Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78252
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรังสิยา นารินทร์-
dc.contributor.advisorวิลาวัณย์ เตือนราษฎร์-
dc.contributor.authorวรางคณา ไชยวรรณen_US
dc.date.accessioned2023-07-01T05:22:37Z-
dc.date.available2023-07-01T05:22:37Z-
dc.date.issued2021-12-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78252-
dc.description.abstractThis quasi-experimental research study examined the effects of a self-management program on medication adherence scores and blood pressure levels among people with hypertension in a community. The objectives of the study were to compare medication adherence scores and blood pressure levels of people in the experimental group who received the self-management program for 8 weeks, between before and after receiving the program, and between the experimental group and control group who receiving regular nursing care. The sample group consisted of 48 people with hypertension, aged 35 to 59 years, with 24 people each in the experimental group and control group. The study was conducted in Sri Bua Ban Subdistrict, Muang District, Lamphun Province during July-August 2021. The research tools consisted of the self-management program consisting of a series of activities developed by the researcher from applying the self-management concept (Kanfer & Gaelick-Buys, 1991) together with related research studies, and consisting of 3 steps: 1) self-monitoring2) self-evaluation and 3) self-reinforcement; a lesson plan for educating people with hypertension on taking antihypertensive medications; a guidebook of general knowledge on antihypertensive medications and blood pressure measurements; a record form for taking antihypertensive medications; and an automatic blood pressure monitor. Data were collected using a demographic questionnaire and a medication adherence scale (in Thai) which passed a content accuracy check by 6 experts, with a CVI index of 0.96 and a coefficient of stability of 0.98. General demographic data were analyzed using descriptive statistics; data on medication adherence scores were analyzed using the Paired Sample T-test and T-test for independent sample; and blood pressure levels were analyzed by the Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test and the MannWhitney U Test. The results revealed that the experimental group had average medication adherence scores (X̅=37.75, S.D.=2.33) higher than before receiving the self-management program (X̅=30.92, S.D.=3.50) and higher than the control group who received regular nursing care (X̅=34.68, S.D.=6.80) with statistical significance (p<0.05). It was found that the experimental group who received the self-management program had lower mean blood pressure levels (X̅=129.83/81.17, S.D.=8.49/10.00) than before receiving the self-management program (X̅=139.54/83.04, S.D.=12.30/13.24) with statistical significance (p<0.05) and less than the control group (X̅=130.88/82.71, S.D. = 13.31/11.71), but it was not statistically significant (p>0.05). After receiving the self-management program, the experimental group had a differences in mean change of blood pressure levels which was drop than the control group with statistically significance (p <0.05). The results show that the self-management program can foster medication adherence scores and reduce blood pressure levels among people with hypertension in a community. The results of this research will be beneficial to community nurse practitioners and health care teams who can use it as guidelines for promoting self-management of people with hypertension in the community. Together with telephone follow-up and home visits, they can educate to build an understanding of hypertension and how to take the right type of antihypertensive medications at the right dose and the right time, continuously and regularly, and be able to properly manage adverse drug reactions to effectively reduce blood pressure levels.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและระดับความดันโลหิตในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนen_US
dc.title.alternativeEffects of the self-management program on medication adherence and blood pressure level among persons with hypertension in communityen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย-
thailis.controlvocab.thashความดันเลือดสูง -- การรักษา-
thailis.controlvocab.thashการรักษาด้วยยา-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (quasi-experimental research) นี้ เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมการ จัดการตนเองต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและระดับความดันโลหิตในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิต สูงในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความร่วมมือในการรักษาด้วยยาและระดับความดัน โลหิตในผู้ที่เป็นโรคความดัน โลหิตสูงในชุมชน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเป็น ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม และระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 35 ถึง 59 ปี จำนวน 48 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 ราย และกลุ่มควบคุม 24 ราย ศึกษาในพื้นที่ตำบลศรีบัวบาน อำเกอเมือง จังหวัดลำพูน ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการจัดการตนเองที่ประกอบด้วยชุดกิจกรรมที่ ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการประยุกต์แนวคิดการจัดการตนเอง (self–management concept) ของแคนเฟอร์และ เกลิค-บายส์ (Kanfer & Gaelick–Buys, 1991) ร่วมกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การติดตามตนเอง (self-monitoring) 2) การจัดการตนเองโดยการประเมินตนเอง (self-evaluation) และ 3) การเสริมแรงตนเอง (self-reinforcement) แผนการสอนในการให้ความรู้ในการรับประทานยาลดความดัน โลหิต คู่มือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยาที่ใช้รักษาโรคความดัน โลหิตสูงและการวัดความดันโลหิต แบบบันทึก การรับประทานยาลดความดันโลหิต เครื่องวัดความดัน โลหิตชนิดอัตโนมัติ และเครื่องมือที่ใช้รวบรวม ข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับคนไทย (Medication Adherence Scale in Thais) ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา (content validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 6 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลคะแนนความร่วมมือในการรักษาด้วยยา โดยสถิติ Paired Sample T-Test และ T-Test for independent sample และวิเคราะห์ข้อมูลระดับความคันโลหิตโดยสถิติ The Wilcoxon Matched Pairs Signed-Ranks Test และ The Mann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ มี ค่าเฉลี่ยคะแนนความร่วมมือในการรักษาด้วยยา ( X̅=37.75, S.D.=2.33) สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการ จัดการตนเอง (X̅=30.92, S.D.=3.50) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และสูงกว่ากลุ่มควบคุมซึ่งเป็น กลุ่มที่ได้รับการ พยาบาลตามปกติ (X̅=34.68, S.D.=6.80) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่า กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองมีค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิต (X̅=129.83/81.17, S.D.=8.49/10.00) ลดลงกว่าก่อน ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง (X̅=139.54/83.04, S.D.=12.30/13.24) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม (X̅=130.88/82.71, S.D.=13.31/11.71) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) โดยหลังได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง กลุ่มทดลองมีค่าความ แตกต่างของค่าเฉลี่ยระดับความดัน โลหิตที่ลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการจัดการตนเองสามารถส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือใน การรักษาด้วยยาและลดระดับความดัน โลหิตในผู้ที่เป็นโรคความดัน โลหิตสูงในชุมชน ซึ่งผลการวิจัยจะ เป็นประโยชน์ต่อพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและทีมสุขภาพที่จะนำไปใช้เป็นแนวทางในการ ดูแลผู้ที่เป็น โรคความดัน โลหิตสูงในชุมชนในการจัดการตนเอง รวมทั้งมีการติดตามทางโทรศัพท์และเยี่ยมบ้าน เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโรคความดัน โลหิตสูงและการรับประทานยาลดความดันโลหิตที่ ถูกชนิด ถูกขนาด ถูกเวลา รับประทานยาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ สามารถจัดการตนเองกับอาการไม่ พึงประสงค์จากการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และสามารถลดระดับความดันโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพen_US
Appears in Collections:NURSE: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
621231004 วรางคณา ไชยวรรณ.pdf1.99 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.