Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78351
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฟ้าไพลิน ไชยวรรณ-
dc.contributor.advisorชูชาติ สันธทรัพย์-
dc.contributor.authorศิรินทร์รัตน์ ทองบพิตรen_US
dc.date.accessioned2023-07-07T00:48:53Z-
dc.date.available2023-07-07T00:48:53Z-
dc.date.issued2023-04-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78351-
dc.description.abstractStudies to Influences of Irrigation Regimes of cape gooseberry, by conducting an experiment in the area of a farmer’s plot area of royal project development center Kae Noi, Mueang Na Subdistrict, Chiang Dao District Chiang Mai Province. using a completely randomized block design (RCBD) with four replicates, with 4 methods of irrigation, (i) the method which the local farmers usually use (control), (ii) irrigated everyday to the crop evapotranspiration (ETc), (iii) irrigated when soil moisture reduced by 30% of AWC (AWC 30%), and (iv) when soil moisture reduced by 50% of AWC (AWC 50%). Result of the studies showed that, 30 days after transplanting in all 4 methods did not differ statistically. But at the age of 35 to 70 days, that the four methods were statistically different. Method 2 (ETc) resulted in cape gooseberry growing at the highest plant height. And produce the most yield throughout the growing season. But when considering yield quality (fruit weight, diameter, titrable acidity (TA), total soluble solid (TSS), and vitamin C content). It was found that the irrigation management of four methods resulted in no differences in the quality of the cape gooseberry. The above study indicated that all four irrigation methods were able to produce the same good quality. All experiments showed that daily watering according to plant evaporation rate data resulted in higher growth and yield of cape gooseberry. The reason is because water is very important to the growth of cape gooseberry. When plants receive sufficient or appropriate water for the period of growth, it will result in higher growth and yield.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleอิทธิพลของการให้น้ำต่อการเติบโต คุณภาพ และผลผลิต ของเคพกูสเบอร์รี บนพื้นที่สูง จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeInfluences of irrigation regimes on growths quality, and yield of cape gooseberry on highland Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเคพกูสเบอรี่ -- การปลูก-
thailis.controlvocab.thashเคพกูสเบอรี่ -- การเจริญเติบโต-
thailis.controlvocab.thashเคพกูสเบอรี่ -- คุณภาพ-
thailis.controlvocab.thashพืช -- ความต้องการน้ำ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาอิทธิพลของการให้น้ำต่อการเจริญเติบโต คุณภาพ และผลผลิตของเคพกูสเบอร์รีบนพื้นที่สูงจังหวัดเชียงใหม่ ทำการทดลองในพื้นที่แปลงเกษตรกร พื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแกน้อย ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้ทำการทดลองในช่วงฤดูการผลิตปี พ.ศ.2562 ถึง 2563 ใช้การทดลองแบบบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) แบ่งการทดลองออกเป็น 4 กรรมวิธี ๆ ละ 4 ซ้ำ กรรมวิธีที่ 1 ควบคุม (control) ให้น้ำตามเกษตรกรนิยมปฏิบัติ, กรรมวิธีที่ 2 ให้น้ำทุกวันตามข้อมูลอัตราการคายระเหยของพืช (ETc), กรรมวิธีที่ 3 ให้น้ำเมื่อความชื้นดินลดลง 30 เปอร์เซ็นต์ของความชื้นที่เป็นประโยชน์ (AWC 30%) และกรรมวิธีที่ 4 ให้น้ำเมื่อความชื้นดินลดลง 50 เปอร์เซ็นต์ของความชื้นที่เป็นประโยชน์ (AWC 50%) พบว่า ช่วงอายุต้น 30 วันหลังย้ายปลูก ทั้ง 4 กรรมวิธี ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ เนื่องจากระยะเวลาดังกล่าวเป็นช่วงแรกของการเจริญต้นเคพกูสเบอร์รี จึงยังมีการพัฒนาของรากและลำต้นไม่มาก ส่งผลให้ความต้องการน้ำในช่วงระยะเวลานี้ไม่มากนัก แต่เมื่อต้นมีอายุ 35 ถึง 70 วัน พบว่า ทั้ง 4 กรรมวิธีมีความแตกกันกันทางสถิติ โดยกรรมวิธีที่ 2 (ETc) มีการเจริญเติบโตด้านความสูงต้นสูงที่สุด ส่วนกรรมวิธีที่ 1 (control) และ 4 (AWC 50%) ไม่มีความแตกต่าง และกรรมวิธีที่ 3 (AWC 30%) มีการเจริญเติบโตด้านความสูงน้อยที่สุด จากการพิจารณาการให้น้ำโดยกรรมวิธีที่ 2 เป็นการให้น้ำตามอัตราการคายระหายของพืชในทุกวัน ต้นเคพกูสเบอร์รี่ได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอส่งผลให้เคพกูสเบอร์รี่มีการเจริญเติบโตสูงกว่ากรรมวิธีอื่นๆ จากการทดลองพบว่าปริมาณผลผลิตเคพกูสเบอร์รี โดย 4 กรรมวิธี พบว่า ผลผลิตของทั้ง 4 กรรมวิธีไม่มีความแตกต่างทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาจากปริมาณผลผลิตกรรมวิธีที่ 2 ให้ผลผลิตสูงที่สุดเช่นเดียวกับการเจริญเติบโตด้านความสูง อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาด้านคุณภาพผลผลิต (ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้, TSS และปริมาณกรดที่ไทเทรตได้, TA) พบว่าการจัดการน้ำทั้ง 4 กรรมวิธีส่งผลให้เคพกูสเบอร์รีมี TA ในผลผลิตเดือนที่ 3 และ TSS ในผลผลิตเดือนที่ 4 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สาเหตุอาจเกิดจากการให้น้ำเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตของเคพกูสเบอร์รี จากผลการทดลองทั้งหมดพบว่าการให้น้ำทุกวันตามข้อมูลอัตราการคายระเหยของพืชส่งผลให้เคพกูสเบอร์รีมีการเจริญเติบโตและผลผลิตที่สูงขึ้น สาเหตุเกิดจากน้ำมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นเคพกูสเบอร์รีมาก เมื่อพืชได้รับน้ำเพียงพอหรือเหมาะสมตามระยะเวลาของการเจริญเติบโตจะส่งผลให้การเจริญเติบโตและผลผลิตสูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นการให้น้ำทุกวันตามข้อมูลอัตราการคายระเหยของพืชจึงมีความเหมาะสมที่สุดที่จะนำมาใช้ในการปลูกเคพกูสเบอร์รีเพื่อการเจริญเติบโตและผลผลิตที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังช่วยในการประหยัดน้ำและลดต้นทุนในการผลิตของเกษตรกรอีกด้วยen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses



Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.