Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78333
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น | - |
dc.contributor.advisor | วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ | - |
dc.contributor.author | ชลกรรณิการ์ นิติภักดิ์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-05T10:18:27Z | - |
dc.date.available | 2023-07-05T10:18:27Z | - |
dc.date.issued | 2023-04 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78333 | - |
dc.description.abstract | Central line-associated bloodstream infection (CLABSI) has a serious impact on pediatric patients. This retrospective descriptive study aimed to investigate the incidence rate, distribution, and impacts of CLABSI in pediatric patients admitted to a university hospital by diagnosing the infection through symptoms and laboratory results. Data were obtained from medical records of pediatric patients with central venous catheter (CVC) insertions in the pediatric nursing division of 12 wards between January 1, 2017 and December 31, 2021. A total of 763 pediatric patient with CVC records were reviewed and identified following the Centers for Disease Control and Prevention (2017) definition of CLABSI by using the data collection form for CLABSI in pediatric patients and its impacts, which was developed by the researcher. Descriptive statistics were used for data analysis. The results revealed that CLABSI occurred 79 times in 57 pediatric patients; 59.65% were male, with ages ranging from 14 days to 18 years (x̄ = 2.64 years, S.D. = 4.64). Additionally, 59.65% of patients were newborn to 1 year old, 22.81% were 1-3 years old, and 8.77% were 13–18 years old. The incidence rates of CLABSI for each year, from 2017 to 2021, were 3.63, 1.64, 1.81, 2.58, and 3.46 per 1,000 central line days, respectively. The most common organism was Staphylococcus epidermidis (42.16%). The average duration of hospitalization was 116.53 days (range = 10-676, S.D. = 122.71). The case fatality rate of CLABSI in pediatric patients was 26.32%. The total cost of medical treatment for CLABSI was 1,339,253.12 baht with an average cost of 16,952.57 baht/infection (range = 2,452-159,176, S.D. = 18,166.71). The results of this study review the epidemiology of CLABSI in pediatric patients. Data from this study can be used to plan for prevention of CLABSI in hospitalized pediatric patients. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การติดเชื้อและผลกระทบจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดของผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title.alternative | Infections and impacts of catheter-related bloodstream infection of pediatric patients in a university hospital | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | การติดเชื้อ | - |
thailis.controlvocab.thash | การติดเชื้อจากเลือด | - |
thailis.controlvocab.thash | หลอดสวน | - |
thailis.controlvocab.thash | การดูแลรักษาในโรงพยาบาล | - |
thailis.controlvocab.thash | เด็ก -- การพยาบาล | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ก่อให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อผู้ป่วยเด็ก การวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ การกระจาย และผลกระทบของการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โดยวินิจฉัยการติดเชื้อจากอาการแสดง และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการคาสายสวนหลอดเลือด ในงานการพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ จำนวน 12 หอผู้ป่วย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทบทวนและวินิจฉัยการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางจากเวชระเบียนของผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการคาสายสวนหลอดเลือด จำนวน 763 ราย โดยใช้แนวทางของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคประเทศสหรัฐอเมริกา ปี ค.ศ. 2017 ใช้แบบบันทึกข้อมูลการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดของผู้ป่วยเด็กและผลกระทบจากการติดเชื้อที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบผู้ป่วยเด็กเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง รวม 79 ครั้ง ในผู้ป่วยเด็ก 57 ราย เป็นเพศชายร้อยละ 59.65 มีอายุระหว่าง 14 วัน-18 ปี (อายุเฉลี่ย 2.64 ปี, S.D. = 4.64) อยู่ในกลุ่มอายุแรกเกิด-1 ปี ร้อยละ 59.65 กลุ่มอายุ 1-3 ปี และกลุ่มอายุ 13-18 ปี ร้อยละ 22.81 และ 8.77 ตามลำดับ อุบัติการณ์การติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ในปี พ.ศ. 2560-2564 คิดเป็น 3.63, 1.64, 1.81, 2.58 และ 3.46 ครั้งต่อ 1,000 วันใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ตามลำดับ เชื้อจุลชีพที่พบมากที่สุดคือ Staphylococcus epidermidis โดยพบร้อยละ 42.16 จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 116.53 วัน (range = 10-676, S.D. = 122.71) อัตราป่วยตายของผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลาง ร้อยละ 26.32 ค่าใช้จ่ายในการรักษาการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางโดยรวม 1,339,253.12 บาท โดยเฉลี่ย 16,952.57 บาทต่อการติดเชื้อ 1 ครั้ง (range = 2,452-159,176, S.D. = 18,166.71) ผลการวิจัยช่วยให้ทราบระบาดวิทยาของการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางในผู้ป่วยเด็ก ซึ่งข้อมูลจากการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิตที่สัมพันธ์กับการใส่สายสวนหลอดเลือดดำส่วนกลางในผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลต่อไป | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
641231033-ชลกรรณิการ์ นิติภักดิ์.pdf | 3.47 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.