Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78717
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกรียงไกร อรุโณทยานันท์ | - |
dc.contributor.author | เผด็จ สุขพัฒนาเจริญ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-08-27T05:28:19Z | - |
dc.date.available | 2023-08-27T05:28:19Z | - |
dc.date.issued | 2023-05 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78717 | - |
dc.description.abstract | Public parks and green space are critical resources for enabling, encouraging, and promoting physical, mental, and social health to urban residents. Considering the strong association of residential proximity and physical activity, public parks located far away from the residential community are likely to be underutilized, deteriorated, and then abandoned, leaving the community at risk of becoming unlivable. This research therefore aims to study the influence of various factors, especially the walking distance, on the residents’ decision whether to use the public park in their housing estates. Comparative applications of two analytical models, Artificial Neural Network (ANN) and Multinomial Logistic Regression (MLR), were also investigated, of which the results can provide the guidelines for selecting the public park location. Given that, questionnaire surveys were conducted among housing estates and residential communities in Chiang Mai’s principle city area to investigate residents’ socio-economic data (e.g., income, education, health insurance, marital status, family structure, etc.), physical characteristics (e.g., age, gender, weight, height, etc.), traveling data (e.g., vehicle in possession, frequently used transport mode, daily travel patterns, etc.) and traveling attitudes (e.g., acceptable walking distance, etc.). After excluding incomplete questionnaires, data of 554 respondents were analyzed using ANN and MLR models. The results of both models correspondingly point out that there were four factors negatively influencing the respondents’ decision to walk to the park, including walking distance, health insurance, income, and age range. In addition, due to the model nature, each run of the MLR models consistently produces, with a linear relationship assumption, the same analytical results. On the other hand, the ANN models, without any restricted relationship assumption of the input variables, can yield different analytical results while generating a better learning outcome for each run. Combining these two models not only provide insights into the importance of explanatory variables and their influences, but also accordingly suggest the guidelines for locating the public park. It is recommended that, to cover at least 50 percent of the residents, the farthest house should be located not more than 500 meters from the park for the residential area with elderly houses and not more than 450 meters from the park for the housing estates in general. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์ความสามารถเดินเท้าเพื่อเข้าถึงสวนสาธารณะภายในหมู่บ้านจัดสรร | en_US |
dc.title.alternative | Walkability analysis for accessing public parks within housing estates | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | สวนสาธารณะ | - |
thailis.controlvocab.thash | บ้านจัดสรร | - |
thailis.controlvocab.thash | ทางเท้า | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | สวนสาธารณะและพื้นที่สีเขียว นับว่ามีส่วนสำคัญต่อการส่งเสริมความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดีขึ้นทั้งในด้านสุขภาพและสังคม หากสวนสาธารณะตั้งอยู่ห่างไกลพื้นที่ชุมชน ย่อมลดโอกาสการใช้งาน ขาดการดูแลรักษา และถูกปล่อยทิ้งร้างในที่สุด ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมของเมืองที่ไม่น่าอยู่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินเท้าไปใช้บริการสวนสาธารณะภายในหมู่บ้านจัดสรร พร้อมทั้งเปรียบเทียบการวิเคราะห์แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมและแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุนาม และเสนอแนวทางการจัดสรรที่ตั้งของสวนสาธารณะภายในพื้นที่หมู่บ้านจัดสรร ข้อมูลการตัดสินใจใช้บริการสวนสาธารณะที่นำมาใช้วิเคราะห์ในการศึกษาครั้งนี้ ได้จากข้อมูลการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามจากประชากรผู้พักอาศัยภายในหมู่บ้านจัดสรรและชุมชนขนาดเล็ก เขตพื้นที่ผังเมืองรวมเชียงใหม่ ประกอบด้วย ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม (เช่น อาชีพ รายได้ การศึกษา การประกันสุขภาพ สถานภาพสมรส) ข้อมูลทางกายภาพ (เช่น อายุ เพศ น้ำหนัก ส่วนสูง) ข้อมูลการเดินทาง (เช่น การครอบครองยานพาหนะ) ข้อมูลทัศนคติ (เช่น ระยะเดินเท้าที่ยอมรับได้) จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวน 554 ชุด ด้วยแบบจำลองการถดถอยโลจิสติกเชิงพหุนาม และแบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียม พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินเท้าไปใช้บริการสวนสาธารณะ จำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ ระยะทางเดินเท้า การมีประกันสุขภาพ รายได้ และช่วงอายุ โดยทั้งสี่ปัจจัยล้วนแสดงอิทธิพลต่อการตัดสินใจเดินเท้าไปในทิศทางลบ นอกจากนี้ แม้ว่าคุณลักษณะของแบบจำลองทั้งสองมีความแตกต่างกัน คือ แบบจำลองการถดถอยโลจิสติกถูกพัฒนาบนสมมติฐานของความสัมพันธ์เชิงเส้นระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม และให้ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์เท่ากันทุกครั้ง ในขณะที่แบบจำลองโครงข่ายประสาทเทียมนั้น ไม่ได้ถูกจำกัดด้วยสมมติฐานความสัมพันธ์ของตัวแปร และให้ผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ที่แตกต่างกันในแต่ละครั้ง โดยผลลัพธ์มีแนวโน้มที่แม่นยำถูกต้องมากขึ้นตามการเรียนรู้ พบว่า ทั้งสองแบบจำลองสามารถให้ผลลัพธ์สุดท้ายที่ใกล้เคียงกัน สามารถระบุปัจจัยและอธิบายอิทธิพลของปัจจัยไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมใช้เป็นแนวทางแนะนำสำหรับการจัดสรรพื้นที่ตั้งสวนสาธารณะได้เช่นกัน โดยหากกำหนดพื้นที่ตั้งสวนสาธารณะสามารถครอบคลุมผู้พักอาศัยอย่างน้อยร้อยละ 50 พบว่า สำหรับกลุ่มชุมชนที่มีบ้านพักผู้สูงอายุ บ้านหลังสุดท้ายควรมีระยะทางห่างจากสวนสาธารณะไม่เกิน 500 เมตร และสำหรับกลุ่มพื้นที่บ้านจัดสรร บ้านหลังสุดท้ายควรมีระยะทางห่างจากสวนสาธารณะไม่เกิน 450 เมตร | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620631016-เผด็จ สุขพัฒนาเจริญ.pdf | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.