyzed using descriptive statistics, including percentage, frequency, minimum and maximum, mean, and standard deviation. Logistic regression analysis was also used to identify factors affecting PGS adoption. It was found that 56.03% of the respondents were male, with an average age of 54.34 years. The respondents had primary education the most (39.66%) and farming experience of 20.28 years on average. Their main crops were vegetables, fruit trees, and rice. They had an average of 9.20 rai of farmland, 1.95 farm laborers, and 81.72% used their own funds. Regarding income, it was discovered that the average income of the production year 2021/2022 was 202,574.63 baht/household. In addition, it was observed that the respondents contacted agricultural extension officers 22.15 times/year on average. For information on PGS, the respondents received this kind of information from their fellow farmers at a high level (= 3.46). Based on logistic regression analysis, the factors that significantly influenced the respondents' adoption of PGS at p < 0.05 were gender, farming experiences, main crops, network with other farmers, and participation in PGS training, and those factors at p < 0.01 included education funding source and agricultural extension of PGS. For recommendations, agencies concerning PGS promotion should focus on disseminating knowledge, organizing training on PGS, and providing required production inputs. In addition, the agencies should encourage the formation of farmer groups to facilitate PGS information exchange. Agencies responsible for PGS certification should also provide knowledge of the certification and relevant processes. This support would help improve the farmer's adoption of PGS.en_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeFactors affecting farmers’ adoption of participatory guarantee systems (PGS) in Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)-
thailis.controlvocab.thashเกษตรอินทรีย์-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกร -- เชียงใหม่-
thailis.controlvocab.thashเกษตรกรรม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ โดยศึกษาจากกลุ่มส่งเสริมเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) ของกรมพัฒนาที่ดิน จำนวนตัวอย่าง 232 คน ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) เพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบเกษตรอินทรีย์แบบ PGS ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรร้อยละ 56.03 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 54.34 ปี ร้อยละ 39.66 มีการศึกษาในระดับประถมศึกษา เกษตรกรมีประสบการณ์ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 20.28 ปี โดยผลิตพืชผัก ไม้ผล และข้าวเป็นหลัก และมีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 9.20 ไร่/คน มีแรงงานในภาคการเกษตรเฉลี่ย 1.95 คน/ครัวเรือน และเกษตรกรร้อยละ 81.72 อาศัยทุนของตนเอง ในส่วนของรายได้ พบว่า รายได้เฉลี่ยในปีการผลิต 2564/65 เท่ากับ 202,574.63 บาท/ครัวเรือน เกษตรกรมีการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมเฉลี่ย 22.15 ครั้งต่อปี และรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับ PGS จากเพื่อนเกษตรกรในระดับมาก (X ̅ = 3.46) จากการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับระบบเกษตรอินทรีย์แบบ PGS ของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.05 ได้แก่ เพศ ประสบการณ์ด้านการเกษตร พืชที่ทำรายได้หลัก การติดต่อสื่อสารกับเกษตรกรรายอื่น และการได้รับการฝึกอบรมระบบเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และนัยสำคัญที่ระดับ p < 0.01 ได้แก่ การศึกษา แหล่งเงินทุน และการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์แบบ PGS ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมระบบเกษตรอินทรีย์แบบ PGS ควรมุ่งเน้นการให้ความรู้และกาจัดอบรมเกี่ยวกับระบบเกษตรอินทรีย์แบบ PGS รวมทั้งให้การสนับสนุนปัจจัยการผลิตที่จำเป็น นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรส่งเสริมการร่วมกลุ่มของเกษตรกร เพื่อกระตุ้นการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้าน PGS ในขณะที่หน่วยงานที่ออกใบรับรองมาตรฐานควรให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการขอใบรับรองให้กับเกษตรกร การสนับสนุนดังกล่าวของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะช่วยยกระดับการยอมรับระบบเกษตรอินทรีย์แบบ PGS ของเกษตรกรต่อไปen_US
Appears in Collections:AGRI: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620832019-ดำรงฤทธิ์ ศิริข่วง.pdf2.28 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.