Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78198
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพักตร์วิภา สุวรรณพรหม-
dc.contributor.advisorศิริตรี สุทธจิตต์-
dc.contributor.authorจีรติการณ์ พิทาคำen_US
dc.date.accessioned2023-06-28T09:42:19Z-
dc.date.available2023-06-28T09:42:19Z-
dc.date.issued2023-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78198-
dc.description.abstractObjectives: To develop a pharmacist’s competency framework on pharmaceutical system management and to assess the validity of the developed framework. Methods: This research comprised 2 phases. In Phase 1, the competency framework on pharmaceutical system management was developed using a 5-step scoping review. Original studies and documents were searched from three electronic databases: Scopus, PubMed and Embase. Additional documents from other sources were included. Data was analyzed by content analysis. In Phase 2, the 2-round modified Delphi method was used to access content validity of the developed competency framework with 21 experts. Then the competency framework underwent think-aloud strategy to test for its comprehension with 5 pharmacists. Subsequently, the developed competency framework was tested for its relevantly with the practice of pharmacists in Thailand using a cross-sectional descriptive study. An online questionnaire was a means to collect data from August to September 2022. A total of 403 questionnaires were returned. The results were analyzed using descriptive and inferential statistics. The level of statistical significance was set at p < 0.05. Results: The pharmacist’s competency framework on pharmaceutical system management comprising 13 competencies, with 67 behavioral competencies, was developed from the scoping review. However, the two rounds of Modified Delhi method resulted in 13 competencies, which can be categorized into 3 groups including 5 competencies in general management, 3 competencies in medicine system management, and 5 competencies in leadership and governance. Each competency includes entry and advanced levels, with a total number of 58 items. The results of relevancy assessment revealed that 51 items of the behavioral competencies are related to pharmacy practice. Regarding the seven behavioral competencies rated as irrelevant to pharmacy practice, those who were more likely to rate them as irrelevant were pharmacists without management status, working in educational or manufacturing sectors, performing professional duties with direct interactions with patients, and had more than 5 years of working experience. Conclusion: The pharmacist’s competency framework on pharmaceutical system management consists of 13 competencies. Each group of competency comprises series of entry and advanced behavioral competencies. Most of the behavioral competencies were relevance with the practice of pharmacists in Thailand. Keywords: competency framework, behavioral competency, medicine system management, pharmacists, health workforceen_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectกรอบสมรรถนะen_US
dc.subjectสมรรถนะเชิงพฤติกรรมen_US
dc.subjectการบริหารจัดการระบบยาen_US
dc.subjectเภสัชกรen_US
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพen_US
dc.titleสมรรถนะของเภสัชกรด้านการบริหารจัดการระบบยาen_US
dc.title.alternativePharmacists’ competency on medicine system managementen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashเภสัชกร -- การทำงาน-
thailis.controlvocab.thashสมรรถนะ-
thailis.controlvocab.thashยา -- การควบคุมคุณภาพ-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractวัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนากรอบสมรรถนะของเภสัชกรด้านการบริหารจัดการระบบยาและเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของกรอบสมรรถนะด้านการบริหารจัดการระบบยาที่พัฒนาขึ้น วิธีการ: งานวิจัยนี้แบ่งเป็น 2 ระยะ ในระยะที่ 1 การพัฒนากรอบสมรรถนะของเภสัชกรด้านการบริหารจัดการระบบยา โดยใช้การทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต 5 ขั้นตอน ครอบคลุมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะของเภสัชกร ใน electronic databases จำนวน 3 แหล่ง ได้แก่ Scopus, PubMed, Embase และเอกสารเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น ๆ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 2 วิธีเทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง จากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน จำนวน 2 รอบเพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของกรอบสมรรถนะที่พัฒนาขึ้น กรอบสมรรถนะที่ผ่านขั้นตอนนี้ถูกนำมาทดสอบความเข้าใจในกลุ่มตัวอย่างเภสัชกรจำนวน 5 คน ด้วยวิธีการคิดออกเสียง จากนั้นนำกรอบสมรรถนะที่พัฒนาขึ้นไปประเมินความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของเภสัชกรในประเทศไทย ด้วยการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เพื่อรวบรวมข้อมูลในเดือน สิงหาคม – กันยายน 2565 ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน 403 ฉบับ นำผลมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ผลการวิจัย: กรอบสมรรถนะของเภสัชกรด้านการบริหารจัดการระบบยาที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขตประกอบด้วยสมรรถนะ 13 ด้าน ที่มีสมรรถนะเชิงพฤติกรรมจำนวน 67 ข้อ เมื่อนำมาตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ได้ข้อสรุปกรอบสมรรถนะที่ประกอบด้วยสมรรถนะ 13 ด้าน แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การบริหารจัดการทั่วไปจำนวน 5 สมรรถนะ การบริหารระบบยาจำนวน 3 สมรรถนะ และการนำและการอภิบาลจำนวน 5 สมรรถนะ สมรรถนะแต่ละข้อประกอบไปด้วยสมรรถนะเชิงพฤติกรรมสำหรับการปฏิบัติงานทั้งในระดับต้นและระดับสูงจำนวนทั้งหมด 58 ข้อ ผลการประเมินความสอดคล้อง พบว่าสมรรถนะเชิงพฤติกรรม 51 ข้อ มีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของเภสัชกร มีสมรรถนะเชิงพฤติกรรม 7 ข้อที่มีกลุ่มตัวอย่างประเมินว่าไม่สอดคล้องกับการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวคือ เภสัชกรปฏิบัติงานที่ไม่มีตำแหน่งบริหาร ทำงานในภาคการศึกษาและโรงงานยา ปฏิบัติงานวิชาชีพที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยโดยตรง และมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 5 ปี สรุปผล: กรอบสมรรถนะของเภสัชกรด้านการบริหารจัดการระบบยาที่พัฒนาขึ้นมานี้ประกอบด้วยสมรรถนะ 13 ข้อ สมรรถนะแต่ละกลุ่มประกอบไปด้วยชุดสมรรถนะเชิงพฤติกรรมสำหรับการปฏิบัติงานทั้งในระดับต้นและระดับสูง พบว่าสมรรถนะเชิงพฤติกรรมส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับการปฏิบัติงานของเภสัชกรในประเทศไทย คำสำคัญ: กรอบสมรรถนะ, สมรรถนะเชิงพฤติกรรม, การบริหารจัดการระบบยา, เภสัชกร, กำลังคนด้านสุขภาพen_US
Appears in Collections:PHARMACY: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
631031023-จีรติการณ์ พิทาคำ.pdf33.34 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.