Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78059
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุจ ศิริสัญลักษณ์-
dc.contributor.advisorบุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล-
dc.contributor.advisorพรสิริ สืบพงษ์สังข์-
dc.contributor.authorอรณิชา ฮวบหินen_US
dc.date.accessioned2023-06-16T01:10:17Z-
dc.date.available2023-06-16T01:10:17Z-
dc.date.issued2021-01-
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/78059-
dc.description.abstractThe objectives of this study were to ; 1) explore operational condition of food processing community enterprises in Sing Buri province ; 2) analyse a level of self–reliance of the food processing community enterprises ; 3) analyse problems encountered in self–reliance of the food processing community enterprises. This study employed mixed method of exploratory sequential design type. Focus group discussion was conducted with 51 community enterprises groups. One personal responsible for community enterprises operation of each district was interviewed (six districts). Besides, an interview schedule was used to collect quantitative data conducted with 343 committee members and members of the community enterprises. Results of the study revealed that most of the committee member and members of the community enterprises were female, 53.68 years old on average, elementary school graduates and farmers. They had an annual household income, agricultured income and non-agricultured income for 162,361.51 ; 160,987.65 and 90,409.83 bath on average, respectively. Besides, they perceived data or information about community enterprises through agricultural extension workers. According to the community enterprises operation, as a whole, the following were found : 1) personnel of the community enterprises were mostly local people and mainly engaged in agricultural ; 2) regarding budgets, the president mostly used his own money but there were stock mobilisation and support from both public and private agencies ; 3) materials and equipment mostly belonged to its members whereas concerned public agencies supported plastic bag and sticker ; and 4) most of the community enterprises had planning, responsibility sharing, goal setting and direction in community enterprises operation to achive the goals as set. With regards to self–reliance of the community enterprises, it was found at a high level in terms of nateral resources. This was followed by mental, social, economic and tecnological aspects, respectively. According to a hierachical regression analysis, 2 veriables were found to have and effect on self–reliance of the community enterprises with a statistical significance level (α = 0.05). These were experiance in joining a group member and atlitude of the members towards the community enterprises. These factors had a positive effect on self–reliance of the community enterprises. That was, the community enterprises having members long experience on group joining and good attitude had a better self–reliance then those having difference from this. The following were problems encountered : finance, managerial administration, climate and marketing.en_US
dc.language.isootheren_US
dc.publisherเชียงใหม่ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.subjectวิสาหกิจชุมชนen_US
dc.subjectfinanceen_US
dc.subjectManagerial administrationen_US
dc.subjectClimate and marketingen_US
dc.titleการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสิงห์บุรีen_US
dc.title.alternativeSelf reliance of food-processing community enterprises in Sing Buri Provinceen_US
dc.typeThesis
thailis.controlvocab.thashวิสาหกิจชุมชน-
thailis.controlvocab.thashวิสาหกิจชุมชน – สิงห์บุรี-
thailis.controlvocab.thashอาหาร -- การแปรรูป-
thesis.degreemasteren_US
thesis.description.thaiAbstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสิงห์บุรี 2. วิเคราะห์ระดับการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิงชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร 3. วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคในการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร การวิจัยเป็นแบบผสมผสาน Mixed Method ชนิด Exploratory Sequential Design ที่มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยสัมภาษณ์กลุ่มวิสาหกิงชุมชน (Focus Group) จำนวน 51 กลุ่ม สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานวิสาหกิจชุมชนอำเภอละ 1 ราย รวมจำนวน 6 ราย และใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากกลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการและสมาชิกวิสาหกิจชุมชน จำนวน 343 ราย ผลการวิจัยพบว่า คณะกรรมการและสมาชิก ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลื่ย 53.68 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำการเกษตร รายได้ในครัวเรือนเฉลี่ย 162.361.51 บาท/ปี ราชได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 160,987.65 บาท /ปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 90,409.83 บาท/ปี ส่วนใหญ่มีหนี้สิน ประสบการณ์ในการเข้าร่วมวิสาหกิจชุมชน โดยเฉลี่ย 5.21 ปี และได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนจากเจ้าหน้ที่ส่งเสริมการเกษตร โดยภาพรวมจากการศึกษาสภาพการดำเนินงานพบว่า (1) ด้านบุคลากร ส่วนใหญ่บุคลากรที่ร่วมกันทำงานหรือดำเนินงานเป็นคนในชุมชนที่ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก และมีการดำเนินงานมาอยู่ก่อนแล้วในรูปแบบของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรก่อนจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและยังร่วมดำเนินกิจกรรมในกลุ่มอยู่ (2) ด้านงบประมาณ ส่วนใหญ่ประธานจะใช้เงินทุนส่วนตัว มีการระดมหุ้นจากสมาชิก และยังได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (3) ด้านวัสดุ อุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นของสมาชิกที่ใช้อยู่ในครัวเรือนนำมาใช้ในกลุ่มและมีวัสคุ อุปกรณ์ขนาคใหญ่ที่ร่วมกันซื้อเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงาน ในส่วนของหน่ายงานภาครัฐมีการสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ เช่น ถุงพลาสติก สติกเกอร์ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละกลุ่ม (4) ด้านการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนส่วนใหญ่มีการวางแผน โดยใช้ปัจจัยการผลิตที่มีอยู่ในชุมชนเป็นหลักในการดำเนินงาน มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การกำหนดเป้าหมายและทิศทางในการดำเนินงานกลุ่มเพื่อให้ประสบความสำเร็จตามแผนที่วางไว้ การพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน พบว่า ภาพรวมมีการพึ่งพาตนเองได้ในระดับมาก โดยการพึ่งพาตนเองด้านทรัพยากรธรรมชาติ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ การพึ่งพาตนเองด้านจิตใจ ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านเทคโนโลยี อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้น (Hierachical Regression Analysis) พบว่า มีตัวแปร จำนวน 2 ตัวแปรที่มีผลต่อการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดสิงห์บุรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ (α = 0.05) 'ได้แก่ ประสบการณ์การในการเข้าร่วมกลุ่มของสมาชิกและทัศนคติของสมาชิกต่องานวิสาหกิจชุมชน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีผลเชิงบวกต่อการพึ่งพาตนเองของวิสาหกิจชุมชน คือ วิสาหกิจชุมชนที่สมาชิกมีประสบการณ์ในการเข้าร่วมกลุ่มมานานและมีทัศนคติที่ดีต่องานวิสาหกิจชุมชนจะมีความสามารถในการพึ่งพาตนเองได้มากกว่ากลุ่มที่มีประสบการณ์และมีทัศนคติต่องานวิสาหกิจชุมชนในลักษณะตรงกันข้าม การศึกษาครั้งนี้ พบว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารบางส่วนมีปัญหาและอุปสรรคในการพึ่งพาตนเอง คือ ด้านการเงิน ด้นการบริหารจัดการ ด้านสภาพอากาศและด้านการตลาดen_US
Appears in Collections:AGRI: Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
610831017 อรณิชา ฮวบหิน.pdf2.5 MBAdobe PDFView/Open    Request a copy


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.