Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78542
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Sureeporn Uthaikhup | - |
dc.contributor.advisor | Gwendolen Jull | - |
dc.contributor.advisor | Julia Treleaven | - |
dc.contributor.author | Nipaporn Wannaprom | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-22T07:46:41Z | - |
dc.date.available | 2023-07-22T07:46:41Z | - |
dc.date.issued | 2023-01 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78542 | - |
dc.description.abstract | Scapular dysfunction has been demonstrated in patients with nonspecific neck pain. However, clinical characteristics of scapular dysfunction to neck pain remain unclear and need to be further investigated. The general aims of this thesis were 1) to investigate reliability of clinical assessments of scapular dysfunction in patients with nonspecific neck pain, 2) to determine characteristics of neck pain and scapular dysfunction in relation to neck pain 3) to investigate the behavior of the axioscapular (upper trapezius: UT, lower trapezius: LT and serratus anterior: SA) and neck extensor (NE) muscles during isometric shoulder tasks in patients with neck pain with scapular dysfunction. The first aim consisted of two studies (study I and II). Study I investigated inter-rater reliability and intra-rater (live vs video) of visual observation of scapular dyskinesis in patients with neck pain (n = 69). Two examiners categorized scapular dyskinesis on the side of neck pain during unilateral and bilateral arm elevation using simple (yes/no) and specific type (winging, dysrhythmia, mixed abnormality or normal) classifications. One examiner randomly reviewed the video recordings. The results demonstrated moderate to very good inter-rater and moderate to good intra-rater reliability (live and video) of visual observation for identifying scapular dyskinesis in neck pain patients. Study II evaluated reliability of manual scapular repositioning for changes in neck pain and rotation range and patients’ perceptions in patients with neck pain and altered scapular alignment (n = 69). Two examiners performed manual scapular repositioning on the side of neck pain. Neck pain intensity and rotation range were measured at baseline and during the modified scapular position. Response to scapular repositioning were defined as “improved” (changes in pain >2/10, range ≥7 degrees and much better for perception) and “no change”. The results demonstrated good reliability between examiners and moderate agreement between the measured changes and patients’ perception. The second aim consisted of three studies (study III, IV and V). Study III investigated clinical characteristics of patients with neck pain who responded and did not respond to scapular repositioning in patients with neck pain and altered scapular alignment (n = 144). Clinical characteristics were neck pain intensity, duration, disability, headache, type of scapular dysfunction, cervical musculoskeletal impairment (range of motion, flexion rotation test and symptomatic cervical joint dysfunction), upper limb functional limitation and self-reported disability. Manual scapular repositioning was performed on the side of neck pain. Change scores in neck pain intensity and rotation range were used to define responsive and non-responsive participants. The results showed that 107 participants responded and 37 did not respond to the scapular repositioning. The responsive group had the presence of headache, scapular downward rotation and upper cervical spine dysfunction while the non-responsive group had scapular protraction and lower cervical spine dysfunction (p < 0.05). Study IV investigated clavicular and scapular orientations and identify subgroups of neck pain patients in patients with neck pain and altered scapular alignment (n = 58). The scapular orientations were measured on the side of neck pain. Cluster analysis identified two subgroups of neck pain: subgroup 1 with greater clavicular retraction and scapular downward rotation (SDR) and subgroup 2 with greater clavicular elevation, scapular internal rotation, and anterior tilt. Subgroup 1 had higher incidences of headache, more pain in upper neck and positive responses to scapular repositioning (p < 0.01). Subgroup 2 had more pain in lower neck and no response to scapular repositioning (p < 0.01). Study V investigated clavicular, scapular, and spinal kinematics in patients with neck pain with observed (i) scapular winging, (ii) scapular dysrhythmia, (iii) no scapular dyskinesis and asymptomatic controls (n = 20 in each group). The kinematics data was measured during unilateral arm elevation and lowering at 30°, 60°, 90°, and 120°. The results showed that the neck pain group with scapular winging had decreased clavicular retraction and increased scapular internal rotation and anterior tilt and those with scapular dysrhythmia had decreased scapular upward rotation (p < 0.01). The third aim included one study (study VI). Study VI investigated the behavior of the axioscapular (UT, LT and SA) and NE muscles during isometric shoulder tasks in patients with neck pain with SDR, those with no scapular dysfunction and asymptomatic controls (n = 30 in each group). Electromyographic signals were recorded unilaterally from the UT, LT, SA and NE during isometric shoulder 30°flexion, 30°abduction and 30°external rotation at 20%, 50% and 100% maximal voluntary contraction (MVC). The results revealed that the neck pain group with SDR had increased UT activity and UT/LT and UT/SA ratios at low load tasks (20% and 50% MVC) in shoulder flexion and abduction (p < 0.05). The neck pain group with and without SDR had greater NE activity in all tasks (p < 0.001). In conclusion, this thesis provides evidence for clinical assessment and nature of the scapular dysfunction in patients with neck pain. Visual observation is a reliable tool for screening scapular dyskinesis and manual scapular repositioning is a reliable tool for identifying scapular dysfunction in relation to neck pain. Scapular dysfunction is common, but not necessary to be related to neck pain in all cases. Altered scapular kinematics and muscle activity are influenced by type of scapular dyskinesis. The overall results suggest that patients with neck pain with scapular dysfunction should not be regarded as a homogenous group. Benefits for the patient may be gained if the scapular dysfunctions are addressed with specific exercise strategies in management. | en_US |
dc.language.iso | en | en_US |
dc.publisher | Chiang Mai : Graduate School, Chiang Mai University | en_US |
dc.title | The relevance of scapular dysfunction in neck pain: clinical features, kinematics, and muscle activity | en_US |
dc.title.alternative | ความเกี่ยวข้องของความผิดปกติของกระดูกสะบักต่ออาการปวดคอ: ลักษณะทางคลินิก จลนศาสตร์ และการทำงานของกล้ามเนื้อ | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.lcsh | Bones | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Bones -- Abnormalities | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Neck pain | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Muscles | - |
thailis.controlvocab.lcsh | Musculoskeletal system | - |
thesis.degree | doctoral | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ความผิดปกติของกระดูกสะบักถูกพบในผู้ที่มีอาการปวดคอแบบไม่เฉพาะเจาะจง แต่อย่างไรก็ตามลักษณะทางคลินิกของความผิดปกติของกระดูกสะบักที่สัมพันธ์กับอาการปวดคอยังไม่ทราบชัดเจนและจำเป็นต้องได้รับการศึกษาเพิ่มเติม วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ทั่วไป คือ 1) เพื่อศึกษาความน่าเชื่อถือของการตรวจประเมินทางคลินิกของความผิดปกติของกระดูกสะบักในผู้ที่มีอาการปวดคอแบบไม่เฉพาะเจาะจง 2) เพื่อศึกษาลักษณะของอาการปวดคอและความผิดปกติของกระดูกสะบักที่สัมพันธ์กับอาการปวดคอ 3) เพื่อศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อสะบัก (upper trapezius: UT, lower trapezius: LT และ serratus anterior: SA) และกล้ามเนื้อเงยคอ (neck extensor: NE) ขณะที่ออกแรงเกร็งข้อไหล่คงที่ในผู้ที่มีอาการปวดคอและมีความผิดปกติของกระดูกสะบัก วัตถุประสงค์ที่ 1 ประกอบด้วยการศึกษาสองเรื่อง (การศึกษาที่ 1 และ 2) การศึกษาที่ 1 ศึกษาความน่าเชื่อถือระหว่างผู้ประเมินและภายในผู้ประเมิน (การเคลื่อนไหวขณะทำจริงเทียบกับวิดีโอ) ของการสังเกตความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักด้วยสายตาในผู้ที่มีอาการปวดคอ (จำนวน 69 คน) ผู้ประเมิน 2 คน ประเมินความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักด้านเดียวกับข้างที่มีอาการปวดคอ ขณะยกแขนข้างเดียวและสองข้าง โดยใช้เกณฑ์แบบง่าย (มี/ไม่มี) และแบบระบุประเภท (กระดูกสะบักนูนออก เคลื่อนไหวไม่ราบเรียบ เคลื่อนไหวผิดปกติร่วมกัน หรือเคลื่อนไหวปกติ) และหนึ่งในผู้ประเมินสังเกตการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักจากวิดีโอที่ถูกสุ่มลำดับ ผลการศึกษาพบว่า ความน่าเชื่อถือจากการสังเกตด้วยสายตาในการระบุความผิดปกติของกระดูกสะบักระหว่างผู้ประเมินอยู่ในระดับปานกลางถึงดีมาก และความน่าเชื่อถือภายในผู้ประเมินอยู่ในระดับปานกลางถึงดี การศึกษาที่ 2 ประเมินความน่าเชื่อถือของการปรับตำแหน่งกระดูกสะบักด้วยมือต่อการเปลี่ยนแปลงของอาการปวดคอและช่วงการหมุนคอ และการรับรู้ของผู้ป่วยในผู้ที่มีอาการปวดคอและมีการวางตัวของกระดูกสะบักผิดปกติ (จำนวน 69 คน) ผู้ประเมิน 2 คน ทำการปรับตำแหน่งกระดูกสะบักด้านเดียวกับข้างที่มีอาการปวดคอ ความรุนแรงของอาการปวดคอและช่วงการหมุนคอถูกวัดก่อนและขณะปรับตำแหน่งกระดูกสะบัก การตอบสนองต่อการปรับตำแหน่งกระดูกสะบักแบ่งออกเป็น "ดีขึ้น" (การเปลี่ยนแปลงของอาการปวด > 2/10 ช่วงการหมุนคอ ≥ 7 องศา และการรับรู้ระดับดีขึ้นมาก) และ "ไม่เปลี่ยนแปลง" ผลการศึกษาพบว่า ความน่าเชื่อถือระหว่างผู้ประเมินอยู่ในระดับดี และความสอดคล้องระหว่างการเปลี่ยนแปลงที่วัดได้และการรับรู้ของผู้ป่วยอยู่ในระดับปานกลาง วัตถุประสงค์ที่ 2 ประกอบด้วยการศึกษาสามเรื่อง (การศึกษาที่ 3, 4 และ 5) การศึกษาที่ 3 ศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ที่มีอาการปวดคอที่ตอบสนองและไม่ตอบสนองต่อการปรับตำแหน่งกระดูกสะบักในผู้ที่มีอาการปวดคอและมีการวางตัวของกระดูกสะบักผิดปกติ (จำนวน 144 คน) ลักษณะทางคลินิกที่ศึกษา ได้แก่ ความรุนแรง ระยะเวลา และความบกพร่องที่เกิดขึ้นเนื่องจากอาการปวดคอ อาการปวดศีรษะ ประเภทความผิดปกติของกระดูกสะบัก ความบกพร่องของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณคอ (ช่วงการเคลื่อนไหว ความผิดปกติของข้อต่อคอส่วนบน และความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของข้อต่อคอ) การจำกัดการทำงานของรยางค์แขน และความบกพร่องในการทำกิจกรรม การปรับตำแหน่งกระดูกสะบักทำด้านเดียวกับข้างที่มีอาการปวดคอ การเปลี่ยนแปลงความรุนแรงของอาการปวดคอและช่วงการหมุนคอถูกนำมาใช้เพื่อแบ่งผู้ที่ตอบสนองและไม่ตอบสนอง ผลการศึกษาพบว่า 107 คน ตอบสนอง และ 37 คน ไม่ตอบสนองต่อการปรับตำแหน่งกระดูกสะบัก กลุ่มที่ตอบสนองมีอาการปวดศีรษะ กระดูกสะบักหมุนลง และมีความผิดปกติของข้อต่อคอส่วนบน ขณะที่กลุ่มที่ไม่ตอบสนองมีกระดูกสะบักกางออก และมีความผิดปกติของข้อต่อคอส่วนล่าง (p < 0.05) การศึกษาที่ 4 ประเมินการวางตัวของกระดูกไหปลาร้าและกระดูกสะบัก และระบุกลุ่มย่อยของผู้ที่มีอาการปวดคอในผู้ที่มีอาการปวดคอและมีการวางตัวของกระดูกสะบักผิดปกติ (จำนวน 58 คน) ลักษณะการวางตัวของกระดูกสะบักถูกวัดด้านเดียวกับข้างที่มีอาการปวดคอ ผลการศึกษาพบ 2 กลุ่มย่อยของผู้ที่มีอาการปวดคอ โดยกลุ่มย่อยที่ 1 มีกระดูกไหปลาร้าหดรั้งและกระดูกสะบักหมุนลง และกลุ่มย่อยที่ 2 มีกระดูกไหปลาร้ายกขึ้นและกระดูกสะบักหมุนเข้าด้านในและเอียงไปด้านหน้า กลุ่มย่อยที่ 1 มีอาการปวดศีรษะ ปวดคอส่วนบน และตอบสนองต่อการปรับตำแหน่งกระดูกสะบัก (p < 0.01) กลุ่มย่อยที่ 2 มีอาการปวดคอส่วนล่าง และไม่ตอบสนองต่อการปรับตำแหน่งกระดูกสะบัก (p < 0.01) การศึกษาที่ 5 ศึกษาจลนศาสตร์ของกระดูกไหปลาร้า กระดูกสะบัก และกระดูกสันหลังในผู้ที่มีอาการปวดคอที่มีการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักแบบนูนออก เคลื่อนไหวไม่ราบเรียบ และเคลื่อนไหวปกติ เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่มีอาการปวดคอ (จำนวน 20 คนต่อกลุ่ม) จลนศาสตร์ถูกวัดขณะยกแขนข้างเดียวขึ้นและลงที่มุม 30◦, 60◦, 90◦ และ 120◦ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มปวดคอที่มีกระดูกสะบักนูนออกมีการหดรั้งของกระดูกไหปลาร้าลดลง และมีการหมุนเข้าด้านในและเอียงไปด้านหน้าของกระดูกสะบักเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มปวดคอที่มีการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักไม่ราบเรียบมีการหมุนขึ้นของกระดูกสะบักลดลง (p < 0.01) วัตถุประสงค์ที่ 3 มีการศึกษาหนึ่งเรื่อง (การศึกษาที่ 6) การศึกษาที่ 6 ศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อสะบัก (UT, LT และ SA) และกล้ามเนื้อเงยคอ (NE) ขณะที่ออกแรงเกร็งข้อไหล่คงที่ในผู้ที่มีอาการปวดคอและมีกระดูกสะบักหมุนลง ผู้ที่มีอาการปวดคอที่ไม่มีความผิดปกติของกระดูกสะบัก และผู้ที่ไม่มีอาการปวดคอ (จำนวน 30 คนต่อกลุ่ม) สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อถูกบันทึกข้างเดียวจากกล้ามเนื้อ UT, LT, SA และ NE ในขณะที่ข้อไหล่ออกแรงเกร็งคงที่ ที่มุมงอไหล่ 30° กางไหล่ 30° และหมุนไหล่ออก 30° ที่ 20%, 50% และ 100% ของการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มปวดคอที่มีกระดูกสะบักหมุนลงมีการทำงานของ UT และอัตราส่วน UT/LT และ UT/SA เพิ่มขึ้นขณะออกแรงเกร็งคงที่ระดับต่ำ (20% และ 50%) ในท่างอไหล่และกางไหล่ (p < 0.05) กลุ่มปวดคอที่มีและไม่มีกระดูกสะบักหมุนลงมีการทำงานของ NE เพิ่มขึ้นในทุกการทดสอบ (p < 0.001) โดยสรุป วิทยานิพนธ์นี้แสดงหลักฐานงานวิจัยสำหรับการตรวจประเมินทางคลินิกและลักษณะของความผิดปกติของกระดูกสะบักในผู้ที่มีอาการปวดคอ การสังเกตด้วยสายตาเป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือในการคัดกรองความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบัก และการปรับตำแหน่งกระดูกสะบักด้วยมือเป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือในการระบุความผิดปกติของกระดูกสะบักที่สัมพันธ์กับอาการปวดคอ ความผิดปกติของกระดูกสะบักสามารถพบได้โดยทั่วไป แต่ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับอาการปวดคอในทุกกรณี จลนพลศาสตร์ของกระดูกสะบักและการทำงานของกล้ามเนื้อที่เปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับประเภทของความผิดปกติของกระดูกสะบัก ผลการศึกษาโดยภาพรวมเสนอแนะว่า ผู้ที่มีอาการปวดคอและมีความผิดปกติของกระดูกสะบักไม่ควรจัดเป็นกลุ่มเดียวกัน ผู้ที่มีอาการปวดคอจะได้รับประโยชน์จากการรักษา หากความผิดปกติของกระดูกสะบักได้รับการแก้ไขด้วยการออกกำลังกายที่เฉพาะเจาะจง | en_US |
Appears in Collections: | AMS: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
611155902-NIPAPORN WANNAPROM.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.