Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78096
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นงค์คราญ วิเศษกุล | - |
dc.contributor.advisor | นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล | - |
dc.contributor.author | นิราภร ศรีพรมมา | en_US |
dc.date.accessioned | 2023-06-21T09:41:26Z | - |
dc.date.available | 2023-06-21T09:41:26Z | - |
dc.date.issued | 2023-03 | - |
dc.identifier.uri | http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78096 | - |
dc.description.abstract | Fresh food markets are crowded places which pose a risk for COVID-19 infection among merchants there. Therefore, correct practices for COVID-19 prevention among these merchants are very crucial for preventing the spread of COVID-19. This descriptive correlational research aimed to study the relationship between predisposing, enabling, and reinforcing factors and COVID-19 prevention practices of merchants in fresh food markets. The participants were 409 merchants in fresh food markets. Data were collected between September to October 2022. The research instruments included a demographic questionnaire; a COVID-19 prevention practices questionnaire; and a knowledge, attitudes, perception of information, social support, and measures of COVID-19 prevention practices among merchants in fresh food markets questionnaire. The content validity indexes (CVI) of these questionnaires were 0.94, 0.97, 0.98, 1.00, 1.00, and 0.95, respectively, and the reliabilities were 0.86, 0.90, 0.97, 0.97, 0.92, and 0.91, respectively. Data were analyzed using descriptive statistics, Point-biserial correlation coefficient, and Spearman’s rank correlation coefficient statistics. Results showed a mainly female sample group (61.1%) at a median age of 41 years with 43.8% having completed secondary education. Their median income was 20,000 baht per month. The participants had COVID-19 prevention practices at a high level with a median score of 56 out of 75 points. Knowledge, attitude, perception of information, social support, and measures regarding COVID-19 prevention practices demonstrated the following median scores: 17/25, 60/80, 77/100, 33/40, and 50/60, respectively. In addition, gender, attitude, perception of information, and measures of COVID-19 prevention practices were positively correlated at a low level (r = 0.145, p = 0.001; r = 0.196, p < 0.001; r = 0.229, p < 0.001; r = 0.185, p < 0.001). However, age, education level, income, knowledge, and social support showed no correlation. The results of this study suggest that attitude, perception of information, and measures had a positive correlation with COVID-19 prevention practices and should, therefore, be continuously strengthened for merchants in fresh food markets to increase the effectiveness of COVID-19 prevention practices. | en_US |
dc.language.iso | other | en_US |
dc.publisher | เชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | en_US |
dc.title | ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้ค้าในตลาดสด | en_US |
dc.title.alternative | Factors related to COVID-19 prevention practices of merchants in fresh food markets | en_US |
dc.type | Thesis | |
thailis.controlvocab.thash | โควิด-19 (โรค) | - |
thailis.controlvocab.thash | โควิด-19 (โรค) -- การป้องกันและควบคุม | - |
thailis.controlvocab.thash | ตลาด | - |
thesis.degree | master | en_US |
thesis.description.thaiAbstract | ตลาดสดเป็นสถานที่ที่มีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้ค้าในตลาดสดมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 ดังนั้นการปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้ค้าในตลาดสดที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญที่จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมกับการปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้ค้าในตลาดสด กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ค้าในตลาดสด จำนวน 409 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนกันยายน ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด 19 แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด 19 แบบสอบถามทัศนคติต่อการปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด 19 แบบสอบถามการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคโควิด 19 และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อมาตรการในการป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้ค้าในตลาดสด มีค่าความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.94, 0.97, 0.98, 1.00, 1.00 และ 0.95 ตามลำดับ และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86, 0.90, 0.97, 0.97, 0.92 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 61.1 มีค่ามัธยฐานของอายุ 41 ปี โดยจบการศึกษาระดับมัธยมศึกษามากที่สุดร้อยละ 43.8 มีค่ามัธยฐานของรายได้ 20,000 บาทต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด 19 อยู่ในระดับสูง มีค่ามัธยฐานของการปฏิบัติ 56 คะแนนจากคะแนนเต็ม 75 คะแนน มีค่ามัธยฐานของความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนทางสังคม และมาตรการในการป้องกันโรคโควิด 19 ดังนี้ 17/25, 60/80, 77/100, 33/40 และ 50/60 คะแนน ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า เพศ ทัศนคติ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และมาตรการมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.145, p = 0.001; r = 0.196, p < 0.001; r = 0.229, p < 0.001; r = 0.185, p < 0.001) แต่อายุ ระดับการศึกษา รายได้ ความรู้ และการสนับสนุนทางสังคมไม่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้ค้าในตลาดสด ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ทัศนคติ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และมาตรการมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด 19 ของผู้ค้าในตลาดสด ดังนั้นจึงควรส่งเสริมทัศนคติ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และมาตรการในการป้องกันโรคโควิด 19 ให้แก่ผู้ค้าในตลาดสดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ค้าในตลาดสดมีการปฏิบัติการป้องกันโรคโควิด 19 ที่มีประสิทธิภาพ | en_US |
Appears in Collections: | NURSE: Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
631231156-นิราภร ศรีพรมมา.pdf | 4.86 MB | Adobe PDF | View/Open Request a copy |
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.