Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78249
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล | - |
dc.contributor.advisor | จุฑาทิพย์ เฉลิมผล | - |
dc.contributor.advisor | ประทานทิพย์ กระมล | - |
dc.contributor.author | ปิยนุช ทรวงคำ | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-07-01T04:23:16Z | - |
dc.date.available | 2023-07-01T04:23:16Z | - |
dc.date.issued | 2022-04 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78249 | - |
dc.description.abstract | The objectives of the study were to explore the characteristics of livelihood assets that affect the conversation in agriculture and analyzed agricultural patterns that have changed from maize production to maize based integrated framing. Data collection were collected from 65 Karen farmer by using semi-structure interview as well as focus group discussion were applied with 20 key stakeholders such as farmers group leader. Data analysis was applied descriptive statistics such as percentage, mean, minimum and maximum following Sustainable Livelihood Framework (DFID, 2001). Multiple regression analysis applied to analysis the asset variables arising from the conversion to integrated farming. Result showed that, the agricultural production pattern has undergone significant changes in 3 phases. The first phase, during the past 100 years, the subsistence agriculture system. The second phase, from 1984 to 1991 was a monoculture system with 93.8% of farmers cultivating maize on an average of 15 rai. Every household were growly rice for substance on an average of 4.65 rai each. The third phase, from 1992 to 2021 was an integrated agricultural system accounted for 95.4%. Most of the farmers have 3 type of cultivation area, which are maize cultivation area 4.42 rai each, paddy area 3.49 rai each and mixed farming area 11.88 rai each. The integrated agricultural style is mixed planting and growing crops in combination with animal husbandry. An important adaptation characteristic was observed specialty the change plant species for crop replacement of maize. The method is to integrated crop in maize area. The main crop such as banana, according to the low cost of production, high demand for market and farmers have receiving stable prices that make income more stable. There are also livestock production, especially cattle and buffalo raising both in house and in the forest. Livelihoods outcome of the five assets from the Sustainable Livelihood Framework (SLF). The result found that 1) Financial asset, an average of 2.48, farmer have higher income and stable income throughout the year. The cost of cultivation from integrated agriculture was reduced. 2) Natural assets change for the better with average 2.47, and soil observed more fertile. Cultivation of plants that thrive under the resources available in the area favorably. 3) Human assets found the average of 2.38, farmers had applied more knowledge and applied information that recovered to develop their production practices. Farmers managed agricultural waste to recycle in the farm. Reducing chemical used in agricultural practice heaved observed. 4) Physical assets, the average 2.27 of access to infrastructure such as agricultural tools, market resources and transport agricultural produce. 5) Social assets, the average 2.22 found income in kinship relationships. Farmers have gathered for agricultural activities and have continued to maintain and carry on the traditions and beliefs that linked to agriculture. Most of the farmers switched to mixed farming and more concern in integrated farming. Hypothesis testing using multiple regression analysis revealed that farming experience and farmland were associated with better outcomes from conversion in production to integrated farming which found significantly at the 0.01 level. Whereas agricultural extension and livestock were associated with the outcome of the transition to integrated farming which was found significant at the 0.05 level. There were three aspects that consistent with Roy adaptive behavior pattern (Roy and Andrews, 1999). The first was physiological mode, farmers with cultivated land has the opportunity to plan a variety of agricultural production processes. Second, self-concept mode, there was an adaptation when the benefits arising from the conversion to integrated agriculture were realized, with variables that clearly affected the results, namely, the increase in funding from the activities of livestock. The third was interdependence mode, the variables that resulted in the adaptation were farmers with long cultivation experience who exchanged experiences with each other. Including receiving agricultural promotion from relevant agencies. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปสู่การทำเกษตรผสมผสานในตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย | en_US |
dc.title.alternative | Conversion of maize production to integrated farming in Si Thoi sub-district, Mae Suai district, Chiang Rai province | en_US |
dc.type | Independent Study (IS) | |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกรรมแบบผสมผสาน -- แม่สรวย (เชียงราย) | - |
thailis.controlvocab.thash | เกษตรกร -- แม่สรวย (เชียงราย) | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะด้านเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบ การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปสู่การทำเกษตรผสมผสาน และวิเคราะห์การปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตการปลูก ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปสู่การทำเกษตรผสมผสาน วิธีการเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับ เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง 65 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่มกับเกษตรกรแกนนำ 20 ราย วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ตามกรอบ แนวคิดการดำรงชีพอย่างยั่งยืน (DPID, 2001) วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณเพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงรูปแบบ เกษตร ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการเกษตรมีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญในช่วง 3 ระยะ คือ ระยะแรก ในช่วง 100 ปีที่ผ่านมาเป็นระบบเกษตรเพื่อยังชีพ ระยะที่สอง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327 ถึงปี พ.ศ. 2534 เป็นระบบเกษตร เชิงเดี่ยว คิดเป็นร้อยละ 93.8 มีการเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เฉลี่ยรายละ 15 ไร่ ควบคู่ไปกับการปลูกข้าวเพื่อ ยังชีพ เฉลี่ยรายละ 4.65 ไร่ และระยะที่สาม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2333 จนถึงปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2564) เป็นระบบเกษตร ผสมผสาน คิดเป็นร้อยละ 95.4 ซึ่งเริ่มมีการปรับเปลี่ยนจากเกษตรเชิงเดี่ยวที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มาเป็น การเกษตรแบบผสมผสานนำร่องโดยเกษตรกรแกนนำ จากนั้นเกษตรกรรายอื่น ๆ เริ่มเห็นผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นจึงเริ่มมีการทยอยปรับเปลี่ยน จำแนกพื้นที่เพาะปลูกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ พื้นที่เพาะปลูกข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ เฉลี่ยรายละ 442 ไร่ พื้นที่นาข้าว เฉลี่ยรายละ 3.49 ไร่ และพื้นที่เกษตรผสมผสาน เฉลี่ยรายละ 11.88 ไร่ รูปแบบการเกษตรแบบผสมผสานเป็นการปลูกพืชแบบผสมผสาน และปลูกพืชผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์ ลักษณะการปรับตัวที่สำคัญ คือ การปรับเปลี่ยนชนิดพืช ด้วยการปลูกพืชอื่นแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยปลูก แซมในแปลงเดิมของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อย่างเป็นสัดส่วน มีพืชแซมที่สำคัญคือกล้วยน้ำว้า ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ ไม่มีต้นทุนการผลิตเนื่องจากสามารถเจริญเติบโตภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ราคาดี มีตลาดรับซื้อ ผลผลิตในพื้นที่ ส่งผลให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางรายได้ รวมถึงการปลูกพืชชนิดอื่น ๆ เช่น ลำไย มะม่วง มันสำปะหลัง อีกทั้งยังมีการทำปศุสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงโคและกระบือในรูปแบบเป็นการเลี้ยงในคอกที่ใช้ พื้นที่บริเวณแปลงเกษตรร่วมกับการเลี้ยงแบบปล่อยป่า ผลลัพธ์ของทุน 5 ด้านจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเกษตรจากการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นเกษตร ผสมผสานในภาพรวมพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของ ทุนแต่ละด้าน ได้แก่ (1) ทุนการเงิน มีการเปลี่นแปลงในทางที่ดีขึ้น ค่าเฉลี่ย 2.4 เกษตรกรสามารถลดต้นทุน การเพาะปลูก มีรายได้จากการผลิตแบบผสมผสานมากขึ้นและสม่ำเสมอตลอดทั้งปี (2) ทุนทรัพยากร มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ค่าเฉลี่ย 2.47 ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นจากการปลูกพืชที่เจริญเติบโต ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่อย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (3) ทุนมนุษย์ เปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น ค่าเฉลี่ย 2.38 เกษตรกรมีการปรับใช้ความรู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารนำมาพัฒนากระบวนการผลิต มีการจัดการเศษวัสดุ เหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ในแปลงเพาะปลูก และมีการผลิตเพื่อบริโภคในครัวเรือนอย่างพอเพียงและ ปลอดภัย ทั้งนี้ ทุนที่ยังไม่พบการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ (4) ทุนกายภาพ ค่าเฉลี่ย 2.27 โครงสร้างพื้นฐานยังไม่ได้ รับการพัฒนาโดยเฉพาะถนนและสัญญานโทรศัพท์ แต่ทั้งนี้เกษตรกรเริ่มเข้าถึงเครื่องมือเกษตรและตลาด รองรับผลผลิตเกษตร รวมทั้งมียานพาหนะในการขนส่งผลผลิตภาคเกษตร และ (5) ทุนสังคม ค่าเฉลี่ย 2.22 ความสัมพันธ์ทางเครือญาติที่เหนียวแน่น มีการรักษาและสืบทอดประเพณีความเชื่อที่เชื่อมโยงด้านเกษตร มาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเกษตรกรมีการรวมกลุ่มและให้ความสำคัญกับการทำเกษตรแบบผสมผสานมากขึ้น ผลการทดสอบสมมุติฐานจากวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) พบว่า ตัวแปร อิสระ 2 ประการ ได้แก่ ประสบการณ์การเพาะปลูก และพื้นที่เกษตร มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามได้อย่างมี นัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ที่ส่งผลให้เกิดผลลัพธ์การปรับตัวจากการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไปสู่การทำเกษตรแบบ ผสมผสาน และตัวแปรอิสระ 2 ประการ ได้แก่ การได้รับการส่งเสริมการเกษตร และการทำปศุสัตว์ มี ความสัมพันธ์กับตัวแปรตามได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมการปรับตัว (Roy and Andrews, 1999) ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านกายภาพ เกษตรกรที่มีพื้นที่เกษตรจำนวนมากย่อมมี โอกาสในการ วางแผนกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่หลากหลาย 2) ด้านอัตมโนทัศน์ เกษตรกรจะมีการปรับตัวเมื่อมีการ รับรู้ถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปรับเปลี่ยนมาทำเกษตรผสมผสาน โดยมีตัวแปรที่ส่งผลเห็นผลชัดเจนคือ การมีแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้นจากการทำปศุสัตว์ร่วมในกิจกรรมการเกษตร และ 3) ด้านการพึ่งพา มีตัวแปรที่ส่งผล ให้เกิดการปรับตัวคือมีประสบการณ์การเพาะปลูกและมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน รวมถึง การได้รับการส่งเสริมทางการเกษตรจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | en_US |
Appears in Collections: | AGRI: Independent Study (IS) |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
620832006 ปิยนุช ทรวงคำ.pdf | 5.58 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.