Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78611
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorชาธิปัตย์ กิตติธนดิตถ์en_US
dc.date.accessioned2023-08-04T01:31:24Z-
dc.date.available2023-08-04T01:31:24Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78611-
dc.description.abstractThe objectives of this research were: 1) to analyze the opinions on the principles, concepts, laws and practices relating to the registration of records as a person without registration status; 2) to suggest guidelines for solving legal problems and guidelines that bring about a balance. between justice, humanity and national security. 3) Analyze awareness, perceive the importance of roles, duties, exercise of discretion. certifying status for those without registration status of the officers involved. 4) surveying the knowledge and understanding concerning presence and submitting an application for registration status to the government of those without registration status. It is a quantitative and qualitative research. by using a questionnaire and an in-depth interview. The main informant was Mae Taeng District Chief. Operators, community leaders, and people without registration status in Mae Taeng District Chiang Mai Province, a total of 352 cases.1) Principles, concepts and laws governing the principle of naturalization by birth There is a limitation in finding clear evidence to confirm one's identity. The officers were not confident in the evidence. The civil registration system is not correct in accordance with the facts. causing abuse of power 2) The solution is to survey the information and prepare the civil registration of persons without registration status to be correct. The reduction of restrictive legal conditions requires careful consideration as it may affect the security of the state. It is very important. 3) Officers are aware of the importance of their roles and duties. Use of discretion to certify status for those without registration status fairly and equally The problem encountered was the use of language in communicating with officials, resulting in a delay in background investigations. and caused misunderstandings from the facts. 4) Persons without registration status, having knowledge and understanding about their presence and submitting an application for civil registration status to the government. but does not proceed with the submission of a personal history registration without registration status The researcher has suggestions for the next study. A study should be done on the importance of persons without registration status in the preparation of records of persons without registration status. to fix the problem furtheren_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleแนวทางการแก้ไขปัญหาบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนในการจัดทำทะเบียนประวัติในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeGuidelines for solving the problems of non-registered status persons in the profile registration provision in Mae Taeng District, Chiang Mai provinceen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashทะเบียนราษฎร์ - - แม่แตง (เชียงใหม่)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ ความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ข้อกฎหมาย และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำทะเบียนประวัติเป็นบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียน 2) เสนอแนะ แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ทำให้เกิดจุดสมดุล ระหว่างความเป็นธรรม ความมีมนุษยธรรม กับ ความมั่นคงของชาติ 3) วิเคราะห์ ความตระหนัก รับรู้ ถึงความสำคัญเกี่ยวกับ บทบาทหน้าที่ การใช้อำนาจดุลยพินิจ รับรองสถานภาพให้ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 4) สำรวจความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงตนและยื่นดำเนินการขอสถานะทางทะเบียนต่อทางราชการของผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นายอำเภอแม่แตง เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ผู้นำชุมชน และผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนในอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ รวม 352 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) หลักการ แนวคิด ข้อกฎหมายว่าด้วยหลักการให้สัญชาติโดยการเกิด มีข้อจำกัดในการหาหลักฐานที่ชัดเจนมายืนยันตน เจ้าหน้าที่ไม่มีความมั่นใจในหลักฐาน ระบบทะเบียนราษฎร ไม่ถูกต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริง ทำให้มีการใช้อำนาจโดยมิชอบ 2) แนวทางการแก้ไข คือ สำรวจข้อมูลและจัดทำทะเบียนราษฎรบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนให้ถูกต้อง ส่วนการลดเงื่อนไขข้อกฎหมายที่เป็นข้อจำกัดต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก 3) เจ้าหน้าที่มีความตระหนัก รับรู้ ถึงความสำคัญในบทบาทหน้าที่ การใช้อำนาจดุลยพินิจรับรองสถานภาพแก่ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนได้อย่างยุติธรรมและเสมอภาค ปัญหาที่พบคือการใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ส่งผลให้การสอบสวนประวัติล่าช้า และเกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง 4) ผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงตนและยื่นดำเนินการขอสถานะทางทะเบียนราษฎรต่อทางราชการ แต่ไม่ดำเนินการยื่นจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียน โดยผู้ศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ควรทำการศึกษาเรื่องการให้ความสำคัญของบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนในการจัดทำทะเบียนประวัติบุคคลไม่มีสถานะทางทะเบียนได้ทำการศึกษาหาสาเหตุเพื่อแก้ไขปัญหาต่อไปen_US
Appears in Collections:POL: Independent Study (IS)



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.