Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78293
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพลภัทร เหมวรรณ-
dc.contributor.authorจิรวัฒน์ สุขพินิจen_US
dc.date.accessioned2023-07-04T00:36:27Z-
dc.date.available2023-07-04T00:36:27Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78293-
dc.description.abstractThe study of digital terrain model (DTM) from unmanned aerial vehicle system to predict landslide risk areas, a case study in Skad Subdistrict, Pua District, Nan Province has the objectives of the study are to 1) investigate and evaluate the process of aerial photography using an unmanned aerial vehicle system to produce DTM and 2) develop a model to predict landslide risk areas using DTM data for Skad Sub-district, Pua District, Nan Province. Landslides affect a large number of residents and people who want to cross the area. Help local authorities work with simple methods that are not complicated to work in the local authority area and with tools available in the market at a reasonable price. Investigate and evaluate aerial photography with unmanned aerial vehicle systems to find appropriate techniques and methods for digital terrain modeling of the study area by using small multirotor drones for aerial photography in a dense block group format. The results obtained from grid aerial photography are suitable for developing a DTM. This is because they have higher positional accuracy than conventional aerial photography. The DTM obtained from aerial photographs with camera angles of 90, 75, and 55 degrees at an altitude of 250 – 300 meters above the ground, was compared with the DTM from the ALOS satellite data system using Pearson correlation and analyzed with a confidence level of 95%. The comparison of the DTMs obtained from aerial photography with a camera angle of 90 degrees and the ALOS DTM showed that the highest correlation was 0.996. Then, the correlation was checked with a high-level model of the 1: 4,000 scale DTM from the Land Development Department. The Pearson correlation of the DTM with a camera angle of 90 degrees was found to be 0.997 and the least vertical error was 16.427 m. Therefore, this DTM is used for further model development. The highest factor related to landslides in Sakat village, Sakat sub-district, Pua district, Nan province was the distance from the road, land use, NDVI, elevation, and geology. In using these factors to develop a predictive model using statistical methods including 1) logistic regression model and 2) frequency ratio model. The results of the efficiency comparison of the model were obtained using the area under the curve method. It was found that the landslide risk prediction model developed from the frequency ratio model was effective and best suited for the study area with the equation “LSI = 0.50769 ELEV + 0.33622 ROAD + 0.57149 GEOL + 0.59182 LU +. NDVI”. This model has a prediction accuracy of 82.26% and can predict the risk of landslides in the study area at 72.88%. Based on the results of this model, the landslide risk areas can be divided into 5 levels: the lowest risk area is 289.84 rai (15.19 %), the low-risk area is 957.91 rai (50.20 %), the medium risk area is 343.95 rai (18.03 %), the high-risk area is 194.24 rai (10.18 %) and the highest risk area is 122.07 rai (6.4 %).en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectUAVen_US
dc.subjectLandslideen_US
dc.subjectFrequency ratio modelen_US
dc.subjectLogistic regression modelen_US
dc.titleแบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลขจากระบบอากาศยานไร้คนขับเพื่อการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัย ดินโคลนถล่ม กรณีศึกษา ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่านen_US
dc.title.alternativeDigital terrain model from Unmanned Aerial Systems (UAS) for prediction of landslide risk areas: A Case study of Sakad Sub-district, Pua District, Nan Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashอากาศยานไร้นักบิน-
thailis.controlvocab.thashระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์-
thailis.controlvocab.thashแผ่นดินถล่ม -- ปัว (น่าน)-
thailis.controlvocab.thashการประเมินอันตรายจากแผ่นดินถล่ม-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractจากการศึกษาเรื่องแบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลขจากระบบอากาศยานไร้คนขับเพื่อการคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยดินโคลนถล่ม กรณีศึกษา ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา คือ 1) เพื่อศึกษาและประเมินกระบวนการบินถ่ายภาพทางอากาศด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับในการสร้างข้อมูล แบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลขและ 2) เพื่อพัฒนาแบบจำลองคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยดินโคลนถล่มด้วยข้อมูลแบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลขของพื้นที่ของตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน เนื่องจาก ภัยพิบัติดินโคลนถล่มเป็นภัยที่ที่ส่งกระทบเป็นวงกว้างทั้งผู้ที่อยู่อาศัยและผู้ที่ต้องการสัญจรผ่านในพื้นที่ เพื่อเป็นการช่วยเหลือหน่วยงานส่วนท้องถิ่นให้สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง ด้วยกรรมวิธี ที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนสำหรัยการปฏิบัติงานภายพื้นที่ของหน่วยงานภายในท้องถิ่นและใช้เครื่องมือที่สามารถหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป ที่มีราคาไม่สูงมากนัก การศึกษาและประเมินกระบวนการบินถ่ายภาพทางอากาศด้วยระบบอากาศยานไร้คนขับ เพื่อหาเทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมต่อการสร้างแบบจำลองภูมิประเทศเชิงเลขของพื้นที่ศึกษาโดยใช้อากาศยานไร้คนขับแบบปีกหมุนขนาดเล็กในการบินถ่ายภาพทางอากาศแบบกลุ่มรูปแบบบล็อกหนาแน่นพบว่าผลลัพธ์ที่ ได้จากการบินถ่ายภาพทางอากาศแบบกริดมีความเหมาะสมในการพัฒนาแบบจำลองความสูงภูมิประเทศเชิงเลข เนื่องจากมีความถูกต้องเชิงตำแหน่งที่สูงกว่าการบินถ่ายภาพแบบธรรมดาจากการทดสอบแบบจำลองความสูง ภูมิประเทศเชิงเลข ที่ได้จากการถ่ายภาพทางอากาศด้วยมุมกล้องที่ 90 75 และ 55 องศาที่ระดับความสูง 250 – 300 เมตรเหนือพื้นดินเปรียบเทียบร่วมกับข้อมูลแบบจำลองความสูงภูมิประเทศเชิงเลขจากระบบข้อมูลดาวเทียม ALOS ของประเทศญี่ปุ่นด้วยวิธีการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สันที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 เมื่อเปรียบเทียบแบบจำลองความสูงภูมิประเทศเชิงเลข จากการประมวลผล ภาพถ่ายทางอากาศที่มุมกล้อง 90 องศา กับแบบจำลองความสูงภูมิประเทศเชิงเลขจากดาวเทียม ALOS พบว่ามีความความสัมพันธ์ สูงที่สุดที่ระดับ 0.996 จากตรวจสอบความถูกต้องกับแบบจำลองระดับสูงภูมิประเทศเชิงเลขมาตราส่วน 1 : 4,000 จากกรมพัฒนาที่ดิน พบว่าแบบจำลองความสูงภูมิประเทศ ที่ได้จากการประมวลผลภาพถ่ายทางอากาศ ที่มุมกล้อง 90 องศามีค่าความสัมพันธ์แบบเพียร์สันสูงสุดที่ระดับ 0.997 และมีความคลาดเคลื่อนทางดิ่งที่ต่ำที่สุดที่ระดับ 16.427 เมตร ด้วยเหตุนี้ผู้ศึกษาจึงใช้ แบบจำลองความสูงภูมิประเทศเชิงเลขจากการบินถ่ายภาพทางอากาศที่มุมกล้อง 90 องศา ในการพัฒนาแบบจำลองคาดการณ์พื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยดินโคลนถล่มของพื้นที่ศึกษา ในลำดับถัดไป ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดดินโคลนถล่มของหมู่บ้านสกาด ตำบลสกาด อำเภอปัว จังหวัดน่าน สูงที่สุด คือ ระยะห่างจากถนน การใช้ประโยชน์ที่ดิน ดัชนีพืชพรรณความต่างแบบนอร์มัลไลซ์ ระดับความสูง และลักษณะทางธรณีวิทยา เมื่อนำปัจจัยดังกล่าวไปใช้การพัฒนาแบบจำลองเชิงคาดการณ์ด้วยวิธีการทางสถิติ คือ 1) แบบจำลองถดถอยโลจิสติก และ 2) แบบจำลองอัตราส่วนความถี่ ผลการเปรียบเทียบการประเมินประสิทธิภาพ ของแบบจำลองด้วยวิธีการหาพื้นที่ใต้เส้นโค้งพบว่าแบบจำลองคาดการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่มที่พัฒนาจากการวิเคราะห์ ด้วยอัตราส่วนความถี่ที่ใช้ข้อมูลระดับความสูงจากการบินภาพถ่ายทางอากาศที่มุมกล้อง 90 องศา มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมกับพื้นที่ศึกษามากที่สุดด้วยสมการ "LSI" = 0.50769 ELEV + 0.33622 ROAD + 0.57149 GEOL + 0.59182 LU + NDVI โดยสมการนี้มีความถูกต้องของการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 82.26 และมีความสามารถคาดการณ์ความเสี่ยงต่อการเกิดดินโคลนถล่มในพื้นที่ศึกษาเท่ากับร้อยละ 72.88 ผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองนี้สามารถจำแนกระดับของพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดภัยต่อการเกิดดินโคลนถล่มออกเป็น 5 ระดับ คือ พื้นที่ความเสี่ยงต่อการเกิดภัยต่ำที่สุด 289.84 ไร่ (15.19 %) พื้นที่ความเสี่ยงต่อการเกิดภัยต่ำ 957.91 ไร่ (50.20 %) พื้นที่ความเสี่ยงต่อการเกิดภัยปานกลาง 343.95 ไร่ (18.03 %) พื้นที่ความเสี่ยงต่อการเกิดภัยสูง 194.24 ไร่ (10.18 %) และพื้นที่ความเสี่ยงต่อการเกิดภัยสูงที่สุด 122.07 ไร่ (6.4 %)en_US
Appears in Collections:SOC: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620431012-JIRAWAT SUKPINIT.pdfแก้ไขลายน้ำ10.15 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.