Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78322
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เยาวเรศ เชาวนพูนผล | - |
dc.contributor.advisor | กรรณิกา แซ่ลิ่ว | - |
dc.contributor.author | สโรชา อนุกูล | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-05T01:13:59Z | - |
dc.date.available | 2023-07-05T01:13:59Z | - |
dc.date.issued | 2021-11 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78322 | - |
dc.description.abstract | Rubber production in Thailand has been exposed to risks due to many factors such as natural disasters, inclement weather, plant diseases and pest ooutbreaks, fluctuations in determinant of production and crude oil (petroleum) price, exchange rate and particularly in volatility of natural rubber price. This fluctuation is derived from change in demand and supply which depend on controlled and uncontrolled factors. The demand for natural rubber depends on global economic situation and expansion of automobile industries which are the main indicators of economic growth rate of natural rubber consumption countries, world population, synthetic rubber production and crude oil (petroleum) price. The volatility of natural rubber prices has a major impact on rubber farmers and related rubber industry production. Based on previous research on natural rubber price volatility, there are many tools and development of volatility models using GARCH, GARCH-X, IGARCH, EGARCH, TGARCH GJRGARCH etc. This paper studied on the situation of natural rubber production in Thailand, structure of natural rubber market and determinant of volatility natural rubber price and factors effecting rib smoked sheet (RSS particularly 3rd Class or RSS3) price in Thailand. The researcher analyzes rib smoked sheet (RSS3) price by using GARCH and GARCH-X models to test the hypothesis and identify variable X which affect rib smoked sheet price. The data used for this study is secondary data that obtained from statistic rubber and data stream including situation of natural rubber production, global rubber market, global and Thai volatility of natural rubber price as well as Thailand Policy for Natural Rubber to present the overview of natural rubber production, rubber market, rubber products, structure of rubber markets in Thailand, volatility of rubber price and daily policy related to rubber in Thailand. The researcher also uses time series data of rib smoked sheet in Thailand from January 4, 2012 to December 23, 2019 (1,605 datasets) together with external variables which are currency exchange (Yuan/Baht) RSS3 in Shanghai Futures Exchanges and crude oil (petroleum) price. After analyzing RSS3 volatility in Thailand using GARCH-X, the result shows that currency exchange and crude oil (petroleum) price has a non-significant result on RSS3 volatility, whereas RSS3 price in Shanghai Futures Exchanges causes an effect on RSS3 price volatility at the range of 95 of confidence interval (CI). The major implication of the finding is dependence on relationship with RSS3 price in Shanghai Futures Exchanges and RSS3 price volatility. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การวิเคราะห์ความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ของประเทศไทยโดยใช้แบบจำลอง GARCH-X | en_US |
dc.title.alternative | Analysis of ribbed smoked rubber sheet no.3 price volatility of Thailand by using GARCH-X Model | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | ยางพารา -- ราคา | - |
thailis.controlvocab.thash | ยาง -- ราคา | - |
thailis.controlvocab.thash | ยาง -- ไทย | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การผลิตยางพาราเผชิญกับความเสี่ยงอันเนื่องมาจากหลายปัจจัยในระยะเวลาที่ผ่านมา เช่น ภัยธรรมชาติ ความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ การระบาดของโรคพืชและศัตรูพืช ความผันผวนของราคาปัจจัยการผลิตและราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน โดยฉพาะอย่างยิ่งความผันผวนของราคายางพารา ซึ่งมีความผันผวนมาตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทานขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้ อุปสงค์การใช้ยางขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจโลกและการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยมีตัวชี้วัดที่สำคัญ เช่น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศผู้ใช้ยาง ประชากรโลก การใช้ยางสังเคราะห์ และราคาน้ำมัน ความผันผวนของราคายางยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษตรกรและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมผลิตยางที่ผ่านมามีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับราคาและความผันผวนของราคายางพาราของประเทศไทยหลายงานวิจัย โดยมุ่งศึกษาโดยเครื่องมือและพัฒนาแบบจำลองหลายชนิดในการวิเคราะห์ความผันผวนอีกหลายแบบจำลอง เช่น GARCH-X IGARCH EGARCH TGARCH GJRGARCH เป็นต้น การศึกษานี้มุ่งเน้นศึกษาสถานการณ์การผลิต ยางพาราในประเทศไทย โครงสร้างตลาดยางพาราในประเทศไทย ความผันผวนราคายางพารา ตลอดจนปัจจัยต่าง ๆ ที่กำหนดราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ของประเทศไทย จากนั้นจึงวิเคราะห์ความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 โดยใช้แบบจำลอง GARCH และ GARCH-X โดยกำหนดตัวแปร X ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ของประเทศไทย ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในประเด็นสถานการณ์การผลิตยางและการตลาดยางพาราของโลก ความผันผวนของราคายางพาราของโลกและของประเทศไทย รวมถึงนโยบายยางพาราของประเทศไทย เพื่อนำเสนอภาพรวมของการผลิต และโครงสร้างการตลาดของยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา รวมถึงโครงสร้างของตลาดยางพาราในประเทศไทย ความผันผวนของราคายางพารา และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยางพาราของประเทศไทย และใช้ข้อมูลอนุกรมเวลา (time series data) ราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ของประเทศไทยที่เป็นข้อมูลรายวันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม2533 ถึง วันที่ 23 ธันวาคม 2562 (1,605 ชุดข้อมูล) รวมถึงข้อมูลตัวแปรที่กำหนดเป็นตัวภายนอกของแบบจำลอง ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน (หยวน/บาท) ราคาซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก จากการวิเคราะห์ความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 ของประเทศไทยโดยใช้แบบจำลอง GARCH-X พบว่า อัตราแลกเปลี่ยน และ ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ไม่มีผลต่อความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 อย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ราคาซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้ มีผลต่อความผันผวนของราคายางแผ่นรมควันชั้น 3 อย่างมีนัยสำคัญที่ช่วงความเชื่อมั่นที่ 95 โดยมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือ เมื่อราคาซื้อขายยางแผ่นรมควันชั้น 3 ในตลาดล่วงหน้าเซี่ยงไฮ้เกิดความผันผวนจะทำให้ราคายางพาราเกิดความผันผวนตามไปด้วย ดังนั้นผู้ส่งออก และผู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมที่ใช้ยางแผ่นรมควันชั้น ควรให้ความสำคัญในเรื่องของการป้องกันความเสี่ยงผ่านการซื้อขายในตลาดซื้อขายล่วงหน้า โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวกำหนดราคายางพารานั้นเพื่อเป็นตัวช่วยในการวิเคราะห์ถึงแนวโบ้มของราคายางพาราในอนาคตว่าจะปรับตัวไปในทิศทางใด และส่งเสริมการให้ความรู้ด้านข้อมูลข่าวสารแก่เกษตรกร ให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารในตลาดสินเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย และตลาดล่วงหน้าต่างประเทศเพื่อป้องกันความเสี่ยงในช่วงราคายางพาราตกต่ำ ทั้งนี้ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุบการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปยางพาราเพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับยางพารา รวมถึงสนับสนุนให้เกษตรกรมีความรู้ ความสามารถทางวิชาชีพด้านอื่น ๆ นอกเหนือจากการทำสวนยางพารา เพื่อเป็นการลดอุปทานยางพาราที่ล้นตลาด ส่งเสริมการสร้างกระบวนการกลุ่มและการรวมกลุ่มของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในการแปรรูปยางพาราและผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราให้มีความเข้มแข็งพร้อมทั้งสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยางพารา รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ให้มีการใช้ยางพาราในประเทศเพิ่มสูงขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณด้านอุปสงค์ให้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าการใช้มาตรการรับซื้อผลผลิต และการใช้เงินชดเชยเกษตรกร เนื่องจากเป็นการแก้ไขที่ปลายเหตุ อีกทั้งยังเป็นการบิดเบือนกลไกราคาของตลาดยางพาราอีกด้วย | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
600831037 สโรชา อนุกูล.pdf | 1.38 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.