Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78778
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิวพร อึ้งวัฒนา-
dc.contributor.advisorนพมาศ ศรีเพชรวรรณดี-
dc.contributor.authorกนกกาญจน์ กิมประสิทธิ์en_US
dc.date.accessioned2023-09-07T00:58:21Z-
dc.date.available2023-09-07T00:58:21Z-
dc.date.issued2023-08-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78778-
dc.description.abstractAn experiential learning program involves the use of experience to promote correct actions. This quasi-experimental two-group pre-post measurement aimed to study the effects of an experiential learning program on home visiting practices for persons with hypertension among village health volunteers (VHVs). A total of 52 VHVs were purposively sampled and divided equally into two groups: program recipients and regular service. The study employed Kolb's experiential learning theory (2015) over 5 weeks, incorporating PowerPoint materials, a home visit practice guide, information sheets, and a demonstration kit. Tools used for data collection included personal information questionnaires and a home visit practice questionnaire for persons with hypertension for the VHVs. The content validity (CVI) was 1.0, and reliability was 0.81. Descriptive statistics were used to analyze the personal data, and chi-square test, Fisher’s exact test, paired t-test, and independent t-test were used to analyze mean scores between the two groups. The results indicated that the group receiving the program had a higher mean score (x ̅ = 62.15, SD = 2.36) after receiving the program than before receiving it (x ̅ = 46.96, SD = 10.83). It was also found that the group receiving the program had a higher mean score for performing home visiting than those who received normal service (x ̅ = 48.35, SD = 6.00) with statistical significance (p < 0.001). The results show that this program can be used to promote home visiting practices for persons with hypertension among village health volunteers.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อการปฏิบัติการเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านen_US
dc.title.alternativeEffect of the experiential learning program on home visiting practices for persons with hypertension among village health volunteersen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความดันเลือดสูง-
thailis.controlvocab.thashความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashอาสาสมัครสาธารณสุข-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการเรียนรู้เชิงประสบการณ์สามารถส่งเสริม การปฏิบัติการเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม ชนิดวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อการปฏิบัติการเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 52 ราย แบ่งเป็น อสม. กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ และกลุ่มที่ให้บริการตามปกติ กลุ่มละ 26 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติ ที่กำหนด เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แผนกิจกรรมในโปรแกรมการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของโคล์บ (Kolb, 2015) ระยะเวลา 5 สัปดาห์ สื่อการสอน PowerPoint และคู่มือเรื่องการปฏิบัติการเยี่ยมบ้าน ใบบันทึกข้อมูลการเยี่ยมบ้าน ชุดอุปกรณ์สาธิตการเยี่ยมบ้าน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการปฏิบัติการเยี่ยมบ้านสำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงใน อสม. คำนวณความตรงของเนื้อหา (Content Validity Index) ได้เท่ากับ 1.0 ได้ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.81 โดยใช้สถิติพรรณนาวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล และใช้สถิติทดสอบ chi-squre test, Fisher exact test, paired t-test และ independent t-test วิเคราะห์คะแนนค่าเฉลี่ยการปฏิบัติการเยี่ยมบ้าน และเปรียบเทียบผลระหว่างสองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า อสม. กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการเยี่ยมบ้านสำหรับ ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (x ̅ = 62.15, SD = 2.36) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (x ̅ = 46.96, SD = 10.83) และสูงกว่ากลุ่มที่ให้บริการตามปกติ (x ̅ = 48.35, SD = 6.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมนี้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมเพื่อการปฏิบัติการเยี่ยมบ้านผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.