Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78494
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบังอร ศุภวิทิตพัฒนา-
dc.contributor.advisorพรรณพิไล ศรีอาภรณ์-
dc.contributor.authorชวาลา บัวหอมen_US
dc.date.accessioned2023-07-15T06:10:28Z-
dc.date.available2023-07-15T06:10:28Z-
dc.date.issued2022-11-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78494-
dc.description.abstractA lack of breastfeeding experience in first-time mothers undergoing cesarean section may affect self-confidence in the ability to breastfeed her infant leading to unsuccessful exclusive breastfeeding. The purpose of this quasi-experimental research was to compare the rates of exclusive breastfeeding among the experimental group, who received the Self-efficacy Enhancement Program via Electronic Media on Breastfeeding and routine nursing care, and the control group who received routine nursing care. The participants were 44 first-time mothers undergoing cesarean section admitted into the postpartum ward at Nakhon Phanom Hospital, Nakhon Phanom Province, from March to September 2022. The participants were selected according to the inclusion criteria and evenly distributed into a control group and an experimental group with 22 per group, matched according to age and breastfeeding self-efficacy score. The research intervention instruments consisted of 1) the Self-efficacy Enhancement Program via Electronic Media on Breastfeeding, 2) the Telephone Collaboration with LINE Application Follow-up Recording Form, and 3) the Breastfeeding Self-efficacy scale short-form Thai Version by Jintrawet, Somboon, and Tongswas (2009). The data collection instruments included 1) the Personal Data Record Form, and 2) the Breastfeeding Questionnaire. Data were analyzed using descriptive statistics, Fisher’s exact test, Chi-square test, and Mann-Whitney U test. The finding of this study revealed that first-time mothers undergoing cesarean section in the experimental group had statistically significant higher exclusive breastfeeding rates than those of the control group (p < .05). The results of this study suggest that nurse-midwives can use the Self-efficacy Enhancement Program via Electronic Media to promote breastfeeding among first-time mothers undergoing cesarean section.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาผ่าตัดคลอดที่มีบุตรคนแรกen_US
dc.title.alternativeEffect of the self-efficacy enhancement program via electronic media on breastfeeding among first-time mothers undergoing cesarean sectionen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่-
thailis.controlvocab.thashการผ่าท้องทำคลอด-
thailis.controlvocab.thashสื่ออิเล็กทรอนิกส์-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractมารดาผ่าตัดคลอดที่มีบุตรคนแรก ที่ขาดประสบการณ์ในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอาจมีผลต่อความเชื่อมั่นในความสามารถของตนเองต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาซึ่งนำไปสู่การไม่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว การศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว ในมารดาผ่าตัดคลอดที่มีบุตรคนแรก ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาร่วมกับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีบุตรคนแรก จำนวน 44 ราย มารับบริการ ณ หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2565 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ให้มีความใกล้เคียงกันของอายุ และคะแนนการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา 2) แบบบันทึกการติดตามทางโทรศัพท์ร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ และ 3) แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาฉบับภาษาไทย โดย อุษณีย์ จินตะเวช, ลาวัลย์ สมบูรณ์, และ เทียมศร ทองสวัสดิ์ (2553) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และ 2) แบบสอบถามการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบของฟิชเชอร์เอ็กแซค สถิติทดสอบไคสแควร์ และสถิติทดสอบ แมนวิทนีย์ยู ผลการศึกษาพบว่า มารดาผ่าตัดคลอดที่มีบุตรคนแรกในกลุ่มทดลองมีอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์สามารถนำโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไปใช้เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาผ่าตัดคลอดที่มีบุตรคนแรกen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231032-น.ส.ชวาลา บัวหอม.pdf1.64 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.