Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78639
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนัทธมน วุทธานนท์-
dc.contributor.advisorวราวรรณ อุดมความสุข-
dc.contributor.authorศุภนุช ไร่แต่งen_US
dc.date.accessioned2023-08-15T00:47:20Z-
dc.date.available2023-08-15T00:47:20Z-
dc.date.issued2022-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78639-
dc.description.abstractNausea, retching, and vomiting are common side effects of chemotherapy treatment for cancer patients. Guided imagery is a symptom management method which is believed to reduce the severity of the side effects. This quasi-experimental two-group pretest-posttest research aimed to examine the effect of guided imagery on nausea, retching, and vomiting among colorectal cancer patients receiving chemotherapy. The subjects were colorectal cancer patients receiving chemotherapy admitted at Vajira Hospital and Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital. The forty-four subjects were purposively selected and equally assigned into experimental and control groups. Subjects had similar gender, age, weight, and cycles of chemotherapy. The experimental group received guided imagery from the researcher and routine care from ward nurses while the control group received routine care from ward nurses. The research instruments consisted of 1) the demographic form, 2) the Rhodes’s Nausea, Vomiting, and Retching Assessment Form-2 translated into Thai by Rachanee Namjantra, with a test-retest reliability of .98, 3) the guided imagery handbook, and 4) the guided imagery audio clip developed by the researcher based on the literature review and experts’ recommendations. Data were analyzed using descriptive statistics. The differences of the nausea, retching, and vomiting scores before and after the treatment within the experimental group were tested using the Wilcoxon signed-rank test, whereas the differences of those after the treatment between the experimental and control groups were tested using the Man-Whitney U test. The study findings revealed that: 1. After the treatment, the experimental group had significantly decreased severity scores for nausea and retching compared with before the treatment (p = 0.001), whereas the group had no significantly decreased severity score for vomiting compared with before the treatment (p = 0.18). 2. After the treatment, the experimental group had significantly decreased severity scores for nausea and retching compared with the control group (p < 0.001); however, the experimental group had no significantly decreased severity score for vomiting compared with the control group (p = 0.409). The results of this study indicate that guided imagery can decrease the severity of nausea, retching, and vomiting among colorectal cancer patients receiving chemotherapy. Thus, nurses may suggest guided imagery as an alternative method to decrease the severity of nausea, retching, and vomiting among colorectal cancer patients receiving chemotherapy.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของการสร้างจินตภาพต่ออาการคลื่นไส้ ขย้อนและอาเจียน ในผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ที่ได้รับยาเคมีบำบัดen_US
dc.title.alternativeEffect of guided imagery on nausea, retching, and vomiting among patients with colorectal cancer receiving chemotherapyen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashลำไส้ -- มะเร็ง-
thailis.controlvocab.thashมะเร็ง -- การรักษา-
thailis.controlvocab.thashมะเร็ง-- เคมีบำบัด-
thailis.controlvocab.thashคลื่นไส้-
thailis.controlvocab.thashอาเจียน-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractอาการคลื่นไส้ ขย้อนและอาเจียนเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ในผู้ป่วยมะเร็ง การสร้างจินตภาพเป็นวิธีการจัดการอาการที่เชื่อว่าจะสามารถลดความรุนแรงของอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดได้ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการสร้างจินตภาพต่ออาการคลื่นไส้ ขย้อนและอาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด และเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วย โรงพยาบาลวชิรพยาบาล และโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ รวมจำนวน 44 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมจำนวนเท่ากัน ทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องเพศ อายุ น้ำหนัก และจำนวนรอบของการรับยาเคมีบำบัด กลุ่มทดลองได้รับการฝึกสร้างจินตภาพโดยผู้วิจัยร่วมกับได้รับการพยาบาลตามปกติจากบุคลากรพยาบาลของหอผู้ป่วย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติจากบุคลากรพยาบาลของหอผู้ป่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินอาการคลื่นไส้ อาเจียนและขย้อน ฉบับที่ 2 ของโรดส์ แปลเป็นภาษาไทยโดยรัชนี นามจันทรา (2535) ได้ค่าความเชื่อมั่นจากการทดสอบซ้ำเท่ากับ .98 3) คู่มือการสร้างจินตภาพ และ 4) คลิปเสียงการสร้างจินตภาพ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรมและคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างของคะแนนคลื่นไส้ ขย้อนและอาเจียนระหว่างก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มทดลองด้วยสถิติวิลค็อกซัน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนคลื่นไส้ ขย้อนและอาเจียนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติแมน-วิทนีย์ยู ผลการศึกษาพบว่า 1. ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรุนแรงของอาการคลื่นไส้และขย้อน ต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.001) ขณะที่มีคะแนนความรุนแรงของอาการอาเจียนไม่แตกต่างจากก่อนทดลอง (p = 0.18) 2. ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนความรุนแรงของอาการคลื่นไส้และขย้อน ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) แต่มีคะแนนความรุนแรงของอาการอาเจียนไม่แตกต่างกัน (p = 0.409) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การสร้างจินตภาพสามารถลดความรุนแรงของอาการคลื่นไส้ ขย้อนและอาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัด ดังนั้น พยาบาลอาจแนะนำการสร้างจินตภาพให้เป็นทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการคลื่นไส้ ขย้อนและอาเจียน ในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับยาเคมีบำบัดen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231080-ศุภนุช ไร่แต่ง.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.