Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78732
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์-
dc.contributor.authorพิไลวรรณ พิชัยรัตนวงศ์en_US
dc.date.accessioned2023-08-29T01:08:46Z-
dc.date.available2023-08-29T01:08:46Z-
dc.date.issued2023-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78732-
dc.description.abstractEncouraging parental participation in dental health for preschool children will aid in the prevention of tooth decay problems. This quasi-experimental, two-group, pretest-posttest design aimed, to investigate the effect of a family participation promotion program on families’ dental care practice for their preschool children. The participants, 36 parents of preschool children in child development center, were assigned by simple random sampling to one of two groups of 18. One group received the program, and one did not. The sample group was selected under purposive sampling criteria. The research tools consisted of the family participation enhancement program devised by the researcher based on community participation (Cohen & Uphoff, 1986) and lasting for 8 weeks. In addition, instructional plans, a family participation promotion manual, slide-show media, video instructors, a family participation promotion kit, and LINE apps were available. The data collecting instrument consisted of a questionnaire on family practices regarding the dental health care of their preschool children with a Pearson’s product moment correlation coefficient of 0.935. Data were analyzed using descriptive statistics, the Chi-square test, the Fisher exact test, independent t-test, Mann-Whitney U test, and paired t-test. The results indicated that the group receiving the program had a higher average score for family practice in the dental health care of their preschool children after receiving the program than before (p < .001). After receiving the program, the group who had received the program had a higher average score for family practice in the dental health care of their preschool children than the group not receiving the program (p < .001). The results from this study show that the promotion program can be used to promote the dental health care of preschool children.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว สุขภาพฟัน เด็กวัยก่อนเรียนen_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการดูแลสุขภาพฟันของเด็กวัยก่อนเรียนen_US
dc.title.alternativeEffect of family participation promotion program on family practice of dental care among preschool childrenen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashฟัน -- การดูแลและสุขวิทยา-
thailis.controlvocab.thashฟัน -- โรค-
thailis.controlvocab.thashเด็ก -- การดูแลทันตสุขภาพ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการดูแลสุขภาพฟันของเด็กวัยก่อนเรียนจะช่วยป้องกันการเกิดปัญหาฟันผุในเด็กวัยก่อนเรียนได้ การวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการปฏิบัติของครอบครัวในการดูแลสุขภาพฟันของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 36 ราย เป็นบิดาหรือมารดาของเด็กวัยก่อนเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยทำการสุ่มอย่างง่าย จำนวนกลุ่มละ 18 ราย เป็นกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯและกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากทฤษฎีการมีส่วนร่วมของชุมชนของโคเฮน และ อัพฮอฟ (Cohen & Uphoff, 1986) ระยะเวลา 8 สัปดาห์ แผนการให้ความรู้ คู่มือส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว สื่อนำเสนอภาพนิ่ง สื่อวีดิทัศน์ ชุดอุปกรณ์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัว และแอปพลิเคชันไลน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการปฏิบัติของครอบครัวในการดูแลสุขภาพฟันของเด็กวัยก่อนเรียน ทดสอบความเชื่อมั่นด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน เท่ากับ .935 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบ Chi-Square test, Fisher exact test, independent t-test, Mann-Whitney U test และ paired t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติของครอบครัวในการดูแลสุขภาพฟันของเด็กวัยก่อนเรียนภายหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) และภายหลังได้รับโปรแกรมฯ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติของครอบครัวในการดูแลสุขภาพฟันของเด็กวัยก่อนเรียน สูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฯ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมนี้สามารถนำใช้ในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพฟันของเด็กวัยก่อนเรียนได้en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.