Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78724
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorก้องภู นิมานันท์-
dc.contributor.authorอรรถพร คิดดีแลen_US
dc.date.accessioned2023-08-27T07:07:22Z-
dc.date.available2023-08-27T07:07:22Z-
dc.date.issued2023-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78724-
dc.description.abstractThe purpose of this independent study was to study inventory management for 3M face mask products of Chiang Mai Delta Electric Trading Co., Ltd., with a total of 17 target products. The secondary data was obtained from the case study company on the past 5 years (weekly) sales from January 2015 to December 2019 for use in determining the best model for sales forecasting and inventory management. In selecting a suitable sales forecasting model for all 17 items, the researcher used the error measurement technique in the time series forecasting model and criteria for evaluating the validity and accuracy of the model. As for the selection of a suitable inventory management model for all 17 items, the researcher used the Peterson–Silver Rule technique to analyse and classify variance in sales demand resulting from sales forecasting with the best model. For low variance demand, the researcher used the economic order quantity (EOQ model) inventory management technique and for the high variance demand, the researcher used the inventory management technique of pre-ordering at the lowest cost (Silver - Meal Method). The results of the study of the most appropriate sales forecasting model demonstrated that there were 3 products in the sales forecasting model using the Simple Exponential Smoothing Method (SES), 1 product in the forecasting model using the Holt's Exponential Smoothing method Method (HES), 5 products in the forecasting model using Brown's Exponential Smoothing Method (BES), 3 products in the product sales forecasting model using Winter's Additive Exponential Smoothing Method (WAES), and 5 products in the product sales forecasting method by Winter's Multiplication Exponential Smoothing Method (WMES). The results of the optimum inventory management model revealed that all 17 items in this independent study used the economic order quantity (EOQ) inventory management technique due to the low variance in sales demand resulting from sales forecasting with the best model (V < 0.25). All products resulted in total costs (Total Cost) decreased by 85,416.01 baht from the actual cost (decreased by 25.58%) as a result of the cost of storage (Holding Cost) that decreased by 152,638.80 baht from the actual cost (decreased by 54.02%). The cost of ordering increased by 67,222.77 baht from the actual cost (increased by 130.68%) because the cost of purchasing per time was low. By comparing to the holding cost of high-value products, it resulted in the calculation of the economic order quantity (EOQ Model) to increase the ordering frequency from the original ordering of once per 4 weeks to 4 times per 4 weeks which affected the cost of ordering, but it had a good effect on the holding cost. making the overall cost of inventory management to decrease accordingly. Therefore, the benefit of this independent study was to obtain an optimal inventory management model for all 17 products in addition to reducing the total cost of inventory management.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยยี่ห้อ 3M ของบริษัท เชียงใหม่เดลต้าอีเล็คตริค เทรดดิ้ง จำกัดen_US
dc.title.alternativeInventory management for 3M safety mask product of Chiang Mai Delta Electric Trading company limiteden_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashสินค้าคงคลัง-
thailis.controlvocab.thashการควบคุมสินค้าคงคลัง-
thailis.controlvocab.thashหน้ากากอนามัย-
thailis.controlvocab.thashบริษัท เชียงใหม่เดลต้าอีเล็คตริค เทรดดิ้ง จำกัด-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการค้นคว้าแบบอิสระนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการสินค้าคงคลังสำหรับผลิตภัณฑ์หน้ากากอนามัยยี่ห้อ 3M ของบริษัท เชียงใหม่เดลต้าอีเล็คตริคเทรดดิ้ง จำกัด โดยสินค้าเป้าหมายมีทั้งหมด 17 รายการ โดยการร้องขอข้อมูลทางด้านทุติยภูมิของบริษัทกรณีศึกษา ในยอดขายย้อนหลังเป็นจำนวน 5 ปี (รายสัปดาห์) ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2558 ถึง ธันวาคม พ.ศ.2562 เพื่อใช้ในการกำหนดตัวแบบที่เหมาะสมที่สุด ในการพยากรณ์ยอดจำหน่ายและการจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งการคัดเลือกตัวแบบในการพยากรณ์ยอดจำหน่ายที่เหมาะสมกับสินค้าทั้ง 17 รายการนั้น ทางผู้ศึกษาได้ใช้เทคนิคการวัดความคลาดเคลื่อนในตัวแบบการพยากรณ์อนุกรมเวลา และเกณฑ์การประเมินความถูกต้องและแม่นยำของตัวแบบ ส่วนการคัดเลือกตัวแบบในการจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสมกับสินค้าทั้ง 17 รายการนั้น ทางผู้ศึกษาได้ใช้เทคนิค Peterson–Silver Rule เพื่อวิเคราะห์และจำแนกประเภทของความแปรปรวนของความต้องการในยอดจำหน่าย ที่เป็นผลลัพธ์จากการการพยากรณ์ยอดจำหน่ายด้วยตัวแบบที่ดเหมาะสมที่สุด โดยความต้องการที่มีความแปรปรวนต่ำ ทางผู้ศึกษาจะใช้เทคนิคการจัดการสินค้าคงคลังแบบปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ Model) และความต้องการที่มีความแปรปรวนสูง ทางผู้ศึกษาจะใช้เทคนิคการจัดการสินค้าคงคลังแบบการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อล่วงหน้าที่ต้นทุนต่ำสุด (Silver - Meal Method) ผลการศึกษาทางด้านตัวแบบการพยากรณ์ยอดขายที่เหมาะสมที่สุด พบว่า ตัวแบบที่ใช้ในการพยากรณ์ยอดจำหน่ายสินค้าด้วยวิธีการ Simple Exponential Smoothing Method (SES) มีทั้งหมด 3 รายการ ในส่วนตัวแบบการพยากรณ์วิธีการ Holt’s Exponential Smoothing Method (HES) มีทั้งหมดเพียง 1 รายการ ในส่วนตัวแบบการพยากรณ์วิธีการ Brown’s Exponential Smoothing Method (BES) มีทั้งหมด 5 รายการ ในส่วนตัวแบบที่ใช้ในการพยากรณ์ยอดจำหน่ายสินค้าด้วยวิธีการ Winter’s Additive Exponential Smoothing Method (WAES) มีทั้งหมด 3 รายการสินค้า และในส่วนตัวแบบที่ใช้ในการพยากรณ์ยอดจำหน่ายสินค้าด้วยวิธีการ Winter’s Multiplication Exponential Smoothing Method (WMES) มีทั้งหมด 5 รายการสินค้า ผลการศึกษาทางด้านตัวแบบการจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสมที่สุด พบว่า สินค้าทั้ง 17 รายการที่ทำการศึกษาอิสระในครั้งนี้ มีการใช้เทคนิคการจัดการสินค้าคงคลังแบบปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด (EOQ Model) ทั้งหมด เนื่องจากความแปรปรวนของความต้องการในยอดขายที่เป็นผลลัพธ์จากการการพยากรณ์ยอดขายด้วยตัวแบบที่ดีที่สุดมีค่าที่ต่ำ (V < 0.25) ทุกรายการสินค้า ส่งผลทำให้ต้นทุนรวม (Total Cost) ลดลง 85,416.01 บาท จากต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง (ลดลง 25.58%) เป็นผลสืบเนื่องจาก ต้นทุนในการจัดเก็บสินค้า (Holding Cost) ลดลง 152,638.80 บาท จากต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง (ลดลง 54.02%) แม้ว่าต้นทุนในการสั่งซื้อสินค้า เพิ่มขึ้น 67,222.77 บาทจากต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง (เพิ่มขึ้น 130.68%) เนื่องจากต้นทุนในการจัดซื้อต่อครั้งมีมูลค่าที่ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนในการจัดเก็บสินค้าที่มีมูลค่าสูง จึงทำให้ผลการคำนวณปริมาณในการสั่งซื้อสุดประหยัด (EOQ Model) นั้น มีการเพิ่มความถี่ในการสั่งซื้อ จากเดิมมีการสั่งซื้อ 1 ครั้งต่อ 4 สัปดาห์ เป็นการสั่งซื้อ 4 ครั้งต่อ 4 สัปดาห์ ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการสั่งซื้อเพิ่มขึ้น แต่เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อต้นทุนการจัดเก็บลดลง จึงทำให้ภาพรวมของการจัดการสินค้าคงคลัง มีต้นทุนรวมที่ลดลงตามมา ดังนั้นประโยชน์ที่เกิดขึ้น จากการค้นคว้าแบบอิสระนี้ คือ ได้ตัวแบบการจัดการสินค้าคงคลังที่มีเหมาะสมที่สุดของสินค้าทั้ง 17 รายการ มากไปกว่านั้นทำให้ต้นทุนรวม (Total Cost) ในการจัดการสินค้าคงคลังลดลงen_US
Appears in Collections:BA: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
611532118-อรรถพล คิดดีแล...pdf9.83 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.