Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78391
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มินตรา ศีลอุดม | - |
dc.contributor.advisor | ธีญาภรณ์ แก้วทวี | - |
dc.contributor.author | กนกวรรณ มาเอียด | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-09T05:28:28Z | - |
dc.date.available | 2023-07-09T05:28:28Z | - |
dc.date.issued | 2022-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78391 | - |
dc.description.abstract | Blue green algae known as cyanobacteria strain LmTK01 was observed blooming in white-leg shrimp ponds with low shrimp productivity in Songkhla province, Thailand. The objectives of this study were to investigate groups of algae and their physical characteristics and to determine how temperature, pH, and salinity affect the growth of LmTK01. The other objectives included determining the impact of LmTK01 on white-leg shrimp (Litopenaeus vannamei) survival rates and the effectiveness of certain bacteria isolated from shrimp pond water in controlling LmTK01 growth. Bacteria with algicidal activity for controlling the growth of LmTK01 were screened, isolated, and tested in shrimp/algae co-culturing systems to find out the fatal concentration and shrimp survival rate. The results revealed that the typically found in shrimp ponds, blue green algae LmTK01, was round at the cell's end, filamentous without branches, and lacking a mucous sheath. The morphology was like the cyanobacteria genus Limnothrix. There was an aerotrope between the cell and the thylakoid arrangement was a parietal structure. Under controlled temperature (28.00 ± 1.00 °C), the algae exhibited the fastest growth with the maximum optical density (OD, 680 nm.) of 0.611 ± 0.02 and the highest amount of Chl a (97.78 microgram per milliliter). The algae can grow under a relatively wide range of pH and salinity, with optimum growth at pH 8.00 and salinity 15.00 ppt. Co-culturing of these algae at different concentrations (336.17, 703.70 and 1,390.63 microgram Chl a per liter) with white-leg shrimp for 96 hours revealed more than 50% shrimp mortality in all treatments. The algal cells were found in the shrimp's appendages, such as legs, gills, and intestine. This shows that the algae directly interfere with the shrimp's respiratory and digestion system, lower the level of dissolved oxygen, and elevate pH. Fifty-three strains of bacteria from aquaculture pond in Songkhla province were inoculated with LmTK01. It was found that five strains of bacteria were able to inhibit the growth of algae. The bacteria that inhibited algae growth within 7 days were BP5, A2, A5, A7 and HW5, respectively. BP5 showed the highest algicidal activity (99.94%). Endospore formation was also observed in this gram-positive, rod-shaped, creamy, orange-colored colony. The 16s rRNA gene demonstrated that BP5 belonged to the Fictibacillus genus that can inhibit the growth of LmTK01 at an initial concentration of 107 - 108 CFU/mL and without affecting other algae (Chaetoceros sp., Skeletonema sp., Chlorella sp., Scenedesmus sp., and Spirulina sp.). BP5 indirectly affects the growth of LmTK01 (95.20 ± 9.75%), indicated by remaining decomposed algal cells. Additionally, BP5 had no impact on the mortality of shrimp larvae. The effect of BP5 on LmTK01 and white-leg shrimp co-cultivation indicated that shrimp survival (76.67 ± 11.15%) was not different from the control (P > 0.05). In conclusion, the white-leg shrimp culture system provides ideal circumstances for cyanobacteria strain LmTK01 growth, which has a detrimental influence on the shrimp. This negative impact can be mitigated by utilizing bacteria taken from shrimp ponds, genus Fictibacillus, to suppress the growth of cyanobacteria genus Limnothrix strain LmTK01. The isolated bacteria BP5 had the highest algicidal activity and did not affect the survival rate of white shrimp or other microalgae. Therefore, the possibility to control cyanobacteria growth in shrimp culture by specific isolated bacteria. It will be promissing to increase survival and product of shrimp. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การควบคุมสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสายพันธุ์ LmTK01 ในบ่อกุ้งขาวแวนาไมโดยใช้แบคทีเรียจำเพาะ | en_US |
dc.title.alternative | Control of blue green algae strain LmTK01 in pacific white shrimp pond by using specific bacteria | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน | - |
thailis.controlvocab.thash | กุ้งขาวแวนาไม | - |
thailis.controlvocab.thash | กุ้งขาว | - |
thailis.controlvocab.thash | แบคทีเรีย | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสายพันธุ์ LmTK01 มีการรายงานการค้นพบในบ่อเลี้ยงกุ้งขาวแวนาไมที่มีผลผลิตกุ้งขาวแวนาไมน้อย ทางภาคใต้ของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของปัจจัย อุณหภูมิ พีเอช และความเค็ม ต่อการเจริญเติบโตของ LmTK01 รวมถึงผลกระทบของ LmTK01 ต่ออัตรารอดของลูกกุ้งขาวแวนาไม จากนั้นจึงศึกษาประสิทธิภาพในการควบคุมการเจริญเติบโตของ LmTK01 ด้วยแบคทีเรียจำเพาะที่คัดแยกจากน้ำในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะทางกายภาพของ LmTK01 มีความคล้ายคลึงกับสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสกุล Limnothrix มีลักษณะเป็นเส้นยาวไม่แตกแขนง ไม่มีเมือกหุ้มเซลล์ ปลายเซลล์มีลักษณะกลมมน มีช่องว่างระหว่างเซลล์ และร่างแห ไทลาคอยด์มีการจัดเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ สามารถเจริญเติบโตภายใต้อุณหภูมิที่มีการควบคุม (28.00 ± 1.00 องศาเซลเซียส) มีการเจริญเติบโตสูงสุด โดยมีค่า OD ที่ความยาวคลื่น 680 นาโนเมตร เฉลี่ยสูงที่สุด เท่ากับ 0.611 ± 0.02 มีปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ สูงสุด เท่ากับ 97.78 ไมโครกรัมต่อลิตร สาหร่ายชนิดนี้สามารถเจริญเติบโตได้ดีในช่วงพีเอชและความเค็มค่อนข้างกว้าง โดยมีการเจริญได้ดีที่สุดที่ พีเอช 8.00 และ ความเค็ม 15.00 ส่วนในพัน ตามลำดับ เมื่อทดลองเลี้ยงกุ้งขาวร่วมกับสาหร่ายที่ความหนาแน่นแตกต่างกันที่ปริมาณคลอโรฟิลล์ เอ เท่ากับ 336.17, 703.70 และ 1,390.63ไมโครกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 96 ชั่วโมง พบว่า มีการตายของลูกกุ้งมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ในทุกชุดการทดลอง โดยพบว่า กุ้งที่ตายมีเซลล์ของสาหร่ายติดอยู่บริเวณรยางค์ เหงือก และลำไส้ของกุ้ง แสดงให้เห็นว่าสาหร่ายเข้าไปรบกวนกระบวนการหายใจและระบบการย่อยอาหารของกุ้งโดยตรง อีกทั้งยังส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำในระหว่างการเลี้ยงลดลง ในขณะที่ค่าพีเอชเพิ่มขึ้นเมื่อสาหร่ายมีการเพิ่มจำนวน ผลการคัดแยกแบคทีเรียจากการเก็บน้ำตัวอย่างในบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยทำการทดสอบผลการยับยั้งการเจริญเติบโตกับสาหร่าย LmTK01 สามารถคัดแยกได้ทั้งหมด 53 ไอโซเลท และพบว่า แบคทีเรียที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ LmTK01 ได้ดีที่สุดภายใน 7 วัน มี 5 ไอโซเลท ได้แก่ BP5, A2, A5, A7 และ HW5 ตามลำดับ โดย BP5 สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ LmTK01 ได้สูงถึง 99.94 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง BP5 เป็นแบคทีเรียแกรมบวก รูปแท่ง โคโลนีมีสีส้มครีม และมีการสร้างเอ็นโดสปอร์ จากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์พบว่า BP5 มีความคล้ายคลึงกับแบคทีเรียในสกุล Fictibacillus สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ LmTK01 ที่ความเข้มข้นเซลล์เริ่มต้นเท่ากับ 107 - 108 ซีเอฟยูต่อมิลลิลิตร นอกจากนี้ยังพบว่า BP5 มีความจำเพาะเจาะจงต่อการควบคุมการเจริญเติบโตของ LmTK01 โดยไม่ส่งผลต่อสาหร่ายชนิดอื่น ได้แก่ Chaetoceros sp., Skeletonema sp., Chlorella sp., Scenedesmus sp. และ Spirulina sp. ตามลำดับ การทดสอบกลไกการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียไอโซเลท BP5 ต่อการเจริญเติบโตของ LmTK01 พบว่า BP5 สร้างสารออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของ LmTK01 ได้ถึง 95.20 ± 9.75 เปอร์เซ็นต์ โดยพบซากเซลล์ของสาหร่ายที่แตกสลายหลังจากเลี้ยงในของเหลวที่ได้จากการเลี้ยง BP5 และยังพบว่า BP5 เป็นแบคทีเรียที่ไม่ส่งผลต่อการตายของลูกกุ้ง เมื่อทำการเลี้ยงกุ้งด้วย BP5 และเมื่อทดลองเลี้ยงกุ้งร่วมกับ LmTK01 และ BP5 พบว่า ลูกกุ้งมีอัตรารอดเท่ากับ 76.67 ± 11.15 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งไม่แตกต่างจากชุดควบคุมที่ไม่มีการเติมแบคทีเรียและ LmTK01 จากผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสายพันธุ์ LmTK01 เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้ง ส่งผลกระทบเชิงลบต่อกุ้งขาวแวนาไม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมปริมาณของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินโดยใช้แบคทีเรียที่คัดแยกได้จากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำสกุล Fictibacillus ไอโซเลท BP5 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินสายพันธุ์ LmTK01 ได้ดีที่สุด ไม่ส่งผลกระทบต่อสาหร่ายชนิดอื่นๆ และอัตราการรอดของกุ้งขาวแวนาไม ดังนั้นความเป็นไปได้ในการควบคุมการเจริญเติบโตสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินในการเลี้ยงกุ้ง โดยใช้แบคทีเรียจำเพาะที่คัดแยกได้จากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ มีแนวโน้มช่วยเพิ่มอัตราการรอดตายและผลผลิตของกุ้ง | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
630831008_กนกวรรณ มาเอียด.pdf | 2.12 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.