Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78220
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุ่งฉัตร ชมภูอินไหว-
dc.contributor.authorจิรภา ณ ลำพูนen_US
dc.date.accessioned2023-06-29T01:38:12Z-
dc.date.available2023-06-29T01:38:12Z-
dc.date.issued2022-05-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78220-
dc.description.abstractThis research aims to apply Statistical Process Control methodologies to monitor, control and reduce variability within the production process of a herbal drink, packaged in a standard 80g bottle. After the initial assessment of the production process and identification of key processes, the fill weight per bottle was selected as the quality characteristic of interest. In Phase I, the trial control limits were established using x̅– R charts with fill weight data collected every 30 minutes for 30 subgroups, each with a subgroup size of 5. The trial control limits were calculated, the control charts were established, and the data was plotted. After the process was in statistical control and stable, the upper control limit (UCL), central line (CL) and lower control limit (LCL) from the x̅– R charts were implemented as a process monitoring system in Phase II, where data were collected every 30 minutes, with 5 samples per subgroup. The mean (x̅) and range (R) of each subgroup were immediately computed and compared to the control limits after collection. Since the data were found to be within range of the control limits, the system was stable and the process capability before improvement was analysed, using process mean and standard deviation. The potential process capability (Cp) and the actual process capability index (Cpk) were calculated. Subsequently, potential causes for the fill weight variability were explored using cause and effect diagram and prioritized according to importance by brainstorming with production teams involved in the process. It was concluded that the main causes for the variations in fill weight were nozzle wear-and-tear, lack of preventative maintenance and lack of established procedures for machine inspection before use. After the causes have been determined, the nozzles were repaired and parts were replaced, a protocol for preventative maintenance was initiated, focusing on ensuring that the machines were in working order before use, and a form for daily routine check was created so that the personnel can check designated risk points before the start of each batch to prevent potential disruptions which can affect the filling process. Data were collected again after the improvements have been carried out and Phase I and Phase II control charts were computed again. The analysis of the process capabilities after improvement revealed a mean fill weight of 79.96g, which was closer to the target weight of 80g compared to 80.29g before improvements. The standard deviation decreased from 1.60g to 0.64g. Cp value increased from 0.21 to 0.52 and Cpk value increased from 0.15 to 0.50.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการควบคุมน้ำหนักบรรจุของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรด้วยการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติen_US
dc.title.alternativePacking weight control of herbal drink products using statistical process controlen_US
dc.typeIndependent Study (IS)
thailis.controlvocab.thashเครื่องดื่มสมุนไพร-
thailis.controlvocab.thashเครื่องดื่มสมุนไพร -- การควบคุมการผลิต-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำหลักการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติมาประยุกต์ใช้ในการ ควบคุมกระบวนการผลิต เพื่อตรวจติดตาม ควบคุม และลดความแปรปรวนในกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพร ขนาดขวดบรรจุมาตรฐาน 80 กรัม งานวิจัยเริ่มจากการศึกษา สายการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มสมุนไพรและระบุกระบวนการที่สำคัญ โดยมีลักษณะเฉพาะคุณภาพ ที่ศึกษา คือ น้ำหนักบรรจุ จากนั้นได้ดำเนินการสร้างขีดจำกัดควบคุมทดลอง หรือระยะที่ I (Phase D) โดยใช้แผนภูมิควบคุมเอกซ์บาร์-อาร์ (x̅– R charts) โดยทำการเก็บข้อมูล 30 กลุ่มย่อย กลุ่มย่อยละ 5 ตัวอย่าง และทำการเก็บข้อมูลน้ำหนักทุก 30 นาที จากนั้นนำข้อมูลมาทำการคำนวณขีดจำกัดควบคุม ทดลอง และทำการสร้างแผนภูมิควบคุมทดลองและลงจุดข้อมูล หลังจากกระบวนการอยู่ภายใต้การ ควบคุมและมีความเสถียร สามารถใช้เส้นขีดจำกัดควบคุมบน (UCL) เส้นกึ่งกลาง (CL) และ เส้นขีดจำกัดควบคุมล่าง (LCL) ของแผนภูมิควบคุมเอกซ์บาร์-อาร์ ในการเฝ้าเตือนกระบวนการใน อนาคตในระยะที่ 2 (Phase II) โดยเก็บข้อมูลแต่ละกลุ่มย่อย กลุ่มย่อยละ 5 ตัวอย่าง จากกระบวนการ ทุก 30 นาที คำนวณค่าเฉลี่ยและค่าพิสัยของกลุ่มย่อย แล้วนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับขีดจำกัดควบคุม ทีละกลุ่มย่อยทันที พบว่า ข้อมูลอยู่ภายใต้ขีดจำกัดการควบคุม แสดงว่ากระบวนการมีความเสถียร จากนั้นทำการวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการผลิตก่อนการปรับปรุง โดยการประมาณ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกระบวนการ แล้วคำนวณหาค่าความสามารถของกระบวนการ (Cp) และค่าสมรรถนะของกระบวนการที่แท้จริง (Cpk) ต่อมาได้ทำการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของ ปัญหาความแปรปรวนของน้ำหนักบรรจุด้วยแผนผังแสดงเหตุและผล และจัดลำดับความสำคัญของ สาเหตุด้วยการระดมสมองร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต พบว่าสาเหตุหลักของปัญหาความ แปรปรวนของน้ำหนักบรรจุมาจากหัวบรรจุสึกหรอ เครื่องจักรไม่ได้รับการบำรุงรักษาเชิงป้องกัน และไม่มีวิธีการทำงานและขั้นตอนในการตรวจสอบเครื่องบรรจุก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ผู้วิจัยจึงได้การ ดำเนินการซ่อมแซมหัวบรรจุ โดยการตัดเกลียวใหม่ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จัดทำแผนการ บำรุงรักษาเชิงป้องกัน โดยมุ่งเน้นให้เครื่องจักรมีดวามพร้อมก่อนการใช้งาน และจัดทำใบรายการ ตรวจสอบประจำวัน เพื่อให้พนักงานตรวจจุดที่อาจจะทำให้เกิดการขัดข้องและส่งผลต่อการบรรจุ ก่อนการปฏิบัติงานทุกครั้ง ภายหลังการปรับปรุงกระบวนการ ทำการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างแผนภูมิ ควบคุมในระยะที่ 1 และ 2 อีกครั้ง ผลการวิเคราะหัความสามารถของกระบวนการผลิตหลังการ ปรับปรุง พบว่ากระบวนการผลิตมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักบรรจุเครื่องดื่มสมุนไพรลดลงจาก 80.29 กรัม เป็น 79.96 กรัม ซึ่งใกล้เคียงกับคำเป้าหมายที่ 80 กรัม มากขึ้น และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลงจาก 1.60 กรัม เป็น 0.64 กรัม ส่วนค่า Cp เพิ่มขึ้นจาก 0.21 เป็น 0.52 และด่ Cpk เพิ่มขึ้นจาก 0.15 เป็น 0.50 ตามลำดับen_US
Appears in Collections:ENG: Independent Study (IS)

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
620632022 จิรภา ณ ลำพูน.pdf5.22 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.