Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78481
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอะเคื้อ อุณหเลขกะ-
dc.contributor.advisorวันชัย เลิศวัฒนวิลาศ-
dc.contributor.authorสหรัฐ งามเมืองปักen_US
dc.date.accessioned2023-07-14T00:49:54Z-
dc.date.available2023-07-14T00:49:54Z-
dc.date.issued2023-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78481-
dc.description.abstractRespiratory infectious diseases have severe and long-lasting impacts on the population. This descriptive study aims to determine the knowledge, attitude, and practices in preventing respiratory infectious diseases among patients receiving services at an outpatient department, and to examine the relationship between knowledge, attitude, and practices. Samples included patients who had received services at the outpatient department of a university hospital in the Northern region during July to October 2022. The study instrument was a self-administered questionnaire consisting of questions about patients’ general information, and their knowledge, attitude, and practices in preventing respiratory infectious diseases. The content validity of the instrument was reviewed by 6 experts, and the content validity indices of the knowledge, attitude, and practices parts were .99, .99, and .97, respectively. The reliability of the knowledge, attitude, and practices parts had Cronbach’s alpha coefficients of .88, .79, and .87, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics. Spearman’s correlation coefficient was used to analyze the correlation between knowledge, attitude, and practices regarding the prevention of respiratory infectious diseases. The study results showed that the participants had a median score for knowledge regarding the prevention of respiratory infectious diseases at 19 out of a total score of 22 (IQR = 3), a median score for attitude regarding the prevention of respiratory infectious diseases at 45 out of a total score of 60 (IQR = 7), and a median score for practices regarding the prevention of respiratory infectious diseases at 43 out of a total score of 60 (IQR = 15). The knowledge, attitude, and practices in preventing respiratory infectious diseases of the participants were at a high level. Knowledge had a very low level of positive correlation with attitude (r = .300, p < 0.01) attitude had a low level of positive correlation with practices (r = .306, p < 0.01, and practices had a very low level of positive correlation with knowledge (r - .300, p < 0.01) The study results provide guidelines for educating and promoting respiratory infectious disease prevention practices for patients receiving services at outpatient departments.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectKnowledgeen_US
dc.subjectAttitudeen_US
dc.subjectPracticeen_US
dc.subjectRespiratory tract infectionen_US
dc.subjectความรู้en_US
dc.subjectทัศนคติen_US
dc.subjectการปฏิบัติen_US
dc.subjectโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจen_US
dc.subjectPatientsen_US
dc.subjectผู้ป่วยen_US
dc.titleความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในผู้ป่วยที่มารับบริการผู้ป่วยนอกen_US
dc.title.alternativeKnowledge, attitude, and practices in prevention of respiratory tract infections among patients receiving outpatient servicesen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashทางเดินหายใจติดเชื้อ-
thailis.controlvocab.thashทางเดินหายใจ -- โรค-
thailis.controlvocab.thashทางเดินหายใจ -- โรค -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashผู้ป่วย -- การดูแล-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนอย่างรุนแรงและต่อเนื่องยาวนาน การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายของผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอก และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ จำนวน 400 คน ระยะเวลาการวิจัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามให้ผู้ป่วยตอบด้วยตนเอง ประกอบด้วย คำถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ความรู้ ทัศนคติและปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือวิจัยโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 6 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติเท่ากับ .99, .99, และ .97 ตามลำดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .88, .79, และ .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ค่ามัธยฐานคะแนนความรู้การป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 19 คะแนน จากคะแนนเต็ม 22 คะแนน (IQR = 3) ค่ามัธยฐานคะแนนทัศนคติที่มีต่อการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเท่ากับ 45 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน (IQR=7) และค่ามัธยฐานคะแนนการปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจเท่ากับ 43 คะแนน จากคะแนนเต็ม 60 คะแนน (IQR=15) คะแนนความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับสูง ความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับทัศนคติในการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในระดับต่ำมาก(r =.239, p < 0.01) ทัศนคติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในระดับต่ำ (r = .306, p < 0.01) และการปฏิบัติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้ในการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจในระดับต่ำมาก (r = .300, p< 0.01) ผลการวิจัยช่วยให้ได้แนวทางในการให้ความรู้และส่งเสริมการปฏิบัติในการป้องกันโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจแก่ผู้ป่วยที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231028 สหรัฐ งามเมืองปัก.pdf5.55 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.