Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78347
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorณัฐธยาน์ สุวรรณคฤหาสน์-
dc.contributor.advisorโรจนี จินตนาวัฒน์-
dc.contributor.authorสุภาพร ป่อสิ่วen_US
dc.date.accessioned2023-07-06T10:18:40Z-
dc.date.available2023-07-06T10:18:40Z-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78347-
dc.description.abstractChronic Kidney Disease Stage III in elderly is a condition in which the kidneys of the elderly have a decreased filtration rate and impaired function, affecting them physically, mentally, and socially. Self-management is a way to enable these patients to develop skills for managing their illnesses which can slow down the deterioration of the kidneys in the end- stage. This predictive descriptive research aimed to study the predictive power of health literacy, self-efficacy, and social support for self-management in the elderly with chronic kidney disease stage III. A total of 120 elderly people with chronic kidney disease stage III, who received the service at Khlong Thom Hospital in Krabi Province, were selected by non-replaceable simple random sampling between August and September 2022. The research instruments include a Personal Information Questionnaire, a Health Literacy Questionnaire for the Elderly with Chronic Kidney Disease Stage III, a Self-Efficacy Interview, a Social Support Questionnaire for the Elderly with Chronic Kidney Disease, and a Self-Management Behaviors Questionnaire for the Elderly with Chronic Kidney Disease Stage III. Data were analyzed using descriptive statistics and normal multiple regression statistics. The results of the research found that 1. The level of health literacy was high (x ̅ = 46.11, S.D. = 6.74), the level of self-efficacy was high (x ̅ = 70.19, S.D. = 8.49), and the level of self-management was high (x ̅ = 97.75, S.D. = 19.13). 2. Health literacy, self-efficacy, and social support could jointly predict self-management among the elderly with chronic kidney disease stage III at 40.70%, with social support predicting self-management the most (β = .345, p < .001), followed by health literacy (β = .262, p < .001), and self -efficacy (β = .205, p = .029). The results of this research will provide information for health personnel involved in the care of the elderly with chronic kidney disease stage III to integrate social support, health literacy, and self-efficacy in self-management promotion activities in the elderly with chronic kidney disease stage III.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleปัจจัยทำนายการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3en_US
dc.title.alternativeFactor predicting self-management among older persons with stage 3 Chronic kidney diseaseen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashไตวายเรื้อรัง-
thailis.controlvocab.thashไต -- โรค-
thailis.controlvocab.thashสุขภาพ -- การดูแล-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 เป็นการเจ็บป่วยเรื้อรัง ที่ส่งผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม การจัดการตนเองที่ถูกต้องเหมาะสมเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้ผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 สามารถชะลอการเสื่อมของไต ยืดระยะเวลาไตวายระยะสุดท้ายให้นานที่สุด การวิจัยแบบพรรณนาเชิงทำนายในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน การสนับสนุนทางสังคม และการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และศึกษาอำนาจการทำนายของความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคมต่อการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลคลองท่อม จังหวัดกระบี่จำนวน 120 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายไม่แทนที่ ระหว่าง เดือนสิงหาคม ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 แบบสัมภาษณ์สมรรถนะแห่งตน แบบสอบถามสนับสนุนทางสังคมในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังและแบบสอบถามพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยพหุคูณปกติ ผลการวิจัย พบว่า 1. กลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับสูง (x ̅= 46.11, S.D. = 6.74) การสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูง (x ̅= 70.19, S.D. = 8.49) และการจัดการตนเองอยู่ในระดับสูง (x ̅ = 97.75, S.D. = 19.13) 2. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้สมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ได้ร้อยละ 40.70 โดยการสนับสนุนทางสังคมสามารถทำนายการจัดการตนเองได้มากที่สุด (β = .345, p <.001) รองลงมาเป็นความรอบรู้ด้านสุขภาพ (β = .262, p <.001) และการรับรู้สมรรถนะแห่งตน (β = .205, p =.029) ตามลำดับ ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ที่จะบูรณาการการสนับสนุนทางสังคม ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในกิจกรรมการส่งเสริมการจัดการตนเองในผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3en_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231102 - สุภาพร ป่อสิ่ว - WM.pdf2.71 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.