Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78139
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยะวรรณ สุทธิประพันธ์-
dc.contributor.advisorวิชัย ศรีสุขา-
dc.contributor.authorสิรภัทร ยศคำen_US
dc.date.accessioned2023-06-24T09:06:49Z-
dc.date.available2023-06-24T09:06:49Z-
dc.date.issued2022-03-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78139-
dc.description.abstractLonghorn beetles (Coleoptera: Cerambycidae) is one of the largest, most diverse, and important insect pests for agriculture and forestry. However, the fauna and ecology of these beetles are not well known in Thailand. This study is the first to report the biodiversity, elevation, and seasonal distribution of longhorn beetles which found in Thailand. Specimens were collected by malaise traps from 41 localities in 24 national parks throughout the country during 2006–2009. The traps were operated at each site for 12 consecutive months with a monthly service. A total of 199 morphospecies in 36 tribes of 6 subfamilies were identified from 1,376 specimens. Of these, 40.7% and 14.5% of total taxa were singletons and doubletons, respectively. The Shannon diversity index and observed species richness index at Panernthung, Loei Forest Unit and Mae Fang Hot spring were high at 0.96 (30), 0.88 (50), and 0.86 (34), respectively. Local richness ranged between 3 and 50 species, while the species richness estimator showed between 6and 1,275 species. The most relatively abundant species, Nupserha lenita, Pterolophia sp.1, Oberea sp.3, Acalolepta pseudospeciosa, and Acalolepta rustricatrix represented 4.80%, 4.80%, 4.80%, 4.5%, and 4.43% of the species, respectively. The species with the widest distribution range of percentage of species occurrence (% SO) was Pterolophia sp.1 (63.4%), followed by Acalolepta rustricatrix (39%) and Moechotypa suffuse (39%). In a significantly negative relationship between species richness and elevation (p> 0.05, R2 = 0.04), the species richness pattern showed a hump-shaped curve that peaked at the middle elevation (501-1000 m asl). Regarding seasonal variation, most of the species occurred during the hot season (March-April) and peaked in early rainy season (May), while a low number of species were found during the mid-rainy (June-October) and cold season (November-February). Ordination analysis indicated that the distribution of most species was associated with regions and forest type, and most of the species correlated with forest located at middle and low elevation. The results of this study indicated the very high biodiversity of longhorn beetles in Thailand, which suggest that an understanding of their seasonal and elevational distribution will be of value to agriculture management and conservation.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleความหลากชนิดและการแพร่กระจายของด้วงหนวดยาวในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeSpecies Diversity and Distribution of Longhorn Beetle in Thailanden_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashด้วงหนวดยาว-
thailis.controlvocab.thashแมลงศัตรูพืช-
thailis.controlvocab.thashแมลงศัตรูพืช -- ไทย-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractด้วงหนวดยาว (Coleoptera: Cerambycidae) มีจำนวนสมาชิกและความหลากหลายสูงที่สุด กลุ่มหนึ่งของกลุ่มด้วง และเป็นแมลงศัตรูสำคัญทางการเกษตรและป่าไม้ อย่างไรก็ตามพบว่าใน ประเทศไทยข้อมูลด้านความหลากหลายและนิเวศวิทยาของด้วงกลุ่มนี้ยังมีการศึกษาที่น้อยมาก งานวิจัยนี้ได้ศึกษาและรายงานความหลากหลายและการกระจายพันธุ์ในระดับความสูงและฤดูกาลที่ แตกต่างกันของด้วงหนวดยาวที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ตัวอย่างด้วงหนวดยาวถูกเก็บ รวบรวมจากการใช้กับดักมุ้ง (malaise traps) จาก 41 พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ 24 แห่งทั่วประเทศ ไทย ระหว่างปี พ.ศ. 2549-2552 ตัวอย่างจากกับดักมุ้งเก็บสำรวจทุกเดือนเป็นเวลา 12 เดือนในแต่ละ พื้นที่ ผลการสำรวจพบตัวอย่างด้วงหนวดยาวทั้งหมด 1,376 ตัวอย่าง โดยสามารถแยกเป็น 199 ชนิด ตามสัณฐานวิทยาที่แตกต่าง (morphospecies) ใน 36 เหล่า (tribes) ของ 6 วงศ์ย่อย ในจำนวนนี้ร้อยละ 40.7 และ 14.5 ของชนิดด้วงหนวดยาวที่พบสามารถพบตัวอย่างได้เพียง 1 ตัวอย่าง (singletons) และ 2 ตัวอย่าง (doubletons) เท่านั้น ตามลำดับ โดยค่าดัชนีความหลากหลายทางชีวภาพ (Shannon diversity index) และค่าดัชนีความมากชนิด (richness index) สำรวจพบที่ หน่วยพะเนินทุ่ง หน่วยป่าไม้เลย และ หน่วยน้ำพุร้อนฝาง มีค่าดัชนีที่สูงที่ 0.96 (30), 0.88 (50) และ 0.86 (34) ตามลำดับ ความหลากชนิดที่ พบในท้องถิ่นพบระหว่าง 3 ถึง 50 ชนิด ขณะที่การประมาณชนิดที่แท้จริงควรอยู่ระหว่าง 6 ถึง 1,275 ชนิด โดยชนิดที่มีค่าความชุกชุมสัมพัทธ์ (relative abundance) สูงสุด ได้แก่ Nupserha lenita, Pterolophia sp.1, Oberea sp.3, Acalolepta pseudospeciosa แล ะ Acalolepta rustricatrix โดยมีค่า 4.80%, 4.80%, 4.80%, 4.5% และ 4.43% ตามลำดับ ค่าความถี่ของการปรากฎ ฏ (percentage of species occurrence (% SO) ของชนิดที่มีการแพร่กระจายพันธุ์ในวงกว้าง คือ Pterolophia sp.1 (63.4%) รองลงมำคือ Acalolepta rustricatrix (39%) และ Moechotypa suffuse (39%) ความสัมพันธ์อย่างมี นัยสำคัญระหว่างค่าความมากชนิดและระดับความสูงของพื้นที่ที่มีผลเชิงลบ (p> 0.05, R2 = 0.04) นั้น แสดงรูปแบบความมากชนิดที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งแบบระฆังคว่ำ (hump-shaped curve) ที่มีจุดสูงสุด อยู่ตรงกลาง (501-1000 เมตรจากระดับน้ำทะเล) ในส่วนความผันแปรของฤดูกาล จำนวนชนิดของ ด้วงหนวดยาวส่วนใหญ่ปรากฏตัวในฤดูร้อน (มีนาคม-เมษายน) และเพิ่มจนถึงระดับสูงสุดในช่วงต้น ฤดูฝน (พฤษภาคม) ในขณะที่ช่วงกลางฤดูฝน (มิถุนายน-ตุลาคม) และฤดูหนาว (พฤศจิกายน- กุมภาพันธ์) จะพบจำนวนชนิดน้อย การวิเคราะห์การจัดอันคับ (Ordination analysis) บ่งชี้ว่า การกระจายตัวของชนิดส่วนใหญ่มี เกี่ยวข้องกับภูมิภาคและประเภทของป่า และชนิดส่วนใหญ่ก็ยังมีความสัมพันธ์กับป่าที่ตั้งอยู่ในระดับ ความสูงปานกลางและต่ำ ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความหลากหลายทางชีวภาพที่สูงมากของด้วง หนวดยาวที่พบในประเทศไทย ซึ่งนำไปสู่ความเข้าใจเกี่ยวกับการกระจายตามฤดูกาลและระดับความ สูงของด้วงหนวดยาวมากขึ้นซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการจัดการทางการเกษตรและการอนุรักษ์ได้ต่อไปen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
600831029 สิรภัทร ยศคำ.pdf2.72 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.