Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78411
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิวัติ อนงค์รักษ์-
dc.contributor.advisorฟ้าไพลิน ไชยวรรณ-
dc.contributor.authorณิชาภัทร์ ดวงทิพย์en_US
dc.date.accessioned2023-07-10T01:32:48Z-
dc.date.available2023-07-10T01:32:48Z-
dc.date.issued2022-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78411-
dc.description.abstractSoil characteristics and carbon-water storage potential in the dry dipterocarp community forest of Tha Sa Lae village were studied for the purpose of obtaining features and condition in of the dry dipterocarp forest as well as its environmental influences which implied to ecological sustainability. As for, studing management and utilization of community forest provided useful information about a sustainable forest management with people partcipation. Plant community survey used twenty sampling plots, each of size 40x40 m2 arranged by a random sampling. Plant data in these plots were obtained by measuring stem girths at 1.3 meters above ground and heights of all trees with height over 1.5 meters and use 2 subplot, each of size 5x5 meters, at the center of big plots for studying ground-covered species. Plant quantitative features, species diversity biomass amounts, carbon, nutrient and water storages in the biomass were calculated. Tree plots were selected for soil study, three pedons with 1.5 metters width and variable depths depended on soil depths. Soil sampling with three replications were taken along the depths with composite samples for analyzing physical and chemical properties, amounts of carbon, nutrients and water storage in the soils. The amounts of carbon and nutrients losses from collecting D.tuberculatus leaves for sale were estimated. A total of 50 species in 45 genera and 28 families was found in the plant community with an averaged density of 302.70 trees/rai, and the dominant tree species was D. tuberculatus, It had also the highest importance value index (IVI), 52.05% of all species, followed by Shorea obtusa, Gluta usitata, Aporosa villosa and Gardenia obtusifolia, respectively. Species diversity indexes (SWI) and forest condition index (FCI) were calculated to be 1.91 and 1.55, respectively. Existing seedling and ground-covered species were 53 species in 48 genera, 28 families, and the most common seedlings was D. tuberculatus. The ground-covered species were Lygodium flexuosum, Indigofera sootepensis, Leea indica, Chromolaena odorata and Setaria verticillata, etc. Soil in the forest had 80-120 cm in depth and might be classified to Order Ultisols or Alfisols because the base saturation was not analyzed. The developing soil profiles were A-BA-Bt1-Bt2-Bt3. Bulk density in surface soils was moderately low and moderately low to moderately high in subsoils. The surface soils had coarse texture including sand and loamy sand whereas subsoils were coarse texturedto fine textured: loamy sand, sandy loam, sandy clay loam, sandy clay and clay. Small gravel contents were observed in surface soils, and greatly varied in subsoils. The surface soils had strongly acid to moderately acid in contrast to very strongly acid to neutral in subsoils. Contents of organic metter and carbon were moderately medium to high in surface soils and lower in subsoils. Total nitrogen was very low thoughout the peofiles. Available phosphorus was medium to very low in the surface and lower in subsoils. Extractable potassium and magnesium varied from very low to very high throughout soil profies while extractable calcium were very low. The amounts of carbon (C), nitrogen (N), phosphorus (P), potassium (K), calcium (Ca) and magnesium (Mg) lost by removing D. tuberculatus leaves were 99,114.23; 1,813.48; 154.34; 1,618.14; 99,548.31 and 1,885.82 kg, respectively. Total plant biomass in the forest was estimated at 75,650.13 kg/ha, and it could store amounts of carbon (C), nitrogen (N), phosphorus (P), potassium (K), calcium (Ca) and magnesium (Mg) in the biomass as 37,377.19; 347.58;40.43; 172.07; 673.58 and 103.23 kg/ha whereas those amounts in there soils were in the order of 10,875.98; 625.93; 31.43; 2,007.16; 2,061.37 and 11,294.92 kg/ha. Therefore, the total ecosystem amounts were 48,253.17; 973.51; 71.86; 2,179.24; 2,734.95 and 11,398.15 kg/ha, respectively. The mean maximum capacity of water storage in dipterocarp forest was 2,746.85 m3 /ha. This included the amounts of water stored in plant biomass as 82.97 m3 /ha and the amount in soil at 2,663.88 m3/ha. The majority amount of water storage in the ecosystem was in soil 96.98 % of the total water storage. Management and utilization of the community forest were practiced by setting rules. Villagers and neighboring communities collected forest products under the agreement. Establishment of the “Forest Protection Volunteer People's Committee of D.tuberculatus Leaves”. It is a unitedness of network communities for conservation and surveillance of the forest implied to their consciousness. Currently, a direct forest benefits was practiced including tree cutting for making houses, agricultural equipments and firewoods. There are seasonal forest producet collection such as mushrooms, vegetables, crickets and ant eggs. The most important product was providing income was fallen D. tuberculatus leaves as weaving them into the product (called Pai) for sale. The indirect forest benefit is the place for learning of natural resources, managing and utilizing commnity forest for interested people.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleลักษณะดินและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนและน้ำในป่าชุมชนที่เป็นป่าเต็งรังของหมู่บ้านท่าสะแล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeSoil characteristics andcarbon-water storage potential in dry dipterocarp community forest of Tha Sa Lae village, Fang district, Chiang Mai provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashดิน -- ฝาง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashป่าชุมชน -- ฝาง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashป่าเต็งรัง -- ฝาง (เชียงใหม่)-
thailis.controlvocab.thashคาร์บอน-
thailis.controlvocab.thashน้ำ -- ฝาง (เชียงใหม่)-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาลักษณะดินและศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนและน้ำในป่าชุมชนที่เป็นป่าเต็งรังของหมู่บ้านท่าสะแล อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะและสภาพของระบบนิเวศป่าเต็งรัง รวมทั้งอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งใช้บ่งชี้ความยั่งยืนทางนิเวศวิทยาการศึกษาการจัดการและการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน โดยชุมชนมีส่วนร่วม การสำรวจพันธุ์ไม้ใช้วิธีการวางแปลงสุ่มตัวอย่างพันธุ์ไม้ขนาด 40 x 40 ตารางเมตร แบบสุ่มให้กระจายทั่วพื้นที่ จำนวน 20 แปลง เก็บข้อมูลของพันธุ์ไม้ในแต่ละแปลงโดยวัดเส้นรอบวงลำต้นที่ความสูง 1.30 เมตร จากพื้นดิน วัดความสูงของต้นไม้ที่สูงมากกว่า 1.50 เมตร คำนวณลักษณะเชิงปริมาณทางนิเวศวิทยาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ ปริมาณมวลชีวภาพ การกักเก็บคาร์บอนธาตุอาหารและน้ำในมวลชีวภาพของพืช ศึกษาพืชพื้นล่างและกล้าไม้ในแปลงย่อยขนาด 5 x 5 ตารางเมตร จำนวน 2 แปลง ที่วางอยู่ตรงกลางแปลงใหญ่ ศึกษาลักษณะดินโดยการเก็บตัวอย่างดินในหลุมดินที่สุ่มเลือกใน 3 แปลง แปลงละ 1 พีดอน แต่ละพีดอนมีความกว้าง .5 เมตร และลึกตามความลึกของชั้นดิน นำตัวอย่างดินไปวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพและทางเคมีคำนวณปริมาณการกักเก็บปริมาณคาร์บอน ธาตุอาหารและน้ำในดิน รวมทั้งปริมาณคาร์บอนและธาตุอาหารที่สูญเสียออกไปจากป่าจากการเก็บใบพลวงไปสานเป็นไพ เพื่อการจำหน่าย ลักษณะสังคมพืช พบพันธุ์ไม้ทั้งหมด 50 ชนิด 45 สกุล 28 วงศ์ มีความหนาแน่นเฉลี่ย 302.70 ต้นต่อไร่ พันธุ์ไม้ที่พบมากและมีความเด่นมากที่สุดคือ ไม้พลวง โดยมีความสำคัญทางนิเวศวิทยาของพันธุ์ไม้ (IVI) มากที่สุด (ร้อยละ 52.05 ของพันธุ์ไม้ทั้งหมด) รองลงมาคือ เต็ง รักใหญ่ เหมือดหลวงและคำมอกน้อย ดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ (SWI) และดัชนีบ่งชี้สภาพของป่า (FCI) มีค่าเท่ากับ 1.91 และ 1.55 ตามลำดับ กล้าไม้และพืชพื้นล่างที่สำรวจพบมีจำนวนทั้งหมด 53 ชนิด 48 สกุล 28 วงศ์ กล้าไม้ที่พบมากคือ พลวง รองลงมาได้แก่ เต็ง รักใหญ่และคำมอกน้อย และพืชพื้นล่างที่พบ เช่น ย่านลิเกา นมแมว ครามป่า เขืองแข้งม้า หญ้าสาบเสือ หญ้าหางกระรอก เป็นต้น ลักษณะดิน เป็นดินลึก 80-120 เซนติเมตร มีชั้นอินทรียวัตถุบนดินหนา 2-5 เมตร มีแนวโน้มจัดอยู่ในอันดับอันดับอัลทิซอลล์ (Ultisols หรืออันดับแอลฟิซอลส์ (Alfisols) เนื่องจากไม่ได้วิเคราะห์ความอิ่มตัวด้วยเบส มีพัฒนาการของดินแบบ A-BA-Bt1-Bt2-Bt3 ดินบนมีความหนาแน่นค่อนข้างต่ำส่วนดินชั้นล่างมีค่าค่อนข้างต่ำถึงค่อนข้างสูง เนื้อดินบนเป็นดินทรายและดินทรายปนดินร่วน ส่วนดินชั้นล่างเป็นดินเนื้อหยาบถึงเนื้อละเอียดแบบดินทรายปนดินร่วน ดินร่วนปนดินทราย ดินร่วน เหนียวปนดินทราย ดินเหนียวปนดินทราย และดินเหนียว ดินชั้นบนมีกรวดเล็กน้อย ส่วนดินชั้นล่างผันแปรจากเล็กน้อยถึงมาก-ดินบนเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลางและดินล่างเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกลาง อินทรียวัตถุในดินบนมีค่าค่อนข้างสูงถึงปานกลางและลดลงในดินล่าง ปริมาณคาร์บอนมีแนวโน้มเช่นเดียวกับปริมาณอินทรียวัดถุ ไนโตรเจนทั้งหมดอยู่ในระดับต่ำมากตลอดชั้นดิน ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ของดินบนมีค่ากลางถึงต่ำมากและลดลงในดินล่าง โพแทสเซียมและแมกนีเซียมที่สกัดได้มีค่าผันแปรในระดับต่ำมากถึงสูงมากตลอดชั้นดิน แคลเซียมที่สกัดได้มีค่าในระดับต่ำมากตลอดชั้นดิน ป่าเต็งรังมีปริมาณการสูญเสียคาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมแคลเซียม และแมกนีเซียมไปกับการเก็บใบพลวง เท่ากับ 99, 114.23, 1,813.48, 154.34, 1,618.14, 99,548.31 และ 1,885.82 กิโลกรัม ตามลำดับ ระบบนิเวศป่าเต็งรัง มีปริมาณมวลชีวภาพของพันธุ์ไม้ทั้งหมดเท่ากับ 12,104.02 กิโลกรัมต่อไร่มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพเทสเซียม แคลเซียม และแมกนีเซียมในมวลชีวภาพของพืชมีค่าเท่ากับ 5,980.35; 55.61; 6.47; 27.53; 107.77 และ 16.52 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ การกักเก็บในดินมีค่า 1,740.16; 100.15; 5.03; 321.15; 329.82 และ 1,807.19 กิโลกรัมต่อไร่ รวมมี ปริมาณการกักเก็บระบบนิเวศป่าชุมชนหมู่บ้านท่าสะแลเท่ากับ 7,720.51; 155.76; 11.50; 348.68; 437.59 และ 1,823.70 กิโลกรัมต่อไร่ ป่าเต็งรังมีการกักเก็บน้ำสูงสุดเฉลี่ย 439.50 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ แบ่งเป็นการกักเก็บในมวลชีวภาพเท่ากับ 13.28 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ และในดินเท่ากับ 426.22 ลูกบาศก์เมตรต่อไร่ (ร้อยละ 96.98 ของการกักเก็บน้ำสูงสุดในระบบนิเวศ) การจัดการและการใช้ประโยชน์ของป่าชุมชน พบว่า มีกฎระเบียบในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างชัดเจน ซึ่งคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงที่เข้ามาเก็บของป่าต่างให้ความร่วมมือและรักษากฎระเบียบเป็นอย่างดี โดยมีการจัดตั้ง "คณะกรรมการราษฎรอาสาพิทักษ์ป่าไม้พลวง (รสทป.)" เป็นการรวมตัวกันระหว่างชุมชนเครือข่ายอนุรักษ์และดูแลป่าชุมชนไม้พลวง เพื่อเป็นการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาทรัพยากรป่าไม้ที่เสื่อมโทรมจาการใช้ประโยชน์ในอดีต และมีการประสานงานกับชุมชนใกล้เคียงเพื่อช่วยกันสอดส่องดูแลป่าชุมชน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรป่าไม้ในป่าชุมชน ปัจจุบันมีการใช้ประ โยชน์จากป่าทางตรง มีการตัดฟันไม้นำไปสร้างบ้านที่อยู่อาศัยหรืออุปกรณ์ใช้ในครัวเรือนหรือทางการเกษตรและเก็บฟื้น มีการเก็บของป่าตามฤดูกาล เช่น เห็ด พืชผักป่า จิ้งหรีด และ ไข่มดแดง เป็นต้น ของป่าสำคัญที่สุดที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวในชุมชนคือ ใบพลวง ที่นำมาสานเป็นไพ เพื่อการจำหน่าย ส่วนการใช้ประโยชน์ทางอ้อม ได้แก่ เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านทรัพยากรศึกษาธรรมชาติของชุมชน ด้านการจัดการ และการใช้ประโยชน์ป่าชุมชนen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600831014 ณิชาภัทร์ ดวงทิพย์.pdf10.81 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.