Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78583
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ฐิติมา สุขเลิศตระกูล | - |
dc.contributor.advisor | เนตรทอง นามพรม | - |
dc.contributor.author | รติพร บัวบาน | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-25T14:53:57Z | - |
dc.date.available | 2023-07-25T14:53:57Z | - |
dc.date.issued | 2023-01 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78583 | - |
dc.description.abstract | Father involvement in the care of preterm infants in neonatal care unit is important for the physical health, the psychological health, and the development of preterm infants. This descriptive correlational study aimed to explore father involvement in caring for preterm infants and to study the relationship between the personal data of fathers, father sense of competence, and father social support for involvement in the care of preterm infants in neonatal care unit. The participants were fathers of preterm infants admitted to the neonatal care unit at Maharaj Nakorn Chiang Mai Hospital; the Health Promotion Center Region 1, Chiang Mai; Chiang Rai Prachanukroh Hospital; and Nakhon Phanom Hospital between July and October 2022. The participants were selected by purposive sampling following the inclusion criteria and consisted of 85 cases. The research instruments consisted of the Personal Data Record of Fathers and Preterm Infants Form, the Father Involvement of Preterm Infants Care Questionnaire, the Father Sense of Competence Questionnaire, and the Father Social Support of Preterm Infants Questionnaire. The data were analyzed using descriptive statistics, Eta correlation coefficient, and Pearson’s product-moment correlation. The results showed that 58.82% of fathers had overall father involvement in caring for preterm infants in neonatal care unit in a moderate level (x̄=72.74, SD = 14.24). Education level and income had a positive, statistically significant correlations with father involvement in caring for preterm infants in neonatal care unit (η=.726, p<.01 and η=.757, p<.05, respectively). Father social support had a positive statistically significant correlation with father involvement in caring for preterm infants in neonatal care unit in a moderate level (r=.407, p<.01). The results of this research can be used as basic information to guide nursing planning to appropriately encourage father involvement in caring for preterm infants in neonatal care unit. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของบิดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด | en_US |
dc.title.alternative | Factors related to father involvement in caring for preterm infants in neonatal care unit | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | บิดาและทารก | - |
thailis.controlvocab.thash | ทารก -- การดูแล | - |
thailis.controlvocab.thash | ทารกคลอดก่อนกำหนด -- การดูแลรักษาในโรงพยาบาล | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การมีส่วนร่วมของบิดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิดมีความสำคัญต่อภาวะสุขภาพทางด้านร่างกาย จิตใจและพัฒนาการของทารกเกิดก่อนกำหนด การศึกษาเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของบิดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของบิดา การรับรู้ความสามารถของบิดาและการสนับสนุนทางสังคมของบิดา กับการมีส่วนร่วมของบิดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด กลุ่มตัวอย่าง คือ บิดาของทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิด ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์และโรงพยาบาลนครพนม ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2565 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของบิดาและทารกเกิดก่อนกำหนด แบบประเมินการมีส่วนร่วมของบิดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของบิดาทารกเกิดก่อนกำหนด และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของบิดาเกิดก่อนกำหนด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อีต้าและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของบิดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิดโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=72.74, SD=14.24) คิดเป็นร้อยละ 58.82 ระดับการศึกษาและรายได้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการมีส่วนร่วมของบิดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด (η=.726, p<.01 และ η=.757, p<.05 ตามลำดับ) การสนับสนุนทางสังคมของบิดามีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการมีส่วนร่วมของบิดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิด (r=.407, p<.01) ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้เป็นแนวทางในการวางแผนการพยาบาลเพื่อส่งเสริมให้บิดาเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดในหออภิบาลทารกแรกเกิดมากขึ้น | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631231171_รติพร บัวบาน.pdf | 8.14 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.