Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78633
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรพจน์ เสรีรัฐ | - |
dc.contributor.author | พรรณธิภา อินเสาร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-08-09T01:25:32Z | - |
dc.date.available | 2023-08-09T01:25:32Z | - |
dc.date.issued | 2022-02 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78633 | - |
dc.description.abstract | This research was the study to determine the appropriated inventory management policy for connector product materials by material requirements planning with determining the lot size of the order quantity and reorder point. Based on historical data, the case study company hold relatively high inventory values and inventory turnover rates, and there was no standardized method for material requirements planning. It was expected that this study would be the solution to reduce the total cost and improve inventory value and inventory turnover rate. The study focused on connector products group A materials which were sales value 80% of the total connector product. The simulation of material requirements planning in conjunction with safety stock level applied to materials of connector product group A. There were 4 different methods: Economic Order Quantity or Economic Production Quantity, Period Order Quantity, Silver-Meal, and Least Unit Cost. And material requirement planning with reorder point applied to materials of connector product groups B and C. The results of the research showed that there were 2 materials of connector product group A suited for Static lot sizing methods such as Economic Order Quantity method or Economic Production Quantity method, which could reduce total costs by 18.98% compared with the original method. The other 73 materials were suitable for Dynamic lot sizing methods, there were 35 materials for Silver Meal, 17 materials for Least Unit Cost, 12 materials for Period order quantity, and 9 materials for any methods. These methods can reduce total costs by 7.60% - 11.14% compared with the original method. If select the planning method from the lowest cost method, it resulted in a total cost reduction of 37,652,567 baht or 12.84% compared with the original method. In addition, it also resulted in the total inventory value at the end of the period decreasing from the original 4,583,708 baht or 4.91%, and the inventory turnover rate improved 2 days. However, in real operations, the researcher suggested that the selection of the Silver-Meal method would be good for the operator, it was not too confusing to many methods and mistakes. Silver-Meal was the best total cost after the lowest cost method which could reduce the total cost by 11.14% compared with the original method. For materials of connector product groups, B and C applied to reorder point with material requirements planning to make the standardized planning method and reduce the risk of missing materials due to unsystematic planning. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การวางแผนความต้องการวัสดุและการกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่สำหรับผลิตภัณฑ์คอนเนคเตอร์ | en_US |
dc.title.alternative | Material requirements planning and determining reorder point for connector product | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | สินค้าคงคลัง | - |
thailis.controlvocab.thash | การควบคุมสินค้าคงคลัง | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเพื่อกำหนดนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสมสำหรับวัสดุของผลิตภัณฑ์คอนเนคเตอร์ โดยการวางแผนความต้องการวัสดุด้วยวิธีกำหนดขนาดปริมาณการสั่งซื้อ และจุดสั่งซื้อใหม่ เนื่องจากบริษัทกรณีศึกษามีการถือคลองมูลค่าสินค้าคงคลังและอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังที่ค่อนข้างสูง และไม่มีวิธีการที่เป็นมาตรฐานในการวางแผนสั่งซื้อของผลิตวัสดุ ซึ่งคาดว่าจะการศึกษานี้จะเป็นแนวทางที่ทำให้ต้นทุนรวมลดลง สามารถปรับปรุงมูลค่าสินค้าคงคลัง และอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังได้ โดยมุ่งเน้นไปที่วัสดุในการผลิตภัณฑ์คอนเนคเตอร์กลุ่ม A ที่มีมูลค่าการขาย 80% ของผลิตภัณฑ์คอนเนคเตอร์ทั้งหมด โดยการจำลองการวางแผนความต้องการวัสดุร่วมกับการกำหนดระดับสินค้าคงคลังสำรอง ด้วยวิธีที่แตกต่างกับ 4 วิธี ได้แก่ วิธี Economic Order Quantity หรือ Economic Production Quantity, วิธี Period Order Quantity, Silver- Meal และวิ Least Unit Cost ส่วนการวางแผนความต้องการวัสดุที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์คอนเนคเตอร์ กลุ่ม B และ C ใช้การกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ ผลจากงานวิจัยพบว่าวัสดุในการผลิตภัณฑ์คอนเนคเตอร์กลุ่ม A มี 2 รายการที่เหมาะกับวิธีแบบ Static lot sizing หรือ วิธี Economic Order Quantity หรือ Economic Production Quantity ซึ่งสามารถลดต้นทุนได้ 18.98% เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเดิม ส่วนวัสดุอีก 73 รายการ เหมาะกับวิธี Dynamic lot sizing ได้แก่ วิธี Silver-Meal 35 รายการ, วิธี Least Unit Cost 17 ร ายการ, วิธี Period order quantity 12 รายการ และวิธีใดก็ได้ 9 รายการ ซึ่งวิธีเหล่านี้สามารถลดต้นทุนได้ 7.60% - 11.14% เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเดิม และเมื่อเลือกวิธีการวางแผนจากวิธี ที่ต้นทุนต่ำที่สุดจะส่งผลทำให้ต้นทุนรวมลดลง 37,652,567 บาทหรือลดลง 12.84% เมื่อเปรียบเที่ยบกับวิธีเดิม นอกจากนั้นยังส่งผลทำให้มูลค่าสินค้าคงคลังรวม ณ สิ้นงวด ลดลงจากเดิม 4,583,708 บาท หรือลดลง 4.91% และอัตราการหมุนเวียนสินค้าคงคลังลดลง 2 วัน เพื่อให้เหมาะสมกับนำไปใช้การปฏิบัติงานจริง ผู้วิจัยเสนอการเลือกการวางแผนความต้องการวัสดุ โดยวิธี Silver-Meal วิธีเดียว เพราะเป็นวิธีที่ทำให้เกิดต้นทุนรวมที่ดีรองลงมาจากวิธีที่ต้นทุนต่ำที่สุด ซึ่งสามารถลดต้นทุนรวมได้ 11.14% เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีเดิม เพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากและสับสนแก่ผู้ปฏิบัติงานลดความผิดพลาดจากการใช้รูปแบบวิธีการวางแผนที่หลากหลายเกินไป ส่วนการวางแผนวัสดุที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์คอนเนคเตอร์ กลุ่ม B และ C โดยกำหนดจุดสั่งซื้อใหม่ ทำให้วิธีการวางแผนเป็นวิธีการที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการเกิดวัสดุขาดมือ เนื่องมาจากการวางแผนที่ไม่เป็นระบบ | en_US |
Appears in Collections: | ENG: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630632058 พรรณธิภา อินเสาร์.pdf | 4.92 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.