Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78666
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประทุม สร้อยวงค์-
dc.contributor.advisorจิราภรณ์ เตชะอุดมเดช-
dc.contributor.authorสิริรัตน์ อุปราโภen_US
dc.date.accessioned2023-08-19T09:20:50Z-
dc.date.available2023-08-19T09:20:50Z-
dc.date.issued2023-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78666-
dc.description.abstractPersons who have chronic kidney disease and undergo continuous ambulatory peritoneal dialysis encounter the disease’s consequences and its treatment methods, resulting in reduced quality of life. This predictive research aimed to determine factors influencing the self-management behavior of persons with chronic kidney disease undergoing continuous peritoneal dialysis. Purposive sampling was used to recruit 90 persons, including 65 receiving service at the outpatient department of the, peritoneal dialysis clinic at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital, and 25 persons receiving service at the peritoneal dialysis, clinic at Chiang Mai Kidney Clinic Co., Ltd., from May 2022 to October 2022. Research instruments consisedt of 1) a Health Literacy Assessment Form for persons with chronic kidney disease receiving continuous peritoneal dialysis; 2) a Social Support Assessment form for persons with chronic kidney disease receiving continuous peritoneal dialysis; 3) the Thai version of the Hospital Anxiety and Depression Scale (Thai HADS), and 4) a Self-management Behaviors Questionnaire for persons with chronic kidney disease receiving continuous peritoneal dialysis. The psychometric properties of these instruments were approved before data collection. Data analysis was done using descriptive statistics and multiple regression. The results revealed that: 1. Most participants (97.78%) demonstrated an overall score of self-management behavior at a good level. When considering each sub-dimensions, all participants had scores of medical self-management behavior (100.00%) at a good level. More than half of them had role self-management behavior and emotional self-management behavior scores at a good level (65.56% and 56.67%, respectively) 2. An equal and higher median group of social support (ß = 4.84, SE = .30) and a group of depression (ß = - 6.77, SE = -.21) predicted 17.4% of the self-management behavior. However, health literacy did not predict self-management. This research demonstrated that chronic kidney disease patients undergoing continuous ambulatory peritoneal dialysis have good self-management. Additionally, interventions for enhancing SMB should include promoting social support and reducing depression. However, these three factors predicted self-management at a low percentage. Therefore, further studies should explore other factors predicting self-management among persons with chronic kidney disease undergoing continuous ambulatory peritoneal dialysis.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรัง ที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องen_US
dc.title.alternativeFactors predicting self-management behaviors among persons with chronic kidney disease undergoing continuous ambulatory peritoneal dialysisen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashไต -- โรค-
thailis.controlvocab.thashความซึมเศร้า-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย -- การดูแล-
thailis.controlvocab.thashการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง ต้องเผชิญผลกระทบที่เกิดจากโรคและวิธีการรักษา ซึ่งส่งผลทำให้มีคุณภาพชีวิตลดลง การมีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่ดีจึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง การวิจัยเชิงพยากรณ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจัยประกอบด้วย ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมและภาวะซึมเศร้า คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเป็นผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง จำนวน 90 คน ประกอบด้วยผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่มารับการรักษา ณ แผนกผู้ป่วยนอก คลินิกล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ จำนวน 65 คน และคลินิกล้างไตทางช่องท้อง บริษัทเชียงใหม่คลินิกโรคไต จำกัด จำนวน 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 ถึงเดือนตุลาคม 2565 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรอบรู้ ด้านสุขภาพในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 2) แบบประเมิน การสนับสนุนทางสังคมในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 3) แบบประเมินระดับความวิตกกังวลและอาการซึมเศร้า ฉบับภาษาไทย (Thai HADS) และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองในผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องที่ เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำมาใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.78) มีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองที่อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการรักษาอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 100.00) มากกว่าครึ่งมีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านบทบาท และพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านอารมณ์อยู่ในระดับดี (ร้อยละ 65.56 และ 56.67 ตามลำดับ) 2. กลุ่มที่มีการสนับสนุนทางสังคมที่มีคะแนนเท่ากับและสูงกว่าค่ามัธยฐาน (ß = 4.84, SE = .30) และกลุ่มที่มีภาวะซึมเศร้า (ß = - 6.77, SE = -.21) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ร้อยละ 17.4 แต่ความรอบรู้ด้านสุขภาพไม่สามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเอง ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องมีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่ดีและควรส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคมและลดภาวะซึมเศร้าเพื่อให้มีการปฏิบัติพฤติกรรมการจัดการตนเองที่ดี แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยทั้งสามปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้น้อย ดังนั้นควรศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจสามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ที่เป็นโรคไตเรื้อรังที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องต่อไปen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231082-สิริรัตน์ อุปราโภ.pdf5.78 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.