Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78590
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมชาย จอมดวง-
dc.contributor.authorปราชญ์ณิชา สุภานนท์en_US
dc.date.accessioned2023-07-26T09:57:36Z-
dc.date.available2023-07-26T09:57:36Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78590-
dc.description.abstractThis research aimed to an appropriate method for extracting of bioactive compounds from silkworm (Bombyx mori L.) solid excrete (SSE). Two forms of SSE (fresh anddried) wereobtained from the fifth instarof Tubtimsiam 06 x Wanasawan variety silkworm. It was found that bothforms of SSE contained similar amount of 1-deoxynojirimycin (DNJ), which were about half in content as compare with that in fresh mulberry leaves. It was also found that the fresh SSE had chlorophylls and antioxidant activities more than the dried one. Due to high in bioactive compounds, the fresh SSE was selected to use as raw material in this study. For 6 log CFU/g reduction of initial microbial load, the high effective method was SSE soaking in hot water (95 degrees Celsius) for 10 minutes. Therefore, the method was used for bioactive compounds extraction at 1:5 w/w ratio of fresh SSE to hot water. The extracted SSE after filtration and cake separation, containedthe highest DNJ and total phenolic compound. The SSE extract solution was concentrated by using vacuum evaporator and added with 2 percent of silicon dioxide (anticaking agent), then the concentrated extract solution was dried and crushed into powder. Drying with hot air dryer at 70 degrees Celsius was suitable for the concentrated extract, because of the low production cost. From the selected processing step, it provided 6.91 ± 0.24 percent of production yield, 10.82 ± 0.425 mg/g sample of DNJ and approximately 7 folds of DNJ concentration compared to fresh mulberry leave. After filling the provided powder into No. 1 capsule (300 mg) and packing in sealed plastic bottle and storage in 5, 25 degree Celsius and room temperature (26-30 degrees Celsius). It was found that all storage temperature had similar a little bit of DNJ decreasing. From room temperature storage for 4 months, it was found that this extract powder had 8.58 ±0.76 mg/g sample of DNJ which was remained about 79.29 ±1.44 percent of the original extract powder.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการแยกสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากของแข็งที่หนอนไหม (Bombyx mori L.) ขับออกสําหรับผลิตเป็นผงen_US
dc.title.alternativeSeparation of bioactive compounds from Silkworm (Bombyx mori L.) solid excrete for powder productionen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashหนอนไหม สารสกัด-
thailis.controlvocab.thashสารสกัดจากสัตว์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสภาวะการแยกสารออกฤทธิ์ชีวภาพจากของแข็งที่หนอนไหม (Bombyx mori L.) ขับออกเพื่อทำเป็นผง จากการนำของแข็งที่หนอนไหมขับออกทั้งรูปแบบสดและแห้ง ที่ได้จากหนอนไหมวัย 5 พันธ์ถูกผสมทับทิมสยาม 06 x วนาสวรรค์ ไปศึกษาพบว่ามีปริมาณดีออกซีโนจิริไมซิน (ฐานแห้ง) มีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน แต่ต่ำกว่าในใบหม่อนสด (ฐานแห้ง) ประมาณครึ่งหนึ่ง และยังประกอบด้วยคลอโรฟิลล์ในปริมาณสูง จากการศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของวัตถุดิบรูปแบบสดพบว่า มีค่าสูงกว่าในรูปแบบแห้ง ดังนั้นในงานวิจัยนี้ได้นำวัตถุดิบที่เป็นของแข็งที่หนอนไหมขับออกรูปแบบสด ที่มีปริมาณสารออกฤทธิ์ชีวภาพสูงกว่า ไปศึกษาการลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ทั้งหมดเริ่มต้น ให้มีปริมาณลคลงต่ำกว่า 6 ล็อก ซีเอฟยูต่อกรัม พบว่า วิธีที่ได้ผลดี คือ การแช่ในน้ำร้อน (95 องศาเซลเซียส) เป็นเวลา 10 นาที ซึ่งวิธีนี้ถูกนำไปใช้ในการสกัดแยกสารออกฤทธิ์ชีวภาพ โดยใช้อัตราส่วมวัตถุดิบรูปแบบสดต่อน้ำร้อนเป็น 1 ต่อ 5 โดยน้ำหนัก หลังกรองแล้วแยกกากออก ได้เป็นสารสกัดของแข็งที่หนอนไหมขับออก ที่มีปริมาณดีออกซีโนจิริไมซิน และสารประกอบฟีนอลสูงที่สุด จากนั้นนำสารสกัดนี้ไปทำเป็นสารสกัดเข้มข้น โดยการระเหยแบบสูญญากาศ แล้วเติมซิลิกอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นสารป้องกันการจับตัวเป็นก้อน ในปริมาณร้อยละ 2 ของน้ำหนักสารสกัดเข้มข้น เมื่อนำไปศึกษาวิธีการอบแห้งก่อนบดผง พบว่า การอบแห้งด้วยเครื่องอบแห้งแบบลมร้อนที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส มีความเหมาะสม มีต้นทุนการผลิตที่ต่ำ และพบว่าสารออกฤทธิ์ชีวภาพยังคงเหลืออยู่สูงในผงสารสกัดนี้ จากกระบวนการผลิตที่ได้นี้ ให้ผลผลิตผงสารสกัดร้อยละ 6.91±0.24 ของวัตถุดิบรูปแบบสด มีปริมาณดีออกซีโนจิริไมซิน 10.82±0.25 มิลลิกรัมต่อกรัมตัวอย่าง ซึ่งมีความเข้มข้นของสารนี้เพิ่มขึ้นประมาณ 7 เท่าของใบหม่อนสด เมื่อนำผงสารสกัดนี้ใส่แคปซูลเบอร์ 1 (300 มิลลิกรัม) แล้วบรรจุในขวดพลาสติกปิดสนิท พบว่า การเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 5, 25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิห้อง (26-30 องศาเซลเซียส) ปริมาณดีออกซีโนจิริไมซินมีการเปลี่ยนแปลงลดลงเล็กน้อย จากการเก็บรักษาที่อุณหภูมิห้อง 4 เดือน พบว่า ผงสารสกัดนี้มีปริมาณดีออกซีโนจิริไมซินอยู่ 8.58±0.64 มิลลิกรัมต่อกรัมตัวอย่าง ซึ่งยังคงมีการหลงเหลืออยู่ร้อยละ 79.29±1.44 ของผงผงสารสกัดเริ่มต้นen_US
Appears in Collections:AGRO: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621331013 ปราชญ์ณิชา สุภานนท์.pdf7 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.