Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78798
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินทร เพ็ญสูตร-
dc.contributor.authorสุกัญญา จักษุวินัยen_US
dc.date.accessioned2023-09-09T05:50:42Z-
dc.date.available2023-09-09T05:50:42Z-
dc.date.issued2023-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78798-
dc.description.abstractThis qualitative research focuses on the implementation of the state welfare card policy and the role of the government sectors in implementing the policy in the Mueang Mae Hong Son District, Mae Hong Son Province. Mae Hong Son Province is a special area due to poverty, inequality, spatial constraints that make the area difficult to travel, as well as language and ethnic diversity, which may limit policy implementation. The data is accumulated through interviews and the Focus Group Discussion (FGD) method from 92 samples. The informants are divided into four groups: government officers responsible for policy implementation, Civil State Blue Flag Shop owners, village headmen, and citizens both with and without a state welfare card. The information is analyzed and discussed through the concepts of public policy, social welfare, the welfare state, and the civil state. The result shows that the implementation of the welfare card policy in the area of Mueang Mae Hong Son District encountered four key issues: (1) Due to spatial constraints, many citizens with welfare cards must travel inconveniently to the district center to use the card. (2) The products in , Civil State Blue Flag Shops are insufficient, and there are only a few Civil State Blue Flag Shops in the area. Moreover, the products in Civil State Blue Flag Shops are mostly from capitalist companies instead of supporting local businesses. (3) The illegal misuse of the welfare card; and (4) the lack of public communication and facilitation from the government. Since the government has been trying to use various social welfare policy implementations, especially the state welfare card project, they appear to be the Residual Model of Welfare. The government focuses on filtering low-income or vulnerable groups of people in society by using an online registration system with local government sector consideration. The policies raise the concern that they may cause welfare dependency and discourage workers. Moreover, there’s no good tax system that can support social welfare policies financially. Through the determination of rules, conditions, and operational guidelines, the policy implementation shows the beneficial relationship between the government and the capitalist enterprises while neglecting the local business entrepreneurs. In conclusion, the policies will not sustainably solve poverty and the poor quality of life among Thai citizens. In order to develop the citizens' overall well-being, the government must reform the welfare system. The social welfare policy and its implementation need to be revised, as well as focus on solving poverty efficiently and sustainably by distributing infrastructure, income, education, and the public health system equally.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคของการนำโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนen_US
dc.title.alternativeThe problems and obstacles of state welfare card of Mueang Mae Hong Son districten_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ-
thailis.controlvocab.thashความช่วยเหลือของรัฐ -- แม่ฮ่องสอน-
thailis.controlvocab.thashเงินอุดหนุน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาการดำเนินโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและบทบาทของรัฐในการนำโครงการดังกล่าวไปปฏิบัติในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นเชิงพื้นที่ในด้านปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ สภาพพื้นที่ทางกายภาพมีความยากลำบากในการเข้าถึง ประกอบกับสภาพทางภาษา วัฒนธรรมและชาติพันธุ์ที่มีความหลากหลาย ที่มีผลต่อการดำเนินโครงการในระดับพื้นที่ โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และจัดการสนทนากลุ่มกับประชากรกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม คือ เจ้าหน้าที่รัฐที่รับผิดชอบการดำเนินโครงการ ร้านค้าธงฟ้าประชารัฐและทั่วไป กำนันและผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ และประชาชนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมจำนวน 92 คน และใช้แนวคิดเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ แนวคิดสวัสดิการสังคม แนวคิดรัฐสวัสดิการ และแนวคิดประชารัฐประกอบการวิเคราะห์ข้อมูลและอภิปรายผลการศึกษา จากผลการศึกษาพบว่าการดำเนินโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนประสบปัญหาและอุปสรรคในระดับพื้นที่ 4 ประการสำคัญ คือ ข้อจำกัดเชิงบริบทของพื้นที่ที่มีความยากลำบากในการคมนาคม ข้อจำกัดด้านสินค้าที่ไม่เพียงพอและตรงต่อความต้องการและจำนวนร้านค้าธงฟ้าประชารัฐที่มีไม่เพียงพอกับการให้บริการในพื้นที่ อีกทั้งมีการเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนซึ่งเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ในการนำสินค้ามาจำหน่ายในร้านค้าธงฟ้าประชารัฐซึ่งเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายย่อยในพื้นที่ มีการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐผิดวัตถุประสงค์ทั้งจากตัวผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเองและการฉวยโอกาสของร้านค้าธงฟ้าประชารัฐในการสนับสนุนให้มีการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐอย่างผิดเงื่อนไข และสุดท้ายคือกลไกการดำเนินงานของภาครัฐยังมีข้อบกพร่องทั้งในด้านการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ การสร้างความรับรู้ความเข้าใจ และการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการรับริการของรัฐ ทั้งนี้ จากการที่รัฐพยายามได้ดำเนินนโยบายด้านสวัสดิการสังคม ต่าง ๆ ในประเทศไทย โดยเฉพาะโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐนั้น ปรากฏว่าลักษณะการจัดสวัสดิการดังกล่าวยังคงมุ่งเน้นการจัดสวัสดิการแบบเก็บตก มุ่งเป้าเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือกลุ่มเปราะบางทางสังคม โดยมีการพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับความช่วยเหลือจากรัฐผ่านระบบการลงทะเบียนและตรวจสอบข้อมูลร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยการสนับสนุนสวัสดิการแบบให้เปล่าแก่ประชาชนนั้นยังส่งผลให้เกิดทัศนคติของประชาชนที่คอยพึ่งพาและรอรับแต่ความช่วยเหลือจากรัฐ จนขาดความพยายามในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง อีกทั้งรัฐไม่ได้มีการออกแบบระบบการจัดเก็บภาษีที่สามารถนำมาเป็นรายได้ในการจัดสวัสดิการต่อไปได้ ส่งผลให้รัฐต้องแบกรับภาระงบประมาณอย่างมหาศาลในการจัดสวัสดิการต่าง ๆ ต่อไป และการดำเนินโครงการนั้นยังแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของรัฐกับกลุ่มทุนเอกชน ที่มีการใช้ช่องทางจากโครงการเพื่อเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนเอกชนเหล่านั้นผ่านการกำหนดกฎเกณฑ์ เงื่อนไข และแนวทางการดำเนินการที่สนับสนุนแหล่งกลุ่มทุนเอกชนรายใหญ่ของประเทศเป็นส่วนใหญ่ โดยละเลยกลุ่มทุน ผู้ประกอบการขนาดเล็กในระดับท้องถิ่น ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้ ผลประโยชน์ที่แท้จริงตกอยู่กับคนเพียงไม่กี่กลุ่ม ในขณะที่คนส่วนใหญ่กลับได้ผลประโยชน์เพียงเล็กน้อย และไม่ก่อให้เกิดความยั่งยืนในการแก้ไขปัญหาความยากจนและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาระบบสวัสดิการของรัฐให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้น รัฐต้องมีการทบทวนนโยบายการจัดสรรสวัสดิการสังคม ให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการและจัดการแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างให้เกิดการกระจายความเป็นธรรมทั้งการเข้าถึงสวัสดิการหรือบริการจากรัฐ และการกระจายรายได้ให้ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียม และต้องมีการดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบพื้นฐานในด้านอื่น ๆ ด้วย อาทิ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี การศึกษา ระบบสาธารณสุข ให้ครอบคลุมทั้งประชาชนทุกคนและพื้นที่ทุกแห่ง เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืนต่อไปen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611932044-สุกัญญา จักษุวินัย.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.