Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78760
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเดชา ทำดี-
dc.contributor.advisorศิริรัตน์ ปานอุทัย-
dc.contributor.authorกฤติยา ชาสุวรรณen_US
dc.date.accessioned2023-08-30T10:23:03Z-
dc.date.available2023-08-30T10:23:03Z-
dc.date.issued2021-10-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78760-
dc.description.abstractHypertension is a major problem for older persons causing complications in their lives. Proper self-management can reduce complications that may arise from this condition. This predictive correlational research aimed to study self-management, health literacy, perceived self-efficacy, and social support and to explore if any of these factors could predict self-management among older persons with hypertension. The participants were 196 older persons with hypertension who received treatment at four Health Promoting Hospitals in Kanchanadit District, Surat Thani. The participants were selected using proportional random sampling during April to June, 2021. The research tools were an interview form on personal information, a questionnaire on self-management, an interview form on health literacy, a questionnaire on perceived self-efficacy, and a questionnaire on social support of older persons with hypertension. The data were analyzed using descriptive statistics and stepwise multiple regression analysis. hts reserved The results showed that the sample group had high levels of self-management, perceived self-efficacy, and social support. The sample group also had a medium level of health literacy. Health literacy, perceived self-efficacy, and social support, could together predict self-management for older persons with hypertension at 69.60 %. The most predictive factor was social support (B= .516, p <.001), followed by perceived self-etficacy (P = .386, p < .001), and health literacy B=.156,p=.003).The results of this study can be used as data by health personnel to develop activities to promote and used for the creation of programs about health literacy, perceived self-efficacy, and social support that might enhance self-management for older persons with hypertension.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยทำนายการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงen_US
dc.title.alternativeFactors predicting self-management among older persons with hypertensionen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความดันเลือดสูงในวัยสูงอายุ-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- สุราษฎร์ธานี-
thailis.controlvocab.thashผู้สูงอายุ -- โรค-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคความดัน โลหิตสูงเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิด ภาวะแทรกซ้อนในการคำรงชีวิตของผู้สูงอายุ การจัดการตนเองที่เหมาะสมสามารถลดภาวะแทรกซ้อน ที่อาจจะเกิดขึ้นจากโรคได้ การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การจัดการตนเอง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม และเพื่อศึกษาปัจจัขที่สามารถทำนายการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้สูงอายุโรคความดัน โลหิตสูง จำนวน 196 ราย ที่เข้ามารับการรักษา ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบล 4 แห่งในอำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย ตามสัดส่วน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่นำมาใช้สำหรับการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเอง แบบสัมภาษณ์ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ของผู้สูงอายุโรคความดัน โลหิตสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์สมการ ถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการจัดการตนเอง การรับรู้สมรรถณะแห่งตน และการสนับสนุน ทางสังคมในระดับสูง ส่วนความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับปานกลาง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถณะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมสามารถร่วมกันทำนายการจัดการตนเองของ ผู้สูงอายุโรคความดัน โลหิตสูงได้ ร้อยละ 69.60 โดยการสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายการจัดการตนเองได้สูงสุด (B = .516, p < .001) รองลงมาเป็นการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (B = .386, P <.001) และความรอบรู้ด้านสุขภาพ (B = .156, p = .003) ผลของการวิจัยสามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับบุคลากรทางด้านสุขภาพในการ วางแผนส่งเสริม และพัฒนาโปรแกรมเกี่ยวกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงสามารถจัดการตนเองเกี่ยวกับ โรคความดันโลหิตสูงได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231125 กฤติยา ชาสุวรรณ.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.